ประวัติของ พระเกี้ยว ตราสัญลักษณ์ประจำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถูกอัญเชิญ "งานฟุตบอลจุฬา-มธ." #พระเกี้ยว #พระเกี้ยวจุฬา #พระเกี้ยวงานฟุตบอลบอลจุฬามธ.
ไฮไลท์ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ นอกจากการแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังมีเรื่องของแสตนเชียร์ที่ปีนี้ทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ได้เปลี่ยนไปใช้จอ LED แทนนักศึกษาในการแปรอักษร และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือขบวนอันเชิญ ธรรมจักร ของฝั่งธรรมศาสตร์ และขบวนอันเชิญ พระเกี้ยว ของฝั่งจุฬาฯ
พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือ พระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งมีความหมายว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ มงกุฎเล็ก และมีความหมายเชื่อมโยงกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นคือ มงกุฎ
อีกทั้งพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีความหมายว่า "พระจอมเกล้าน้อย" อีกด้วย
เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่า “พระเกี้ยว” จึงได้ใช้ “พระเกี้ยว” หรือ มงกุฎเล็กวางบนเบาะ
เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์
มีมานานมากแล้วตั้งแต่สมัย โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมหาดเล็ก และมีการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบามราชานุญาตให้อันเชิญพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก และมีการขอเอา พระเกี้ยว มาใช้เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน
ต่อมาโรงเรียนมหาดเล็กได้พัฒนา และเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนข้อความใต้ พระเกี้ยว ตามชื่อ ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ตราพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำมหาวิทยาลัย มาจนถึงตอนนี้
ส่วนพระเกี้ยว องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่หอประวัติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตึกจักรพงษ์ เป็นพระเกี้ยวองค์จำลอง ที่ทางมหาวิทยาลัย ได้รับพระบรมราชานุญาตจาก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภุมิพลอดุลยเดชมหาราช ให้สร้าง โดยจำลองมากจาก พระเกี้ยว จริงที่ประดิษฐานอยู่ในพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง เริ่มสร้างเมื่อปี 2529 และ ร.9 ได้พระราชทานแก่ จุฬาลงกรณืวิทยาลัยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปี 2531
สำหรับสถานศึกษาที่มีการใช้ พระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ประจำสถาบันมีทั้งระดับอุดมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา
จริงๆแล้ว นิสิตจุฬามีสิทธิ์ในการอันเชิญ พระเกี้ยวทุกคน แต่ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ไม่สามารถให้นิสิตทุกคนมาอันเชิญได้เลยต้องมีการ คัดเลือกนิสิต
ที่มีคุณสมบัติพร้อม ทั้งเรื่องของบุคลิกภาพดี กิริยามารยาท ผลการเรียนดี มาเป็นตัวแทนในการอันเชิญพระเกี้ยว คนที่เคยอันเชิญพระเกี้ยว มีทั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง