การฉีดน้ำลดฝุ่น PM 2.5 ของ "อบจ.เชียงใหม่" ถูกวิจารณ์ว่าไม่มีประสิทธิผล วิจัยชี้ แก้ปัญหาปลายเหตุ ฝุ่นละอองยังคงอยู่ ควรมุ่งแก้ที่ต้นเหตุแทน
“ต้องคุยกันเรื่องนี้อีกกี่ครั้งหรอครับ ถึงจะได้บทสรุปว่ามันไม่มีประสิทธิผล”
“ทำวนๆซ้ำๆทุกปี ใครให้ความรู้ก็ไม่ฟัง บัวใต้คอนกรีตหรือครับ”
“แจกหน้ากากกันฝุ่น และมุ้งสู่ฝุ่นให้คนเปราะบางจะมีประโยชน์กว่าค่ะ ทำได้เท่านี้ สมัยหน้าคนเชียงใหม่ควรทบทวนพรรคที่จะมาบริหารจังหวัดนะคะ”
ลมหายใจคนเชียงใหม่เข้าขั้นน่าเป็นห่วง เมื่อหน่วยงานท้องถิ่นจัดการกับฝุ่น PM 2.5 ด้วยการฉีดน้ำ ด้วยมีความเชื่อว่าสามารถลดฝุ่นได้ ขณะที่งานวิจัยหลายชิ้นมีข้อสรุปตรงกันว่า การฉีดน้ำแทบไม่ช่วยลดฝุ่นเลย
เมื่อปี 2561 รศ.ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล หัวหน้าศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยอธิบายว่า การฉีดน้ำลดฝุ่นคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
รศ.ดร. เศรษฐ์ เปิดเผยว่า น้ำจากสายฉีด หรือแม้แต่น้ำฝนไม่สามารถดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ทั้งหมด อาจช่วยชำระฝุ่นละอองบนท้องถนนได้ระดับหนึ่ง แต่เมื่อระเหยฝุ่นละอองก็ยังคงอยู่ แถมย้ำว่านี่อาจช่วยแก้ฝุ่นในเชิงจิตวิทยาเท่านั้น
เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 กรุงเทพฯ ระดมนักวิชาการจากหลายหน่วยงาน ร่วมหารือประเด็น ประสิทธิภาพของการกำจัดฝุ่นด้วยการฉีดพ่นละอองน้ำ มีผลสรุปดังนี้
ทั้งนี้ มิใช่ อบจ.เชียงใหม่เพียงแห่งเดียวที่ยังใช้วิธีฉีดน้ำลดฝุ่นอยู่ นนทบุรี สมุทรปราการ ฯลฯ ก็ล้วนยังใช้วิธีการนี้อยู่ ดังนั้น บทความชิ้นนี้จึงยืนยันอีกครั้งว่า หน่วยงานควรกลับไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หรืออย่างน้อยก็เลิกฉีดน้ำลดฝุ่น เพราะไม่ช่วยให้ลมหายใจ และชีิตของประชาชนปลอดภัยขึ้นเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง