SHORT CUT
โดยทำนิติกรรมอำพรางการรับหุ้นจากบุคคลในครอบครัว โดยการออกตั๋ว PN เป็นสัญญาการกู้เงินมูลค่ารวมกว่า 4.4 พันล้าน ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีการรับให้มูลค่ารวมประมาณ 218 ล้านบาทเศษ
วันนี้จะพาเปิด 5 ทรัพย์สินที่ต้องคำนวณ ‘ภาษีการรับให้’ รับปมอภิปราย
พามาทำความรู้จัก และ 5 ทรัพย์สินที่ต้องคำนวณ ‘ภาษีการรับให้’ ว่ามีอะไรบ้าง ผลบังคับใช้เมื่อใด? การคิดอัตราภาษีการรับให้ ติดตามจากบทความนี้
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวิโรจน์ ลักขณาอดิศร รองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ได้หยิบประเด็นการอภิปราย ซึ่งได้มีการกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการรับให้ โดยทำนิติกรรมอำพรางการรับหุ้นจากบุคคลในครอบครัว โดยการออกตั๋ว PN เป็นสัญญาการกู้เงินมูลค่ารวมกว่า 4.4 พันล้าน ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีการรับให้ มูลค่ารวมประมาณ 218 ล้านบาทเศษ
จากประเด็นดังกล่าวเชื่อว่าทำให้หลายคนอยากรู้จัก “ภาษีการรับให้” โดย “กรุงเทพธุรกิจ” นำเสนอว่า ภาษีการรับให้ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ภาษีการให้" (Gift Tax) คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากทรัพย์สินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ก่อนผู้ให้เสียชีวิต ภาษีนี้มีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีมรดก
ภาษีการรับให้ มีผลบังคับใช้เมื่อใด?
ภาษีการรับให้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เป็นต้นมา ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 และ (ฉบับที่ 43) พ.ศ.2559
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ แบ่งออกเป็น 2 กรณีหลักๆ ดังนี้
1.กรณีการให้อสังหาริมทรัพย์:
ผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี เช่น บิดา มารดาที่โอนที่ดินให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)
2.กรณีการให้สังหาริมทรัพย์:
บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาทต่อปีภาษี
บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาสตามประเพณี จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทต่อปีภาษี
ทั้งนี้ทรัพย์สินที่ต้องนำมาคำนวณภาษีการรับให้ ได้แก่:
การคิดอัตราภาษีการรับให้
สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ ต้องเสียภาษีในอัตราดังนี้
กำหนดการยื่นแบบฯ
ภาษีการรับให้ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ , กรมสรรพากร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง