svasdssvasds

"ที่ดินจุฬา" ทำเลทองฝังเพชร “แลนด์ลอร์ด” ใหญ่ใจกลางกรุง

"ที่ดินจุฬา" ทำเลทองฝังเพชร “แลนด์ลอร์ด” ใหญ่ใจกลางกรุง

"ที่ดินจุฬา" ที่ดินขนาดใหญ่ใจกลางกรุง มีศักยภาพในการพัฒนาที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ศูนย์กลางธุรกิจการค้าซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบเชิงการค้า ตั้งอยู่ล้อมรอบด้วยย่านธุรกิจขนาดใหญ่

ภายหลังจากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2482 เนื้อที่ทั้งหมด 1,135 ไร่ ตั้งแต่ถนนพระราม 1 ยาวไปจรดถนนพระราม 4

จุฬาฯ เริ่มพัฒนาที่ดินผืนแรกทำเลสวนหลวง-สามย่าน โดยปี 2506 ได้ทำสัญญาปรับปรุงที่ดินกับบริษัท วังใหม่ จำกัด  ห่างกันเพียงปีเดียว จุฬาฯจุดชนวนให้  สยามแสควร์ กลายเป็นไข่แดงย่านเศรษฐกิจสำคัญ ของประเทศ ศูนย์รวมชอปปิ้งดังระดับโลกครองใจวัยรุ่นมาจนถึงปัจจุบัน จากความไม่เป็นระเบียบของเมืองมีคนอาศัยจับจองที่ดินจนกลายเป็นชุมชนแออัด

เกิดความเสื่อมโทรมใช้ที่ดินไม่สมประโยชน์ ทำให้ปี 2507 บริเวณแยกปทุมวันริมถนนพญาไท และพระราม 1   กลายเป็นศูนย์การค้าเชิงราบและมีพื้นที่เปิดโล่ง ในชื่อโครงการ “ปทุมวันสแควร์” ต่อมาเรียกกันในชื่อ “สยามสแควร์”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นแลนด์ลอร์ดใหญ่ จากการมีที่ดินในมือกลางใจเมืองย่านปทุมวันมากถึง 1,153ไร่ สร้างความมั่งคั่งร่ำรวยมหาศาลให้กับสถาบันการศึกษาแห่งนี้ 

จุฬาฯ แบ่ง ที่ดินบริหารจัดการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. เขตการศึกษา 595 ไร่
  2. ส่วนหน่วยงานราชการเช่า 184 ไร่
  3. เขตพาณิชย์ 374 ไร่ ซึ่งเขตพาณิชย์จะรวมโซนสยามสแควร์และโซนสวนหลวง-สามย่าน

ที่ดินทำเลทองจุฬาฯ สร้างความฮือฮาอีกครั้งเมื่อ เมื่อสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ PMCU ประกาศให้บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน) หรือ CPN เป็น ผู้ชนะประมูลที่ดินบล็อก A สยามสแควร์ แปลงโรงหนังสกาลา เนื้อที่ 7 ไร่เศษ และตึกแถวเก่า 79 คูหา ที่หมดอายุสัญญา เดือนธันวาคม 2563 ซึ่งมีทั้งสถาบันเสริมความงาม ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านขายอาหารเสริม ฯลฯ ที่ต้องพลิกโฉม เป็นศูนย์การค้าขนาดย่อม หรือคอมมูนิตี้มอลล์และช็อปปิ้งสตรีทระดับโลก ในปี 2566

ทางฝั่งสวนหลวง-สามย่าน ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน บล็อก 34 ที่ดินติดอุทยาน100 ปี บริเวณถนนบรรทัดทองเนื้อที่ 12 ไร่เศษ ให้เป็นเมืองการแพทย์ครบวงจร และมีอีกหลายแปลงจะนำออกพัฒนาเชิงพาณิชย์ เนื่องจากโซนสวนหลวง-สามย่าน เป็นแปลงที่ดินขนาดใหญ่ 291 ไร่ มีเป้าหมายยกระดับเป็นเมืองอัฉริยะเต็มโครงการภายในปี 2580 เชื่อมโยงโซนชอปปิ้งสยามสแควร์

“สยามสแควร์” สถานที่ยอดฮิตของวัยรุ่นทุกยุคสมัย

จุดกำเนิดของ “ย่านสยามสแควร์” เริ่มต้นในปี 2505 ก่อสร้างโดยบริษัท South East Asia เป็นผู้พัฒนาที่ดินจากสี่แยกปทุมวัน ริมถนนพระราม 4 และถนนพญาไท ให้เป็น “ศูนย์การค้าแนวราบแบบ” โดยมีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถ และระบบสาธารณูปโภคครบวงจร ทำให้ธุรกิจร้านค้าที่เคยเปิดในย่านวังบูรพา สุรวงศ์ สีลม เข้ามาเปิดร้านในสยามสแควร์

ปัจจุบันนอกจาก “ร้านค้าอาคารพาณิชย์” แล้ว พื้นที่แห่งนี้ถูกผลักดันทำให้เกิดเป็น “ย่านช้อปปิ้ง” ใหญ่ ยังเกิดโครงการศูนย์การค้า – อาคารรวบรวมโรงเรียนกวดวิชา – โรงแรม

