svasdssvasds

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์ นักวิชาการเชื่อในวิกฤติมีโอกาสสำหรับไทย

SHORT CUT

  • การเมืองสหรัฐอเมริกา เรียกได้ว่าสะเด็ดน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน สามารถเอาชนะ กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต ไปได้
  • การก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของ ทรัมป์ ได้สร้างผลกระทบไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการต่างประเทศ
  • ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายภาพการเมืองของสหรัฐฯ ให้เราเห็น

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์ นักวิชาการเชื่อในวิกฤติมีโอกาสสำหรับไทย

การเมืองสหรัฐอเมริกา เรียกได้ว่าสะเด็ดน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน สามารถเอาชนะ กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต ไปได้

การก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาของ ทรัมป์ ได้สร้างผลกระทบไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการต่างประเทศ ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนต่างวิเคราะห์ภาพอเมริกายุค ทรัมป์ จะเป็นอย่างไร

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

ประชาชนไฟเขียว ทรัมป์ ลุยนโยบาย?

ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายภาพการเมืองของสหรัฐฯ ให้เราเห็นว่า เนื่องจากตอนนี้ ทรัมป์ คุมทั้งฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ ทั้งสภาสูงและสภาล่าง ศาลสูงสุดก็มาจากเสียงที่ประธานาธิบดีฝั่งรีพับลิกัน แต่งตั้ง ดังนั้นในแง่นี้เราอาจคาดการณ์เบื้องต้นได้ว่าประชาชนไฟเขียวให้ ทรัมป์ ไปในจุดสูงสุดของอำนาจที่ประธานาธิบดีทำได้

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้นเมื่อ ทรัมป์ ขึ้นมามีอำนาจจะมีข้อจำกัดน้อยมากในการจะดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ แต่ต้องบอกก่อนว่าในระบบการเมืองสหรัฐฯ ถึงแม้ฝ่ายนิติบัญญัติจะมาจากพรรคเดียวกับประธานาธิบดี เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงที่ ทรัมป์ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีครั้งแรก ในช่วง 2 ปีที่ดำรงตำแหน่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทรัมป์ จะทำทุกอย่างได้ตามใจ 

ถ้าจำกันได้ ทรัมป์ สัญญาว่าจะยกเลิกนโยบาย โอบามาแคร์ ปรากฏว่าพรรครีพับลิกันคุมทั้ง 2 สภาแต่ไม่สามารถยกเลิกนโยบายดังกล่าวได้ ได้แต่เปลี่ยนบางประเด็น นั่นหมายความว่าในระบบการเมืองของสหรัฐฯ ความรู้สึกที่จะถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารยังคงมีอยู่

ตอนนั้นพบว่าวุฒิสภาฝั่งรีพับลิกันข้ามขั้วมาโหวตไม่ให้ทรัมป์ยกเลิก โอบามาแคร์

อาจารย์ทิ้งท้ายอย่างร่าเริงว่าคนอ่านจะได้สบายใจว่าทรัมป์ไม่สามารถดำเนินนโยบายที่สุดโต่งได้

 

ทรัมป์ 2024 ร่างทองที่มีประสบการณ์การเมืองมากกว่าปี 2016

อ.สิริพรรณ ชี้ให้เห็นว่า ทรัมป์ 2024 แตกต่างจากขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 2016 เพราะในปี 2016 ทรัมป์ มาในฐานะคนนอกไม่รู้เรื่อง ขณะที่พรรครีพับลิกันเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลให้ รวมไปถึงเลือกรัฐมนตรีหลายคน ทำให้ช่วงหลังๆ มีปัญหาจนทรัมป์เปลี่ยนรัฐมนตรีหลายคน

