svasdssvasds

ย้อนไทม์ไลน์ ข้อพิพาทที่ดิน "อุเทนถวาย" ก่อนโดนสั่งย้ายออกจากพื้นที่จุฬาฯ

ย้อนไทม์ไลน์ ข้อพิพาทที่ดิน "อุเทนถวาย" ก่อนโดนสั่งย้ายออกจากพื้นที่จุฬาฯ

แผนการย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นที่เริ่มมีแนวโน้มจะสำเร็จ หลังรมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีคำสั่งไปยังอธิการบดีมหาวิทยาลัยให้งดรับนักศึกษาปี 1 ในปีการศึกษา 2567 เพื่อลดปริมาณนักศึกษา

SHORT CUT

  • ปี 2478 อุเทนถวายทำสัญญาเช่าพื้นที่กับจุฬาฯ เป็นเวลา 68 ปี หลังครบกำหนดจุฬาฯ ไม่ต่อสัญญา มีการทำบันทึกข้อตกลงขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืนภายในเดือน ก.ย. 2548
  • ปี 2548 มีการทำบันทึกข้อตกลงอีกให้ย้ายอุเทนถวายไปก่อสร้างใน จ.สมุทรปราการ แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงได้
  • ธันวาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากพื้นที่ โดยต้องดำเนินการภายใน 60 วัน

แผนการย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นที่เริ่มมีแนวโน้มจะสำเร็จ หลังรมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีคำสั่งไปยังอธิการบดีมหาวิทยาลัยให้งดรับนักศึกษาปี 1 ในปีการศึกษา 2567 เพื่อลดปริมาณนักศึกษา

ถือเป็นประเด็นร้อนที่สังคมให้ความสนใจ สำหรับประเด็น “การย้ายอุเทนถวาย” ออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังวันที่ 14 ธันวาคม 2556 ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้ต้องดำเนินการย้ายออก และต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังมีคำสั่ง จนนำไปสู่กระแสการย้าย-ไม่ย้าย และเหตุการณ์ล่วงเลยมาจนถึงปี พ.ศ.2567 

ความเป็นมาของข้อพิพาทที่ดินระหว่างจุฬาฯ กับอุเทนถวายเกิดขึ้นหลายสิบปีแล้ว ย้อนกลับไปเมื่อปี 2478 อุเทนถวายทำสัญญาเช่าพื้นที่กับจุฬาฯ เป็นเวลา 68 ปี หลังครบกำหนดสัญญา จุฬาฯ ไม่ต่อสัญญา มีการทำบันทึกข้อตกลงให้อุเทนถวายขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืนภายในเดือน ก.ย.2548

ต่อมาในปี 2548 มีการทำบันทึกข้อตกลงอีกให้ย้ายอุเทนถวายไปก่อสร้างใน จ.สมุทรปราการ แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงได้ นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีทางแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.) ซึ่งมีมติให้อุเทนถวายขนย้ายและส่งมอบพื้นที่ พร้อมชำระค่าเสียหายให้แก่จุฬาฯกว่า 1.1 ล้านบาทต่อปี

แต่อุเทนถวายก็ดื้อแพ่งมาตลอด ก่อนยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเมื่อปี 2556 แต่ศาลปกครองกลางยกฟ้อง โดยระบุว่าจุฬาฯ คือผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมติของ กยพ.ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งอุเทนถวายได้ยื่นอุทธรณ์ กระทั่งวันที่ 10 ธ.ค.2565 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง

 

ต่อมาปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดำเนินคดี (กยพ.) ซึ่งทางสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้ทูลเกล้าฯถวายฎีกา 2 ครั้ง

ในปี 2552 กยพ.มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สิน และคืนพื้นที่ให้จุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีล้านนบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่สำเร็จ ทางด้านผลการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. และทางจุฬาฯ ไม่ได้ทวงเงินค่าเสียหายจากอุเทนถวายแต่อย่างใด

ในแง่ข้อกฎหมาย ปัญหาพิพาทได้ข้อสรุปแล้ว เมื่อศาลสูงมีคำพิพากษา ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้

ย้อนไทม์ไลน์ ข้อพิพาทที่ดิน "อุเทนถวาย"

เมื่อมองในแง่ปัญหาสังคม ต้องยอมรับว่านักศึกษาอุเทนถวายยกพวกตีกับสถาบันคู่อริ จนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว ทั้งๆ ที่นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเด็กดี ตั้งใจเล่าเรียนให้จบเพื่อไปทำงานหาเลี้ยงชีพ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ถูกชักจูงปลุกฝังความเชื่อแบบผิดๆ ไปก่อเรื่องก่อราวจนเป็นที่เอือมระอาแก่สังคมและผู้คนบริเวณนั้น

 

ย้อนไทม์ไลน์ย้าย "อุเทนถวาย"

วันที่ 16 ก.พ. 2556 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องการขอคืนพื้นที่ที่ให้อุเทนถวายเช่า เพื่อขยายเขตพื้นที่การศึกษาตามโครงการพัฒนา พร้อมระบุว่าอุเทนถวายได้ทำสัญญาเช่ากับจุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2478 - 2546 และจุฬาฯ​ก็ได้เจรจาขอคืนที่ดินมาตั้งแต่ปี 2518 แต่ไม่เป็นผล

ขณะที่อุเทนถวายก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้งเพื่อขอไม่ให้มีการย้ายออกจากพื้นที่เดิม อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากพื้นที่ โดยต้องดำเนินการภายใน 60 วัน หลังจากมีคำสั่ง ทว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของอุเทนถวาย กว่า 500 คน ก็ได้รวมตัวกันคัดค้าน ไม่ต้องการย้ายออกจากพื้นที่ จึงมีการหารือกันอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุป

ย้อนไทม์ไลน์ ข้อพิพาทที่ดิน "อุเทนถวาย"

วันที่ 25 ตุลาคม 2566 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อดำเนินการตามคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่ง ของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทางออกร่วมกันภายหลังศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) วิทยาเขตอุเทนถวาย ย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย

โดยข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ คือมีตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.) และคำสั่งศาล

รวมถึงจัดทำแผนในการขยับขยายและจัดหาพื้นที่ใหม่ โดยจะเชิญศิษย์เก่าอุเทนถวายเข้าร่วมเป็นคณะทำงานชุดนี้ด้วย ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวจะมีการจัดประชุมในสัปดาห์หน้าด้วย

ทั้งนี้ การย้ายวิทยาเขตอุเทนถวาย รัฐมนตรีว่าการ อว. ยืนยัน ว่า จะดูแลให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบต่อบุคลากรและนักศึกษา รวมถึงจะดูแลในมิติทางสังคม โดยเฉพาะอัตลักษณ์ของอุเทนถวายที่มีมายาวนานกว่า 93 ปี

ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน "อุเทนถวาย" วอน อว.ร่วมหาทางออกปมย้ายสถาบันฯ

วันที่ 30 ต.ค. 2566 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งเป็นศิษย์ปัจจุบัน ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก จำนวนกว่า 100 คน รวมตัวกับริเวณทางเท้าหน้าสถาบันฯ เพื่อคัดค้านการย้ายสถาบันออกจากพื้นที่ พร้อมอ่านแถลงการณ์ขอความเห็นใจไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) 

ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน "อุเทนถวาย" วอน อว.ร่วมหาทางออกปมย้ายสถาบัน

หากผลการประชุม มีผลให้นักศึกษาอุเทนถวายต้องออกจากพื้นที่เชื่อว่า ทางจุฬาลงกรณ์จะนำพื้นที่ดังกล่าวไปแสวงหาผลประโยชน์อย่างแน่นอน จึงอยากเรียกร้องขอความเป็นธรรมและต้องการที่จะให้นักศึกษาได้อาศัยเรียนอย่างปกติเหมือนที่ผ่านมา เท่านั้น

อว. ออกโรงย้ำ “อุเทนถวาย” ต้องย้ายเท่านั้น

วันที่ 30 ม.ค. 2567 ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ระบุว่า อุเทนถวายต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ที่สั่งให้ย้ายนักเรียนไปเรียนที่วิทยาเขตอื่นเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ 