  • Siam Square One : SQ-1 เดิมทีเป็น “โรงภาพยนตร์สยาม” ที่ประสบเหตุไฟไหม้จากเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อปี 2553 ทางสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ ได้พัฒนาเป็น “Urban Shopping Street” บนพื้นที่ 8 ไร่ ให้เป็นทั้งศูนย์การค้า พื้นที่ส่วนกลางทางเดิน ลานกิจกรรม และโรงละคร

 

  • สยามกิตติ์ เป็นอาคารรวบรวมโรงเรียนกวดวิชา ร้านอาหาร และร้านค้า
  • Center Point of Siam Square โครงการไลฟ์สไตล์ มอลล์ ชูจุดเด่นการเป็นศูนย์การค้าด้านแฟชั่น และความงาม
  • MBK Center ศูนย์การค้า ในรูปแบบตลาดนัดติดแอร์ ที่มีร้านค้ารายย่อย และแบรนด์ ช้อป เป็นจุดขายที่ทำให้ MBK แตกต่างจากศูนย์การค้าในย่านสยามสแควร์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในพื้นที่เดียวกัน มีอาคารสำนักงาน และโรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส
  • โนโวเทล กรุงเทพฯ สยามสแควร์ โรงแรมระดับ 4 ดาวที่อยู่คู่กับย่านสยามสแควร์มายาวนาน

เปลี่ยน "สามย่าน" สู่ เมืองต้นแบบอัจฉริยะ-ปลอดมลภาวะ 

ย่านสวนหลวง-สามย่าน เป็นชุมชน และย่านการค้าเก่าแก่ บนพื้นที่กว่า 291 ไร่ จากถนนพระราม 1 – ถนนพระราม 4 ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งค้าอะไหล่รถเก่า สินค้ากีฬา สำนักงาน ร้านอาหาร ร้านค้า แต่วันเวลาผ่านไป สภาพพื้นที่ และอาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ใช้งานมานาน เริ่มทรุดโทรม

ทาง “สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ต้องการพัฒนาให้มีความหนาแน่นสูงที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยต้องการพัฒนาโซนนี้ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ 3 ด้านคือ

  1. เป็นพื้นที่ต้นแบบของเมืองสุขภาวะ ปราศจากมลพิษ
  2. เป็นพื้นที่ต้นแบบทางธุรกิจ และสังคมเมืองใหม่
  3. เป็นพื้นที่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีมาใช้

ภายในที่ดินโซนนี้ ประกอบด้วย

  • อุทยาน 100 ปี ตั้งอยู่บนพื้นที่ 29 ไร่ และมีถนน 100 ปีจุฬาฯ เชื่อมกับถนนพระราม 1 และพระราม 4 สร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวในกลางเมือง พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ และพื้นที่เปิดสำหรับกิจกรรมเพื่อชุมชน และสังคม
  • สวนหลวงสแควร์ ย่านชุมชนชาวจีนที่ทำธุรกิจร้านอาหาร ร้านค้า จนทำให้ย่านสวนหลวง – สามย่าน ขึ้นชื่อแหล่งรวมของอร่อยมายาวนาน ดังนั้นการปรับปรุงพื้นที่ จึงพัฒนาให้กลายเป็น “สวนหลวงสแควร์” ชุมชนต้นแบบแห่งการค้าขาย และอยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • ตลาดสามย่าน สร้างขึ้นเมื่อปี 2508 ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นตลาดสดทันสมัย
  • CU TERRACE เป็นอาคารที่พักอาศัย สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัย และคนทั่วไป ตั้งอยู่ระหว่างถนนจุฬาฯ ซอย 7 – 9
  • CU iHOUSE อาคารที่พักอาศัยสำหรับนิสิตนานาชาติ และบุคคลทั่วไป จำนวน 846 ยูนิต สูง 26 ชั้น ตั้งอยู่ระหว่างถนนจุฬา ซอย 7 – 9
  • จามจุรีสแควร์ ตั้งอยู่ถนนพระราม 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน พัฒนาในรูปแบบ Mixed-use Project ที่ประกอบด้วย โซนศูนย์การค้า, อาคารสำนักงาน, อาคารที่พักอาศัยจามจุรี เรสซิเดนซ์ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สำนักงานเขตปทุมวัน, สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน, สถานีดับเพลิงบรรทัดทอง และยังมีโครงการที่เอกชนลงทุน เช่น

  • สามย่านมิตรทาวน์ ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท – พระราม 4 พัฒนาเป็น Mixed-use Project ขนาด 13 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในย่านสามย่าน สีลม และถนนพระราม 4, อาคารที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน

  • STADIUM ONE ตั้งอยู่ใกล้สนามกีฬาแห่งชาติ ระหว่างถนนบรรทัดทอง กับจุฬาฯ ซอย 5 และระหว่างถนนพระราม 1 กับจุฬาฯ ซอย 6 โดย ศูนย์รวมร้านค้าปลีกด้านกีฬา และแอคทีฟไลฟ์สไตล์ ที่มีทั้งธุรกิจร้านค้าด้านกีฬา, ฟิตเนสเซ็นเตอร์ และลานจัดกิจกรรมด้านกีฬา

  • I’m Park Community Mall ขนาด 4 ไร่ ตั้งอยู่ติดกับอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ บนถนนจุฬา ซอย 22ภายในมีร้านอาหาร ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ร้านความงาม สถาบันกวดวิชา และ Co-Working Space 

  • U-Center หอพักนิสิต-นักศึกษา และร้านค้า ตั้งอยู่ถนนจุฬาฯ ซอย 42 บนพื้นที่ 8 ไร่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related