แต่ในครั้งนี้ ทรัมป์ มาด้วยประสบการณ์ 4 ปีในทำเนียบขาวดังนั้น ทรัมป์ รู้ว่าจะตั้งใคร เพื่ออะไร จะต้องทำอย่างไร ด้วยตัวเขาเอง ครั้งนี้การดำเนินนโยบายต่างๆ จะเป็น ทรัมป์ ไอเดีย ดังนั้นเราจึงเห็นชื่อ อีลอน มัสค์ หมายมั่นปั้นมือจะเป็นฝ่ายบริหารของรัฐบาล อาจจะได้เป็นหัวหน้าทีมที่มาดูแลงบประมาณหรือเรื่องสำคัญๆ อันนี้เป็นการใช้ อีลอน มัสค์ เชื่อมไปสู่กลุ่มทุนอื่นๆ ที่จะมาส่งเสริมช่วยเหลือทางตรงและทางอ้อมต่อรัฐบาลทรัมป์ แต่ก็น่ากังวลใจว่าจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ ทรัมป์ ด้วย

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

ฉะนั้นการเมืองและเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯ คาดได้ว่าการลดภาษี การพยายามตอบโจทย์นโยบายที่ ทรัมป์ หาเสียงไว้น่าจะทำได้เร็ว นั่นคือสิ่งที่ประชาชนหวังต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง

เรื่องผู้อพยพ ทรัมป์ อาจจะใช้อำนาจของประธานาธิบดีที่ไม่ต้องรอฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ หรือออกเป็นรัฐบัญญัติภายหลังเพื่อจัดการกับผู้อพยพผิดกฎหมาย เชื่อว่าเป็นวาระการเมืองที่สำคัญของ ทรัมป์ 

เห็นได้ว่าการทำให้พรมแดนเข้มงวดมากขึ้นเกิดขึ้นแน่นอน แต่ไม่พูดถึงเรื่องการสร้างกำแพงเพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ ยาวมาก แต่จะไปไกลถึงการส่งผู้อพยพหลักแสนคนออกนอกประเทศแบบที่พูดไว้หรือเปล่า เพราะจะไปกระทบเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะคนเหล่านี้มีลูกที่เกิดในสหรัฐฯ เป็นพลเมืองที่มีสัญชาติสหรัฐฯ ลูกอยู่ได้เพราะเป็นคนถูกกฎหมายแล้วพ่อแม่ต้องออกนอนประเทศหรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง

การเมืองอเมริกาไม่มีขวาจัดสุดโต่ง

อ.สิริพรรณ มองว่าการเมืองของสหรัฐฯ ยังไม่ถึงกับเป็นขวาจัดสุดโต่ง แต่การขึ้นมาของ ทรัมป์ เป็นสัญญาณบอกว่าคนสหรัฐฯ ขวาขึ้น แต่มองอีกแง่หนึ่งคือการตอบโต้นโยบายที่ก้าวหน้าของเดโมแครต ทั้งเรื่องของการทำแท้ง การแต่งงานของเพศเดียวกัน การโอบรับผู้อพยพ ล้วนแล้วแต่เป็นนโยบายของฝ่ายก้าวหน้า

ขณะที่ฝ่ายอนุรักษนิยม มองว่านโยบายเหล่านี้เลยจุดที่สบายใจแล้ว แต่ อ.สิริพรรณ ก็มองว่าการเมืองในสหรัฐฯ ยังไม่ถึงกับเป็นขวาจัดแบบในยุโรป เหตุผลเพราะสหรัฐฯ มีความหลากหลายสูง ปัจจัยมาจากประเทศใหญ่มีหลายอุดมการณ์ เช่น ในสหรัฐฯ มีคนที่ไม่ใช่คนขาวหรือคนดำ แต่ยังมี ละติน อาหรับ-อเมริกัน มีอินเดียแบบ แฮร์ริส ที่ไม่ได้เลือก แฮร์ริสทั้งหมด คนเหลา่นี้ไม่ได้เลือก ทรัมป์ เพราะอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เลือกเพราะเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง

ที่เปลี่ยนจากเอางบประมาณที่ไปให้ยูเครนกลับมาสู่สหรัฐฯ ไม่ใช่อุดมการณ์ที่ปฏิเสธคุณค่าของประชาธิปไตย ที่สำคัญสหรัฐฯ มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค มีประชากร 300 กว่าล้านคน ทั้ง 2 พรรคจึงต้องมีความยืดหยุ่น มีทั้งซ้าย ขวา กลาง สุดโต่ง ที่อยู่ร่วมกันได้ ต้องไปเกลี่ยน้ำหนักกันในพรรคไม่ปล่อยให้ฝ่ายขวาจัดขึ้นมาครอบงำพรรคได้

ขณะที่ ทรัมป์ เป็นคนไม่เน้นเรื่องอุดมการณ์ แต่สิ่งที่ ทรัมป์ พูดขัดต่อหลักประชาธิปไตย

ยูเครนนอนไม่หลับ ตะวันออกกลางงงงวย

อ.สิริพรรณ ชี้ภาพให้เห็นว่า ทรัมป์ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี แน่นอนว่ายูเครนคงนอนไม่หลับ ภูมิภาคที่กระทบที่สุดคือสหภาพยุโรป อยู่ที่ว่าที่ปรึกษาจะทานได้แค่ไหน แต่จะถึงขั้นลดความช่วยเหลือรวมถึงยกเลิกให้การช่วยเหลือหรือเปล่านั้นยังไม่แน่ใจ ดังนั้น โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดีของยูเครนต้องดิ้นรนเอง

อาจต้องหันไปหานาโต้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันนาโต้ก็ไม่พร้อม เพราะงบประมาณเกินครึ่งมาจากการสนับสนุนของสหรัฐฯ ทรัมป์ ขึ้นมาคิดว่า เงินทุนในการช่วยเหลือคงไม่ไหลไปสู่นาโต้

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

ขณะเดียวกันก็มีความเจ้าเล่ห์ของ ทรัมป์ ที่บอกว่าสงครามยูเครนจะจบเร็ว แต่ก็ไม่รู้จะจบเร็วแบบไหน จะไปบอกให้ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียถอนกำลังหรือบอกให้บุกไปเลยหรือ? แต่คิดว่าการจบสงครามด้วยดีคือการเปิดการเจรจา เช่น พื้นที่ไครเมียให้รัสเซียได้หรือไม่ ยังไม่แน่ใจ

ส่วนปัญหาในตะวันออกกลางอย่างอิสราเอลก็น่าสนใจ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเด็กในมหาวิทยาลัยที่ไม่ชอบ ไบเดน เพราะไปสนับสนุนอิสราเอล แต่อันที่จริง ทรัมป์ สนิท กับ อิสราเอล และ เบนจามิน เนทันยาฮู มากกว่า ไบเดน อีก ยังคงงงกับตรรกะดังกล่าว เพราะสวนทางกัน เพราะ ทรัมป์ เคยบอกให้อิสราเอลถล่มกาซาไปเลย แต่คนอาหรับ-อเมริกัน กลับเลือก ทรัมป์ หวังให้ยุติสงครามต้องดูต่อไปว่า ทรัมป์ จะโชว์ฝีมืออย่างไร เขาอาจจะมีไพ่ลับที่เราไม่รู้ก็ได้

ขึ้นภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมือง

หากพูดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ หลายคงมองไปที่ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ-จีน อ.สิริพรรณ เผยให้เห็นว่า หากพูดในเรื่องนโยบายความสัมพันธ์กับจีน เดโมแครตและรีพับลิกัน มีนโยบายเหมือนกันคือต่างมองจีนเป็นภัยคุกคามที่มาท้าทายสหรัฐฯ ทั้งทางเศรษฐกิจและการทหาร

อ.สิริพรรณ คิดว่านโยบายเรื่องของการขึ้นกำแพงภาษี ใช้นโยบายภาษีในการกีดกันการค้ามาแน่นอน แต่จะขึ้นกำแพงภาษีกับจีน 60 เปอร์เซ็นต์อาจไปไม่ถึงจุดนั้นเพราะ 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นคำพูดให้คนรู้สึกว่าเอาจริง เอาแน่ และต่างไปจากพรรคเดโมแครต หากขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 60 เปอร์เซ็นต์จริงๆ ถ้าสินค้าจีนส่งเข้ามาไม่ได้แล้วคนสหรัฐฯ จะใช้อะไร ทุกวันนี้สินค้าในสหรัฐฯ ผลิตในประเทศจีนทั้งนั้นแล้วคนสหรัฐฯ จะใช้อะไร

