svasdssvasds

เยี่ยมชม! ออฟฟิศ "Tencent" บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน ลุยทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG

เยี่ยมชม! ออฟฟิศ "Tencent" บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน ลุยทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG

พามาเยี่ยมชม! ออฟฟิศ Tencent บริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่จีน ลุยธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง บนพื้นฐาน ESG พร้อมชูซีรีส์จีนเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมส่งออกตลาดโลก

SHORT CUT

  • หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก และอยู่ในทวีปเอเชีย จะไม่พูดถึงบริษัท Tencent สัญชาติจีน ไม่ได้ เพราะบริษัทนี้มีการลงทุนมากมายทั้งในจีน
  • พร้อมทั้งบุกตลาดไปทั่วโลก แถมในปัจจุบันบริษัทดังกล่าวยังมีลูกเล่นใหม่ๆ ออกมามากมาย อีกทั้งยังมุ่งเน้นทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • Tencent มีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบตั้งแต่โปรแกรมแชทอย่าง QQ และ WeChat ไปจนถึงแอปอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น Cloud ทาง Tencent

พามาเยี่ยมชม! ออฟฟิศ Tencent บริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่จีน ลุยธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง บนพื้นฐาน ESG พร้อมชูซีรีส์จีนเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมส่งออกตลาดโลก

หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก และอยู่ในทวีปเอเชีย จะไม่พูดถึง บริษัท Tencent สัญชาติจีน ไม่ได้ เพราะบริษัทนี้มีการลงทุนมากมายทั้งในจีน และการบุกตลาดไปทั่วโลก แถมในปัจจุบันบริษัทดังกล่าวยังมีลูกเล่นใหม่ๆ ออกมามากมาย อีกทั้งยังมุ่งเน้นทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล่าสุด #SPRiNG ได้มีโอกาสเยือน "มหานครฉงชิ่ง" จีนแผ่นดินใหญ่ ในโครงการ “มองจีนยุคใหม่ สิ่งที่สื่อไทยควรรู้” ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 24-30 ตุลาคม 67 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และมีโอกาสไปเข้าไปเยี่ยมชมบริษัท Tencent

ก่อนอื่นพามาความรู้จัก Tencent ได้ก่อตั้งปี 1998 ที่เซินเจิ้น ประเทศจีน ในปีต่อมาเปิดตัว QQ โปรแกรมแชทบน Personal computer ต่อมาในปี 2004 Tencent ประสบความสำเร็จและเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง พร้อมว่า QQ ประสบความสำเร็จ และต่อมาในปี 2011 WeChat ถือกำเนิดขึ้น ในปี 2013 Tencent ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทผู้พัฒนาและเผยแพร่เกมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายได้ ขณะที่ WeChat ก็แทบจะเป็นทุกอย่างของคนจีน และมีฟีเจอร์มากมาย ทั้งสนทนา จ่ายเงิน อ่านข่าวหรือสั่งอาหาร ปัจจุบันผู้คนใช้งานแอป WeChat ราว 4-5 ชม.ต่อวัน

เยี่ยมชม! ออฟฟิศ \"Tencent\" บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน ลุยทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG

โดย Tencent มีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบตั้งแต่โปรแกรมแชทอย่าง QQ และ WeChat ไปจนถึงแอปอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น Cloud ทาง Tencent บอกว่า ในไทยก็มีลูกค้าที่เป็นบริษัทเยอะเช่นกัน เช่น dek-d และ Ookbee ปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2022 มีการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030 ล่าสุดเมื่อปี 2023 เปิดตัว Hunyuan AI chat ปัจจุบันใช้ในจีนเป็นหลัก

นอกจากนี้ QQ และ WeChat แม้จะเป็นโปรแกรมสนทนาที่คล้ายคลึงกัน แต่กลุ่มผู้ใช้งานก็ต่างกันออกไป โดย QQ ผู้ใช้งานหลัก ๆ จะอยู่ในจีน และเป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่น ส่วนผู้ใช้ WeChat จะกระจายไปทั่วโลก รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันมีผู้ใช้ WeChat 1,300 ล้าน เป็นอันดับ 2 รองจาก Google ในด้านผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต สำหรับการลงทุนของ Tencent ในมหานครฉงชิ่งยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม Tencent มีการพัฒนาชิปคุณภาพสูงจนสามารถใช้ในโรงพยาบาลและอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ อย่างนวัตกรรมเครื่องสแกนร่างกาย AI ของ Tencent ก็ได้รับความนิยมมาก มีการนำไปใช้ในโรงพยาบาลมากกว่า 300 แห่ง ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ Tencent ยังมีแขนหุ่นยนต์ที่สามารถตั้งโปรแกรมให้ทำงานต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเล่นเกมฮอกกี้ ชงน้ำ หรือลวกก๋วยเตี๋ยว

เยี่ยมชม! ออฟฟิศ \"Tencent\" บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน ลุยทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG

Tencent ยังมี Data Center อยู่ร้อยกว่าแห่ง รวมถึงในฉงชิ่ง ที่ตั้งของ Data Center ที่ใหญ่สุดในจีน จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูล ก่อสร้างในรูปแบบเหมือนกล่องคอนเทนเนอร์ทำให้สามารถติดตั้งเสร็จเร็ว และใช้งานได้เร็ว จำนวน Data Center ที่เยอะทำให้ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว

Tencent ไม่ได้มุ่งพัฒนาเพียงเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ร่วมผลักดันวัฒนธรรมด้วย เห็นได้จากเกม ที่มีพื้นหลังของเกมเป็นสถานที่จริง เผื่อแฟนคลับอยากไปตามรอย พร้อมขายสินค้าเกี่ยวกับเกมด้วย และรายได้บางส่วนก็นำไปบำรุงสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ หรืออย่างในซีรีส์ และภาพยนตร์ ก็มีการสอดแทรกทิวทัศน์ของจีนในปัจจุบันเข้าไป เพื่อให้ชาวต่างชาติได้รู้ว่าปัจจุบันจีนเป็นอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีการทำงานร่วมกันหน่วยงานรัฐ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐบาล เพราะสนับสนุนทั้งเงินทุนการถ่ายทำ หรือให้สิทธิงดเว้นภาษี

เยี่ยมชม! ออฟฟิศ \"Tencent\" บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน ลุยทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG

ทั้งนี้การผลักดันซีรีส์จีนสู่ต่างประเทศ ถูกบรรจุในนโยบายระดับชาติ มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตซีรีส์อย่างชัดเจน อย่าง ปี 2023 ออกซีรีส์ 803 เรื่อง 142,000 ตอน รายได้ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ทำมานานตั้งแต่ยุค 80 เรื่องไซอิ๋ว ผลิตภัณฑ์ของ Tencent ที่ได้รับความนิยมในอาเซียน ได้แก่ เกม เช่น League of Legend (LOL), Clash of Clans, Crossfire สำหรับ WeChat ก็ได้นับความนิยมในแถบอาเซียนเช่นกัน ในหมู่คนจีนโพ้นทะเล มีผู้ใช้งานมากถึง 100 ล้านคนในอาเซียน

สำหรับ Tencent มีสำนักงานอยู่ในเมืองหลวงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด และ 80% ของผู้ใช้งาน WeTV อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราว 43 ล้านคนต่อเดือนมีการรุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการแปลซีรีส์เป็นภาษานั้นๆ และทำคอนเทนต์ออริจินอลท้องถิ่น เป็นแพลตฟอร์มความบันเทิงที่มีทั้งซีรีส์ รายการทีวีและแอนิเมชั่นมีการขยายสร้างพาทเนอร์ในท้องถิ่น เช่น บิ๊กซี

เยี่ยมชม! ออฟฟิศ \"Tencent\" บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จีน ลุยทำธุรกิจบนพื้นฐาน ESG

ในส่วนของไทย มีร้านออนไลน์ใน WeChat สามารถซื้อของจากบิ๊กซีส่งมาจีนได้แล้ว มีการร่วมมือกับแกร็บ เมื่อมาไทยไม่ต้องโหลดแอปใหม่ เข้า WeChat เรียกรถได้เลย ส่วนรถไฟฟ้า BTS ของไทยก็สามารถใช้ WeChat Pay จ่ายได้แล้วการทำวิดีโอไม่ใช่แค่ความบันเทิงแต่มันคือการส่งต่อวัฒนธรรม ทำให้คนจีนได้รู้จักทั้งในและต่างประเทศ เข้าใจมากขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนบนโลกออนไลน์

ไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญ เพราะประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ประเทศข้างเคียงของไทยสามารถมาใช้เซฟเวอร์ได้ด้วย โดยคนไทยนิยมเล่นเกมผ่านสมาร์ทโฟนถึง 80% คล้ายกับจีน จึงทำให้ทำงานได้ง่าย แต่ความท้าทายคือ aging society และจะทำอย่างไรให้คนอายุมากกว่า 40 ปีมาใช้งาน เพราะปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 40 ปี

พร้อมกันนี้ได้ร่วมพูดคุยกับ กั้วอี้ (Guo yi) ศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการสถาบัน international communication มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง ระบุว่า อิทธิพลซีรีส์จีนในต่างประเทศตอนนี้มาแรงมาก ซึ่งถือเป็นนโยบายระดับชาติที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญ และสนับสนุน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนภาพประเทศจีนให้ชาวโลกได้รับรู้ว่า ประเทศจีนในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ศาสตราจารย์กั้ว ยังบอกว่า ซีรีส์จีนเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่ส่งออก ซึ่งจริงๆรัฐบาลจีนได้ดำเนินการมานานแล้วในการส่งออกซีรีส์ เช่น ในยุค 80 มีเรื่องไซอิ๋ว ยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลายๆเรื่องไม่ได้เป็นแค่การส่งออกแค่วัฒนธรรม แต่ยังได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี มีผู้ชมต่างประเทศมากกว่า 1,000 ล้าน อย่างสถิติในปี 2023 รวมแล้วกว่า 800 เรื่อง รวมกว่า 800,000 ตอน และมูลค่ามากกว่า 80 ล้าน และภาพยนตร์บางเรื่อง ยังได้รับรางวัลภาพยนตร์นานาชาติของปูซานด้วย

ศาสตราจารย์กั้ว ยังย้ำว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมจากรัฐบาล ตั้งแต่ประเทศจีนร่วมองค์การค้าโลก (WTO) ตั้งแต่ 2001 ซึ่งนอกจากากรส่งออกแล้ว ยังสนับสนุนให้หนังจีนไปถ่ายที่ต่างประเทศกว่า 40 ประเทศ และหลายๆโครงการก็ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ซึ่งนอกจากระดับประเทศ ยังมีระดับพื้นที่ และภูมิภาค ของจีนที่ส่งเสริมผ่านการสนับสนุนเงิน และงดเว้นภาษี และส่งเสริมพื้นที่ในการบริหารจัดการคน ซึ่งโครงการที่รัฐบาลผลักดัน สามารถนำผลงานจีนไปถ่ายทอดได้ใน 40 กว่าประเทศ และงานภาพยนตร์งานโทรทัศน์ต่างประเทศ ที่เชิญจีนไปร่วมงาน ก็ยังทำให้จีนเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ

ศาสตราจารย์กั้ว เล่าว่า มีบริษัทผู้ผลิตแต่ละปี มากกว่า 500 บริษัทที่มาร่วมงาน ทำให้ผู้ชมได้รับรู้ภาพยนตร์จีน และจริง ๆ บริษัทเอกชน ก็มีส่วนเป็นอย่างมาก ทำให้ซีรีส์จีนเป็นที่รู้จัก อย่างเช่น หัวเซ่อกรุ๊ป ที่นำผลงานซีรีส์ไปเผยแพร่กว่า 180 ประเทศทั่วโลก แม้บางประเทศที่ไม่น่าเข้าถึงอย่างอิสราเอล ก็เข้าถึง และปัจจุบันวีทวีของ Tencent ได้สร้างผลงานโดยเฉพาะซีรีส์ไทย ที่จีนเป็นผู้ผลิตก็มีในหลายประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี 56 เรื่องที่ทำเป็นเรื่องท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ หรือหลายๆ เรื่องผลิตที่มาเลเซีย ก็เพื่อทำตลาดให้เหมาะกับอาเซียน

ศาสตราจารย์กั้ว ยังยอมว่า สิ่งที่มีปัญหาที่สุด คือรายละเอียดทางวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลให้ในการแปลซีรีส์ ทำให้เข้าใจได้ยาก หรือแปลคลาดเคลื่อน เช่น ลำดับนางสนม, เกมจีนและซีรีส์ ที่​ใช้ทับศัพท์จีนแล้วไพเราะมาก แต่แปลเป็นภาษาอื่นแล้วกลับไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งอนาคตจะมีการแก้ไขไปเรื่อย ๆ และหวังว่า จะติดงามผลงานประเทศจีนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related