ยืนยันว่าศิษย์เก่าให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และต้องทำการย้ายอุเทนถวายให้เร็วที่สุด พร้อมมีสั่งไปยังอธิการบดีฯ​อุเทนถวาย ระว่าให้งดรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2567 เพื่อลดปริมาณนักศึกษา โดยต้องดำเนินการให้เสร็จภายในรัฐบาลนี้

เปิด 4 พื้นที่รองรับย้าย "อุเทนถวาย" ออกจากจุฬาฯ

การจัดหาสถานที่เรียนให้นักศึกษาอุเทนถวายที่ต้องย้ายนั้น ในเบื้องต้นได้กำหนดไว้ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ 

  • วิทยาเขตบางพระ จ.ชลบุรี 
  • วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ 
  • พื้นที่บริจาคที่มีนบุรี กรุงเทพฯ
  • พื้นที่ที่ราชพัสดุใน จ.สมุทรปราการ 

ซึ่งทั้ง 4 สถานที่สามารถเดินทางได้สะดวก โดยกระทรวง อว. ได้ประสานกับอุเทนถวายเพื่อจัดทำรายละเอียดในการจัดทำคำของบประมาณ และประสานกับสำนักงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนในด้านต่างๆ 

โดยอุเทนถวายได้มีการจัดทำแผนการเคลื่อนย้ายบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่อุเทนถวาย ซึ่งมีจำนวน 125 คน โดยจัดหาพื้นที่การปฏิบัติงานบางส่วนในพื้นที่จักรพงษภูวนารถ และเตรียมการเคลื่อนย้ายครุภัณฑ์เพื่อใช้ในการทำงาน และกำหนดเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 12 มี.ค.2567

นอกจากนี้ ยังจัดทำแผนเคลื่อนย้ายพื้นที่เขตพื้นที่อุเทนถวาย โดยจัดทำโครงการก่อสร้างขยายเขตพื้นที่การศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ บนที่ดินจำนวน 24 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา ที่มีนบุรี กรุงเทพฯ เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายนักศึกษา 

ทั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยฯ แล้วพร้อมกับได้เสนอของบประมาณในปี 2568 จำนวนประมาณ 400 ล้านบาท ต่อสำนักงบประมาณแล้ว

"อุเทนถวาย" นัดรวมพลใหญ่ คัดค้านย้ายสถาบันออกจากพื้นที่ 

กลุ่มตัวแทนศิษย์เก่าอุเทนถวาย นัดรวมพลใหญ่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้าน การย้ายออกจากพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

เพจเฟซบุ๊ก "เพื่อนพ้อง น้องพี่ อุเทนถวาย" ได้โพสต์กำหนดการวันนัดรวมพลใหญ่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ระบุว่า จะมีตัวแทน ประกอบด้วย นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า สมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวาย สมาคมผู้ปกครองและครูอุเทนถวาย และอื่นๆ จำนวนประมาณ 3,000 คน ยื่นหนังสือ ขอแสดงเจตจำนงคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่อุเทนถวาย

ตามกำหนดการจะรวมตัวกันที่ มทร.ตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย ในเวลา 07.00 น. จากนั้นเวลา 09.00 น. ทำพิธีบวงสรวงองค์พระวิษณุกรรม

นัดรวมพลใหญ่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้าน การย้ายออกจากพื้นที่

เวลา 09.30 น. เดินเท้าจากอุเทนถวาย มุ่งหน้า สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะตัวแทนฯ มีการยื่นหนังสือ พร้อมทั้งอภิปราย ปราศรัย และแถลงข่าวกับสื่อมวลชน

เวลา 11.30 น. เดินเท้าจากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งหน้า กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากนั้นคณะตัวแทนฯ เข้าพบนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ เพื่อยื่นหนังสือ หากนางสาวศุภมาส ไม่มารับหนังสือด้วยตนเอง ทางกลุ่มผู้ชุมนุม จะทำการปักหลักนอนค้างคืน เพื่อเรียกร้องจนกว่าจะได้มอบหนังสือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related