อเมริกา ยุคทรัมป์ คัมแบ็ค อาจทำไม่ได้จริงปมขึ้นกำแพงภาษีจีน 60 เปอร์เซ็นต์

หากขึ้นภาษีสูงผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าก็จะขึ้นราคาสินค้าผู้บริโภคจะจ่ายค่าสินค้าแพงขึ้นดังนั้นการที่พูดว่าจะขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเพียงวาทกรรมทางการเมือง เป็นการโฆษณาทางการเมือง

แต่ สมัยรัฐบาลทรัมป์ ปี 2016 มีการขึ้นภาษีจีนจริงๆ แต่จีนก้โต้กลับด้วยการขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐฯ เหมือนกัน ในแง่นี้ขึ้นภาษีจีนแน่ แต่จะขึ้นเท่าไหร่แม่แน่ใจ

ขึ้นภาษี 10 เปอร์เซ็นต์หวั่นกระทบไทย

อ.สิริพรรณ ชวนมองว่าหา ทรัมป์ ทำตามนโยบายที่ประกาศไว้จริงๆ คือขึ้นภาษีสินค้าจากประเทศอื่นๆ 10 เปอร์เซ็นต์ กระทบไทยแน่นอน แต่หากขึ้นภาษีจีนเยอะขึ้นผู้ประกอบการที่ไปลงทุนในจีนไม่อยากจ่ายภาษีที่สูง ก็จะย้ายฐานการผลิต หากไทยเตรียมความพร้อมดีๆ อาจได้อานิสงส์ในส่วนนี้ ซึ่งอาจมีการย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย แต่ไทยเองต้องแข่งกับทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศใกล้เคียง

พลิกวิกฤติเป็นโอกาสหากไทยกล้าลงทุนกับคน

อ.สิริพรรณ มองว่าโอกาสของไทยนั้นมี แต่ต้องมองว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับได้มากน้อยแค่ไหน เงื่อนไขของผู้ประกอบการของสหรัฐฯ คือต้องมี Green Economy ,ไฟและน้ำที่เป็นพลังงานสะอาด แต่หากเป็นยุค ทรัมป์ ทรัมป์ ไม่ได้สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นต้องคอยมองว่านโยบายจะเปลี่ยนไปไหม

ขณะที่สินค้าที่ไทยส่งออกหลักๆ ไปที่สหรัฐฯ คือเครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารารถยนต์ แต่ทั้งหมดนี้คือสายโซ่การผลิตแบบดั้งเดิม แบบโบราณ

ภาคอุตสาหกรรมไทย รัฐบาลไทยไม่เคยสนับสนุนสายโซ่การผลิตสมัยใหม่เช่น Semiconductor อุปกรณ์ AI ซึ่งเป็นห่วงโซ่ใหม่ๆ ที่กลุ่มทุนใหม่ๆ อยากลงทุน ไม่แน่ใจว่าประเทศไทยจะดึงการลงทุนเหล่านี้มาได้หรือเปล่า อย่างเช่นที่อินโดนีเซียทำ

อ.สิริพรรณ มองว่า สิ่งที่ไทยควรทำคือเร่งลงทุนขั้นพื้นฐานโดยเร็วที่สุด เช่น นิคมอุตสาหกรรมที่พร้อมและใหญ่ มีพร้อมทั้งพลังงานสะอาด เพราะกลุ่มทุนใหม่ๆ จะมองอย่างนั้น และควรอัพสกิลรีสกิลคน เพราะความเป็นจริงคนไทยไม่ได้โง่ แต่รัฐบาลไม่ค่อยลงทุนกับแรงงานให้ปรับตัว 

AI กับหุ่นยนต์ เข้ามาแทนที่แรงงานแน่ๆ เราไม่อาจปฏิเสธได้ เราต้องสร้างคนให้ใช้ AI ให้เป็น อ.สิริพรรณ เล่าว่า เคยคุยกับภาคอุตสาหกรรมว่าสิ่งเหล่านี้เข้ามาแน่ๆ แต่คนไทยยังปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ไม่เป็น ในส่วนของอุตสาหกรรมควรฝึกฝนให้ฟรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง