svasdssvasds

ไทยหนุนธุรกิจ "ลดคาร์บอน" สู้ศึกตลาดโลก สู่ Hub ลงทุนสีเขียว

ไทยหนุนธุรกิจ "ลดคาร์บอน" สู้ศึกตลาดโลก สู่ Hub ลงทุนสีเขียว

ก.อุตฯ ผนึก World Bank เปิดเกมรุก “Industrial Decarbonization” หนุนผู้ประกอบการลดคาร์บอน ยกไทย Hub การลงทุนสีเขียวแห่งภูมิภาค

SHORT CUT

  • อนาคตอันใกล้นี้การค้าขายในตลาดโลกจะเข้มงวดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไป เรียกได้ว่าสินค้าไหนไม่กรีนจะขายได้ยากขึ้นในอนาคต
  • ทั้งนี้จึงทำให้ไทยต้องเร่งสนับสนุนธุรกิจให้มีการลดคาร์บอน ผลักดันไทยสู่ Hub การลงทุนสีเขียวแห่งภูมิภาค
  • พร้อมตอกย้ำความมุ่งมั่นขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero 2065 ด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

ก.อุตฯ ผนึก World Bank เปิดเกมรุก “Industrial Decarbonization” หนุนผู้ประกอบการลดคาร์บอน ยกไทย Hub การลงทุนสีเขียวแห่งภูมิภาค

ในอนาคตอันใกล้นี้การค้าขายในตลาดโลกจะเข้มงวดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไป เรียกได้ว่าสินค้าไหนไม่กรีนจะขายได้ยากขึ้นในอนาคต เรื่องนี้จึงทำให้ไทยต้องเร่งสนับสนุนธุรกิจให้มีการลดคาร์บอน ผลักดันไทยสู่ Hub การลงทุนสีเขียวแห่งภูมิภาค อย่างล่าสุด นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นประธานเปิดงานสัมมนา "CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand’s Low Carbon City Program" ตอกย้ำความมุ่งมั่นขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero 2065 ด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

โดยเน้นย้ำว่า การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีความยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและโครงสร้างการผลิต การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สะอาด สะดวก โปร่งใส" โดยมีกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ 5 ประเด็น และภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ อาทิ การจัดการปัญหากากอุตสาหกรรม การลดมลพิษทางอากาศ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ไทยหนุนธุรกิจ \"ลดคาร์บอน\" สู้ศึกตลาดโลก สู่ Hub ลงทุนสีเขียว

 

และการยกระดับงานบริการ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน โดยภารกิจสำคัญเร่งด่วนคือ การสนับสนุนให้อุตสาหกรรมไทยสามารถปรับตัวไปสู่เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transition to New Economy) โดยการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Greening Supply Chain)ให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ (Low Carbon Industry) และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงฯ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของภาคอุตสาหกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้า Net Zero Emissions ภายในปี 2065 โดยการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว บังคับใช้เกณฑ์ใหม่ปี 2568 ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย และสนับสนุนเทคโนโลยีสะอาด นอกจากนี้ จะมีการประกาศใช้มาตรฐานลดก๊าซเรือนกระจก 7 มาตรฐาน พัฒนาแนวทางให้สอดคล้องสากล และสร้างกลไกให้สถานประกอบการเข้าถึงเทคโนโลยีลดคาร์บอนได้ง่ายขึ้นพร้อมทั้งส่งเสริมพลังงานสะอาด

นอกจากนี้ได้ร่วมมือกระทรวงพลังงานแก้ไขอุปสรรค สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ลดพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน กำหนดมาตรฐานใหม่กว่า 55 มาตรฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรม New S-Curve และขับเคลื่อนนโยบาย MIND (Move to Net Zero, Innovation,Digitalization) โดยมีเป้าหมายครอบคลุมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กระทรวงฯ เชื่อมั่นในศักยภาพและความร่วมมือของผู้ประกอบการไทยสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ไทยหนุนธุรกิจ \"ลดคาร์บอน\" สู้ศึกตลาดโลก สู่ Hub ลงทุนสีเขียว

ด้านนายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. กล่าวเสริมว่า กนอ. มุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการสู่ "อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ" รับมือความท้าทายด้านดิจิทัล เทคโนโลยี และความยั่งยืน โดยกำหนดให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง แนวทางสนับสนุนธุรกิจยั่งยืน ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวผ่านนิคมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำภายใต้แนวทาง พร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน สนับสนุนพลังงานสะอาด จัดการของเสียผ่าน "มาบตาพุด แซนด์บ็อกซ์"

และพัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน โดย กนอ. สร้างกลไก Carbon Finance ร่วมกับ World Bank พัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต และตั้ง CME เป็นศูนย์กลางความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน โดย กนอ.พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมไทยลดก๊าซเรือนกระจก สร้างเศรษฐกิจยั่งยืน และยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนสีเขียวในภูมิภาค

ด้านนางสาวเมลินดา กูด ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนมา กล่าวว่า การลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่วาระของอนาคตอีกต่อไป—แต่มันกำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ และผู้ที่เป็นผู้นำจะเป็นผู้กำหนดยุคถัดไปของความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ธนาคารโลกรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรในการจัด CEO Forum และสนับสนุนประเทศไทยในการสร้างอนาคตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโต ดึงดูดการลงทุน สร้างงาน และเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ไทยหนุนธุรกิจ \"ลดคาร์บอน\" สู้ศึกตลาดโลก สู่ Hub ลงทุนสีเขียว

อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีองค์ประกอบที่เหมาะสมทุกประการในการเป็นผู้นำในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และเจตนารมณ์ที่ชัดเจน โครงการเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City Program) ที่รัฐบาลไทยและธนาคารโลกจะร่วมมือกัน จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมมีเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขณะเดียวกันก็รักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้ ด้วยการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ปี 2026 ที่กำลังจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยจะมีโอกาสอันดีเยี่ยมในการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศและความมุ่งมั่นของภาคเอกชนต่อเวทีระดับโลก

สำหรับการจัดงานสัมมนา CEO Forum : Industrial Decarbonization under Thailand's Low Carbon City Program) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ และรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในงาน มีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “กลยุทธ์ ปัจจัยความสำเร็จ และโอกาสของอุตสาหกรรมไทย สู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related