SHORT CUT
ไขความลับ “ฉงชิ่ง” หลังคาตึกและถนนเชื่อมกัน เกิดจากการพัฒนาเมืองอย่างเข้าใจ ต่อยอดสู่เมืองแห่งอนาคตโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในประวัติศาสตร์จีนที่ผ่านๆ มาการพัฒนาประเทศมักจะเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ตะวันออกที่ติดกับทะเล ทำให้ภาคตะวันออกของจีนมีมหานครและเขตปกครองพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปักกิ่ง เทิยนจิง เซี่ยงไฮ้ ตลอดจนฮ่องกง ล้วนมีพื้นที่ติดกับชายฝั่งตะวันออก ทำให้เมืองที่อยู่ทางภาคตะวันออกของจีนมีความรุ่งเรืองมากกว่าทางด้านตะวันตกนับตั้งแต่อดีต
รัฐบาลจีนเห็นปัญหาดังกล่าวมานาน และมองว่าถึงเวลาต้องพัฒนาเมืองภาคตะวันตกให้เจริญ และลดความเหลื่อมล้ำรวมถึงปัญหาความยากจนที่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล
ดังนั้น “ฉงชิ่ง” จึงถูกหยิบยกขึ้นมาให้เป็นนครที่รัฐบาลกลางดูแลโดยตรงไม่ใช่แต่เพียงพัฒนาฉงชิ่งให้เป็นเมืองโตเดี่ยวในภูมิภาค แต่รัฐบาลยังเล็งเห็นถึงการพัฒนาผ่าน ฉงชิ่งให้เป็นโมเดลในการพัฒนาเมืองในพื้นที่ตะวันตกอื่นๆ ในภาคตะวันตกให้เจริญต่อไป
ต้องบอกก่อนว่าในอดีตภาคตะวันตกของจีน เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิศาสตร์ แต่ก็เผชิญกับปัญหาความยากจนมานานหลายทศวรรษ สาเหตุหลักมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น
สภาพภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและหุบเหว ทำให้การคมนาคมขนส่งยากลำบาก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นไปได้ช้า แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่การขาดเทคโนโลยีและการลงทุนทำให้ไม่สามารถนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
ฉงชิ่งเป็นเมืองที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ทำให้การก่อสร้างถนนและอาคารต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่ไม่เรียบเสมอกัน ผลที่ได้คือเราจะเห็นภาพตึกและถนนที่ดูเหมือนจะเชื่อมต่อกัน หรืออยู่ระดับเดียวกัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของฉงชิ่ง
ระบบการศึกษาในพื้นที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ทำให้ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงดังเช่นภาคตะวันออก
รัฐบาลจีนมุ่งเน้นไปที่ทำประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้นวัตกรรม สิ่งแวดล้อม การสร้างแบรนด์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในกลุ่มเมืองและชนบท
รัฐบาลจีนตระหนักถึงปัญหาความยากจนในภาคตะวันตกเป็นอย่างดี และได้ดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เช่น รัฐบาลได้ลงทุนอย่างมหาศาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภาคตะวันตก เช่น การสร้างถนน รถไฟ และสนามบิน เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ
รัฐบาลให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันตก เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการศึกษาในภาคตะวันตก โดยส่งครูที่มีคุณภาพไปสอน และสร้างโรงเรียน สถาบันการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน
รัฐบาลให้การสนับสนุนเกษตรกรด้วยการจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และให้ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้
เห็นได้จาก Chongqing Planning Exhibition ที่จัดแสดงความเป็นมาของเมือง ย้อนไปเมื่อปี 1997 เมืองฉงชิ่ง แยกมาจากเฉิงตู เป็น “เทศบาลนคร” ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง
โดยเริ่มจากการพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางกระจายความเจริญของจีนในพื้นที่ตะวันตก-ตอนกลาง โดยมีทางออก 4 ทิศทาง อิงตาม “เส้นทางสายไหม” ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีน โดยมีจุดเชื่อมสำคัญคือ “แม่น้ำแยงซีเกียง” ที่ไหลผ่านเมืองฉงชิ่ง 600 กิโลเมตร 18 เขต ซึ่งเมืองฉงชิ่งเป็นเมืองที่เป็นภูเขา 6 ใน 8 ส่วน
ฉงชิ่งเอง มีการแบ่งโซนเมืองที่ชัดเจน ทั้งโซนการเงิน เมืองวัฒนธรรม ที่อยู่อาศัย ขณะที่เมืองฝั่งตะวันตก 1,000 กว่า ตร.กม. เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม และมีหลากหลายมหาวิทยาลัยรวมอยู่ที่เดียวกันอีกด้วย
ความพยายามของรัฐบาลจีนในการแก้ไขปัญหาความยากจนในภาคตะวันตกได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกหลายประการ เช่น โครงสร้างพื้นฐานดีขึ้น การคมนาคมขนส่งสะดวกขึ้น ทำให้การค้าและการลงทุนในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
ระดับการศึกษาสูงขึ้น ประชาชนในภาคตะวันตกมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีขึ้น ทำให้มีทักษะและความรู้ความสามารถมากขึ้น รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยของประชาชนในภาคตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง แต่ภาคตะวันตกของจีนยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบทยังคงมีอยู่สูง แรงงานส่วนใหญ่ในภาคตะวันตกยังขาดทักษะในการทำงานในอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรและการดำรงชีวิตของประชาชน
ปัญหาความยากจนในภาคตะวันตกของจีนเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและต้องใช้เวลาในการแก้ไข รัฐบาลจีนได้ดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังคงมีความท้าทายอีกมากที่ต้องเผชิญ
แต่กระนั้นการพัฒนาฉงชิ่งให้เป็นมหานคร ก็สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจีนมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน และการวางแผนโครงสร้างของเมืองในอนาคต เป็นภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับเมืองและผู้คน คำถามที่ตามมาคือรัฐบาลไทยมีโครงการที่เป็นรูปธรรมและวางแผนถึงอนาคตหรือไม่ เพราะหากช้าเกินไปเราจะเป็นเมืองที่มีการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรม
อ้างอิง
Theactive / Brandinside /
ข่าวที่เกี่ยวข้อง