svasdssvasds

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้

เปิดเส้นทาง "อุเทนถวาย" เดินขบวนใหญ่ยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้ อาจมีผู้เข้าร่วมถึง 3,000 คน ตั้งแต่เวลา เวลา 9.00 - 20.00 น.

SHORT CUT

  • อุเทนถวาย นัดรวมตัวเดินขบวนไปทวงความชอบธรรม คัดค้านการย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นที่
  • สำนักงานเขตดุสิตประกาศ แจ้งเลี่ยงเส้นทาง ตั้งแต่ 9.00 - 20.00 น ของวันที่ 27 ก.พ. 

เปิดเส้นทาง "อุเทนถวาย" เดินขบวนใหญ่ยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้ อาจมีผู้เข้าร่วมถึง 3,000 คน ตั้งแต่เวลา เวลา 9.00 - 20.00 น.

จากกรณีศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย นัดรวมตัวที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย เวลา 09.00 น. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ โดยระบุว่า “จะเดินขบวนไปทวงความชอบธรรม” คัดค้านการย้ายอุเทนถวายออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด โดยมีการแจ้งกำหนดการเชิญสื่อร่วมทำข่าว และแผนกำหนดการกิจกรรม ดังนี้

  • เวลา 08.00-09.00 น. ที่อุเทนถวาย
  • เวลา 12.00-13.30 น. ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • เวลา 15.00-16.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล
  • เวลา 14.30-17.30 น. ที่รัฐสภา

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้  

ขณะที่เพจ สำนักงานเขตดุสิต ประกาศ แจ้งเลี่ยงเส้นทางวันที่ (27 ก.พ. 67) นี้ว่า มวลชนอุเทนถวายนัดยื่นหนังสือ ขอแสดงเจตจำนงคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่ โดยการเดินขบวน ซึ่งอาจมีผู้เข้าร่วมประมาณ 3,000 คน ตั้งแต่ มทร.ตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย ถึง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อีกทั้งจะมีการยื่นหนังสือต่อรัฐสภา และขออนุญาตใช้พื้นที่ ในช่วงเวลา 9.00 - 20.00 น. และจัดกิจกรรมชุมนุมเชิงสัญลักษณ์ บริเวณอาคารรัฐสภา จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางบริเวณดังกล่าว

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้

ทั้งนี้ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ 27 ก.พ. 2567 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน รวมตัวกันแล้ว เดินเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัย ไปยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงในการคัดค้ายการย้ายที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเขตพื้นที่อุเทนถวาย และเสนอข้อเรียกร้อง เพื่อเป็นแนวทางในการยุติข้อพิพาท

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้

โดยจุดแรก เดินขบวนไปยัง สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้เส้นทาง เดินไปตามถนนพญาไท ไปยูเทินบริเวณแยกสามย่าน โดยการจราจร2ช่องการจราจร เพื่อไม่ให้กระทบกับการสัญจรของประชาชนและมีการถือป้ายข้อความการคัดค้านย้ายอุเทนถวาย รวมถึงมีรถปราศรัยและรถขนาดใหญ่ ในการร่วมปราศรัยถึง ที่มาที่ไปของการก่อตั้งอุเทนถวาย และเหตุผลของการคัดค้านการย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นซึ่งเน้นย้ำ ว่าที่ดินของอุเทนถวายเป็นที่ดินพระราชทาน ไม่ได้ใช้เพื่อการพัฒนาในเชิงพาณชิย์ 

จากนั้นเมื่อไปถึงที่หน้า ประตูสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ก็ได้ตั้งโต๊ะอ่านแถลงการณ์ และยื่นหนังสือ ที่ด้านหน้าผระตู เนื่องจากประตูปิด พร้อมปักหลักปราศรัยโดยใช้ช่องทางการจราจร 2 เลนซ้ายสุด

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้

โดย นางสาวอชิรญา ธุวะนุติ ตัวแทนนักศึกษาปัจจุบันมหาวิทยาลัยอุเทนถวาย  ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่อุเทนถวาย และเสนอข้อเรียกร้อง เพื่อเป็นแนวทางการยุติข้อพิพาท พร้อมอ่านแถลงการณ์
มีเนื้อหาในข้อเรียกร้องของแถลงการณ์ ระบุว่า ช่วงหนึ่ง ว่า การก่อสร้างอาคารสำหรับประชาชน การอุทิศดีงกล่าวมีผลประโยชน์ตามกฎหมายที่ดินพิพาท พร้อมอาคารโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ได้ดำเนอนการตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอุทิศไว้ การเปลี่ยนแปลงนำที่ดินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ย่อมมิอาจกระทำได้

มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดินจากสาธารณสมบัติของแผ่นดเน ให้ตกเป็นของนิติบุคคลอื่นให้นำไปแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อันเป็นการนอกวัตถุประสงค์โดนไม่ชอบธรรม ในการนี้ สโมสรนักศึกษาฯ จึงได้สรุปรายละเอียดจ้อเรียกร้อง ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 ข้อ 

  1. คัดค้านการย้ายเขตพื้นที่การศึกษา 
  2. ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอุทิศที่ดินแห่งนี้เพื่อการศึกษา 
  3. ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยึดหลักบทบัญญัติที่ว่าไว้ใน พรบ.จุฬาลงกรณ์ ที่ให้จุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นสถานศึกษาและค้นคว้าในศาสตร์ต่างๆ และเพื่อส่งเสริมวิชาชีพขั้นสูง ซึ่งอุเทนถวายก็ได้จัดการเรียนการสอนที่เป็นวิชาชีพเฉพาะทางขั้นสูงด้านการก่อสร้าง
  4. ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยึดหลักเชิดชูการศึกษา เป็นที่ตั้ง ให้เหมาะกับปณิธานของจุฬาลงกรณ์ฯ
  5. ขอให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หยุดและปรับเปลี่ยน การพัฒนาพื้นที่ โดยมุ่งเน้นเป็นการรักษาและพัฒนาการอยู่ร่วมกันของพื้นที้เพื่อการศึกษา ที่ควรเป็นสาธารณสมบัติของชาติ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ไม่ควรอ้างแค่เพียงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
  6. ร้องขอความเป็นธรรมให้พระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย  เหตุที่ดินพิพาทที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งได้อุทิศโดยพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเนื้อที่เป็นส่วนน้อยของที่ดินของนิติบุคคลจุฬาฯแต่มีเหตุขัดข้องให้หยิบยกแปลความพระราชประสงค์ผิดไป ทั้งนี้เพื่อบรรเทาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอให้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำข้อยุติปัญหาการนำที่ดินพิพาท ด้วยการจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาเท่านั้น และออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงตามกฎหมาย
  7. ขอให้ทำจารึก พันธะสัญญา ข้อตกลงที่จะรักษาทำนุบำรุงเพื่อการศึกษาด้านวิชาชีพขั้นสูงในชื่อทางด้านประวัติศาสตร์ ‘อุเทนถวาย’ เพื่อประกาศให้เป็นพื้นที่สาธารณสมบัติของชาติ โดนมิอาจเปลี่ยนแปลง ยุบ ย้าย และมุ่งเรื่องนิติธรรมเป็นที่ตั้ง
  8. ขอให้ออกหนังสือตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการและปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งสองฝ่ายสัดส่วนเท่ากัน และมีคนกลางจากบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
  9. กรณีสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ให้ข้อมูลแก่หน่วยงานรัฐว่าอุเทนถวานได้เซ็นต์ข้อตกลงยินยอมคืนพื้นที่ และชำระค่าเช่าที่ดิน โดยทำข้อตกลง 11มี.ค.2547 จนเป็นเหตุให้เกิดข้อพิพาทนำไปสู่การยื่นฟ้องขับไล่นั้น 

