svasdssvasds

จุฬาฯ ผงาดเสาหลักของแผ่นดิน? หลัง "แพทองธาร" นั่งเก้ากี้นายกฯ คนที่ 31

จุฬาฯ ผงาดเสาหลักของแผ่นดิน? หลัง "แพทองธาร" นั่งเก้ากี้นายกฯ คนที่ 31

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" นับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรไว้อย่างมากมายจากหลากหลายวงการ รวมถึงบุคคลที่มีชื่อเสียง

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...เสาหลักของแผ่นดิน" เป็น วิสัยทัศน์ ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้กำหนดทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 ซึ่งเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดิน โดยให้สังคมมั่นใจว่า

"เมื่อใดก็ตามที่สังคมมีปัญหา ประเทศชาติต้องการความช่วยเหลือ จุฬาฯ ของเราจะสวมบทบาทเชิงรุก เพื่อร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ทุกคนจะนึกถึงจุฬาฯ เป็นอันดับแรกๆ จุฬาฯ ต้องเป็นเรือธงของบ้านนี้เมืองนี้ มีบทบาทชี้นำ รวมทั้งเตือนสติสังคม ให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรม"

การบรรลุวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ เมื่อครบหนึ่งร้อยปีแห่งการสถาปนานั้น ในระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความปรารถนาที่จะเป็น "เสาหลักของแผ่นดิน" โดยมีผลผลิตที่สำคัญในช่วงระยะสี่ปีนี้ได้แก่

  1. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก
  2. เป็นปัญญาแห่งแผ่นดิน
  3. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัวกระชับและรวดเร็ว
  4. เป็นบ้านอันอบอุ่นของคนดีและคนเก่ง

การที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นที่พึ่งพาให้แก่สังคมและประเทศชาติในฐานะเสาหลักของแผ่นดินได้นั้น ต้องเริ่มจากภายใน จึงเป็นที่มาของเป้าหมาย สู่การเป็น "บ้านอันอบอุ่น ของคนดีและคนเก่ง" อันประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ประการ ได้แก่

  • ก้าวหน้า
  • ยอมรับ
  • เข้มแข็ง
  • มั่นคง
  • เกื้อกูล
  • เป็นสุข

"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" นับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรไว้อย่างมากมายจากหลากหลายวงการ รวมถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง ทั้งศิลปิน นักแสดง ผู้บริหาร ผู้อยู่เบื้องหน้า และผู้อยู่เบื้องหลัง หลายต่อหลายท่านก็เคยเป็นนิสิตจุฬาฯ ด้วยเช่นกัน ล่าสุดศิษย์เก่าอย่าง "แพทองธาร ชินวัตร" รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย 

เปิด 5 รายชื่อ ศิษย์เก่าจุฬาฯ บุคคลสำคัญในแวดวงการเมืองไทย

  • แพทองธาร ชินวัตร : นายกรัฐมนตรี 

ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 

  • วันมูหะมัดนอร์ มะทา : ประธานสภา

ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ด้วยทุนกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2512 ต่อมาสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2517

  • อโนชา ชีวิตโสภณ : ประธานศาลฎีกา

นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ : ผู้นำฝ่ายค้าน

ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ : ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

related