SHORT CUT
คุยกับ “ดร.อมรเทพ จาวะลา” ภาค2 จับตา 2 เม.ย. 2568 นี้ สหรัฐลุยขึ้นภาษี “ยานยนต์-อิเล็กฯ” ไทย หลังเกินดุลการค้า 4.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แนะไทยเตรียมรับมือ
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2025 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ แห่งสหรัฐฯ ได้ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร 3 ฉบับ ที่กำหนดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากแคนาดา เม็กซิโก และจีน ซึ่งกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2025 โดยได้กำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโก และแคนาดาอยู่ที่ 25% (แม้ว่าภาคพลังงานของแคนาดาจะกำหนดภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าที่ 10%)
และภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 10% ทั้งนี้เขาได้มการประกาศไว้ว่าจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ซึ่งเป็นชาติเกินดุลสหรัฐฯ มากที่สุดอันดับ 1 ของโลก เริ่มต้นที่ 10% และอาจสูงถึง 25% ในอนาคต ทำให้จีนชิงตัดหน้าขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ 10% ก่อน ด้วยเหตุนี้อาจเป็นต้นกำเนิดสงครามการค้า 2.0 ได้เริ่มขึ้นแล้ว
นอกจากนี้ทรัมป์ยังได้ไฟเขียวเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียมในอัตรา 25% จากทุกประเทศ พร้อมกับประกาศว่าจะใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับประเทศที่เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ รวมถึงประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และยา ด้วยเช่นกัน ขณะที่นักวิเคราะห์จากหลายสำนักระบุว่า เวียดนามอาจตกเป็นเป้าหมายของมาตรการภาษีชุดใหม่ เนื่องจากเวียดนามเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มหาศาล และอาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการขึ้นภาษีนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ส่งออกชิปรายใหญ่ไปยังสหรัฐฯ
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าขนาดเวียดนามยังไม่มีโอกาสที่จะรอด วันนี้ #SPRiNG จะพามาพูดคุยกับ “ดร.อมรเทพ จาวะลา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ไทยจะมีโอกาสไปเป็นในทิศใดที่สหรัฐจะเล่นงานเราหรือไม่? เขากล่าวว่า ให้จับตาดูทรัมป์ว่าวันที่ 2 เมษายน 2568 ที่จะถึงนี้ให้ดีว่าจะมีมาตรการกีดกันทางการค้าขึ้นภาษีกับไทย ส่วนตัวเชื่อว่ามาแน่ ๆ และจะเกิดอะไรขึ้นกับไทย จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร ประเด็นนี้หลายฝ่ายต้องช่วยกันคิด
นอกจากนี้ยังต้องจับตาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน รวมไปจนถึงเม็กซิโก รวมด้วย แคนาดา และยังจะลุกลามมายังยุโรป เอเชียตามมาด้วย ไทยอาจยกระทบสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไทยส่งไปยังสหรัฐค่อนข้างมาก และเกิดกุลการค้า
ทั้งนี้ไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐเป็นอันดับที่ 11 ซึ่งจากนี้ไปต้องจับตามดูว่าภาคการส่งออก ภาคการผลิตของไทย จะถูกทรัมป์เล่นงานอย่างไร ส่วนสินค้าจากจีนที่จะส่งออกไปยังสหรัฐยากขึ้น และมีโอกาสจะทะลักเข้าไทยเช่นกัน ทั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และ SME ไทยด้วย ให้จับตาดูว่าไทยหากได้รับผลกระทบเหล่านั้น และจะรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้อย่างไร
“ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อม ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ กำลังซื้อในระดับล่างก็ยังมีความจำเป็นอยู่ การลดดอกเบี้ยนโยบายก็ยังมีความจำเป็นแต่อาจยังต้องรอช่วงเดือนมิ.ย. 68 ก่อนเนื่องจากสงครามการค้าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ภาคการผลิตต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้อยู่รอดได้อย่างไร โดยเฉพาะ SME จะดูแลอย่างไร เพราะอาจกระทบเศรษฐกิจไทยในระยะยาวได้”
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค - พ.ย. 2567 ประเทศไทยได้เลื่อนอันดับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 10 ของประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุด โดยมีมูลค่าเกินดุล 4.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่ 12 ส่วนจีนยังคงครองอันดับ 1 ด้วยมูลค่าเกินดุลการค้า 2.704 แสนล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยเม็กซิโกที่ 1.572 แสนล้านดอลลาร์ และเวียดนามที่ 1.131 แสนล้านดอลลาร์ ตามลำดับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ทรัมป์" ลงนามคำสั่ง ยุบกระทรวงศึกษาฯ สหรัฐ ตามที่หาเสียงไว้
'ทรัมป์' ขึ้นภาษีจีน-เม็กซิโก-แคนาดา สั่งระงับความช่วยเหลือทางทหารยูเครน