ข้อเท็จจริงคือ สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ ไม่เคยชี้แจงเอกสารหนังสือยกเลิกบันทึกข้อตกลงที่ลงวันที่ 10มิ.ย.2548 ไปกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย

เปิดเส้นทางเลี่ยงอุเทนถวายเดินขบวนยื่นหนังสือค้านย้ายสถาบัน 27 ก.พ. นี้

ทั้งนี้ มีตัวแทนสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้รับหนังสือ และบอกกับทางอุเทนถวายว่า วันนี้ ได้รับทราบเจตจำนงของพี่น้องอุเทนถวาย และจะนำหนังสือส่งมอบให้ผู้บริหารพิจารณาต่อไป

สำหรับก่อนหน้าที่จะมีการเคลื่อนขบวน นายธนัช วชิระบงกช ตัวแทนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอุเทนถวาย ให้สัมภาษณ์ก่อนเคลื่อนขบวน ว่า วันนี้จะไปยื่นหนังสือ 4 ที่ คือ

  1. สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬา
  2. กระทรวง อว.
  3. ทำเนียบรัฐบาล
  4. รัฐสภา 

เพื่อยืนยันในการคัดค้านการย้ายอุเทนถวาย และขอให้อุเทนถวาย มีเอกภาพในการบริหารการศึกษา ขอให้หยุดการย้ายบุคลากรของอุเทนถวาย /ขอให้มีคนกลางในการเจรจาโดยไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย 

แม้ขณะนี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่หารือแล้วโดยมีรัฐมนตรีอว.เป็นประธานแต่หลังจากประชุมไป 2 ครั้ง ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน และยังไม่มีการประชุมเพิ่มเติมอีก มีเพียงการแถลงออกมาว่า จะให้อุเทนถวายย้ายไปที่แห่งใหม่ ซึ่งนักศึกษาปัจจุบันยังไม่ทราบว่าย้ายไปที่ไหน เพราะเป็นการแถลงจากฝ่ายผู้ใหญ่เท่านั้น 

ส่วน กรณีที่มีการแถลงข่าวเกิดขึ้นหลัง นักศึกษาอุเทนถวานมีคดีที่ทำร้ายคูาอริต่างสถาบันนั้น ก็มองว่า เป็นเพียงการชิงพื้นที่ข่าวเท่านั้น

นายธวัช กล่าวต่อว่า ในการประชุมครั้งแรกไม่มีตัวแทนนักศึกษาหรือแม้แต่สมาคมศิษย์เก่าของอุเทนถวายเข้าไปร่วมทางตัวแทนจึงมีการยื่นหนังสือคัดค้านไปทาง อว. ต่อมาจึงมีการประชุมหารือในครั้งที่ 2 
และเชิญอุเทนถวายเข้าร่วมสะท้อนปัญหาข้อเรียกร้อง โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน ก็ยังไม่มีความคืบหน้า 
และเมื่อไหร่ที่อุเทนถวายเงียบ ทางฝั่งที่จะดำเนินการย้ายอุเทนถวายก็จะดำเนินการไปเรื่อยๆ 

เมื่อถามว่าหาก มีการยืนยันให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่จะมีการทำอย่างไรต่อ นายธวัชกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือคำสั่งใดๆ ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะให้งดรับนักศึกษาหรือการย้ายไปที่ใดเป็นการออกข่าวเพียงเท่านั้น

ทั้งนี้ในหนังสือมีการกำหนดระยะเวลาแล้วว่าหน่วยงานที่ไปยื่นหนังสือจะต้องทำอย่างไร หากยังไม่ดำเนอนการตามข้อเรียกร้องและยังไม่มีความชัดเจน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางกลุ่มก็คาดว่าจะมีการยกระดับการเคลื่อนไหว โดย ใช้มาตรการเข้าไปกดดันตามกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการดูแลความสงบเรียบร้อย มีตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล6  มาดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในการทำกิจกรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง