svasdssvasds

เจ๋ง ! รถแทรกเตอร์ EV ไร้คนขับ เกษตรกรนั่งเฉย ๆ บังคับทางไกลได้ ราคา 4.2 แสน

เจ๋ง ! รถแทรกเตอร์ EV ไร้คนขับ เกษตรกรนั่งเฉย ๆ บังคับทางไกลได้ ราคา 4.2 แสน

iMog รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอเนกประสงค์ พัฒนาขึ้นโดย Farmrobo Technologies บริษัทเทคฯ อินเดีย ไร้คนขับ ขนาดกระทัดรัด ทำสวนก็ได้ ทำฟาร์มก็สะดวก แล้วแต่จะประยุกต์ใช้ หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นเกษตรกรรมไร้แรงงานมนุษย์ ?

SHORT CUT

  • Farmrobo Technologies เปิดเผยว่า ได้พัฒนา iMog Farmrobo Technologies มาตั้งแต่ปี 2019 มีน้ำหนัก 550 ปอนด์ หรือราว 2.5 ตัน กว้าง 2 ฟุต ยาว 4 ฟุต
  • iMog ถูกติดตั้งระบบ GPS ซึ่งได้รับการรับรองจาก RTK ระบบดังกล่าวจะรวมสัญญาณ GPS เข้ากับข้อมูลการแก้ไขแบบเรียบไทม์จากสถานีฐาน
  • ราคาปลีกวางขายอยู่ที่ 12,000 ยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 429,000 แสนบาท ซึ่งเทียบกับรุ่นฮิตที่วางขายอยู่ในไทยตอนนี้ นับว่าถูกกว่ามาก (รอนำเข้าก่อนสิ...)

iMog รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอเนกประสงค์ พัฒนาขึ้นโดย Farmrobo Technologies บริษัทเทคฯ อินเดีย ไร้คนขับ ขนาดกระทัดรัด ทำสวนก็ได้ ทำฟาร์มก็สะดวก แล้วแต่จะประยุกต์ใช้ หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นเกษตรกรรมไร้แรงงานมนุษย์ ?

บริษัท Farmrobo Technologies เปิดเผยว่า ได้พัฒนา iMog มาตั้งแต่ปี 2019 มีน้ำหนัก 550 ปอนด์ หรือราว 2.5 ตัน กว้าง 2 ฟุต ยาว 4 ฟุต ไม่ใช่รถแทรกเตอร์แบบที่เราคุ้นชิก iMog มีขนาดเล็กพอที่จะวิ่งไปตามแปลง โดยที่ไม่สร้างความเสียหายแก่พืชผลการเกษตร

ว่ากันในแง่สมรรถภาพ iMog มีมอเตอร์ไฟฟ้า 8 แรงม้า สามารถำงานได้นานถึง 5 ชั่วโมง โดยใช้แบตเตอรี่ LFP 90 AH (ราว 4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง)

แทรกเตอร์ EV เครดิตภาพ Farmrobo Technologies

กระนี้ iMog ถูกติดตั้งระบบ GPS ซึ่งได้รับการรับรองจาก RTK หรือ Real-Time Kinematic Global Positioning System กล่าวคือ ระบบดังกล่าวจะรวมสัญญาณ GPS เข้ากับข้อมูลการแก้ไขแบบเรียบไทม์จากสถานีฐาน ซึ่งบริษัทคุยว่า สามารถระบุตำแหน่งได้ละเอียดระดับเซนติเมตร

แทรกเตอร์ EV เครดิตภาพ Farmrobo Technologies

แทรกเตอร์ EV เครดิตภาพ Farmrobo Technologies

นอกจากนี้ iMog ยังมีระบบส่งกำลัง หรือ Power Take Off (PTO) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ช่วยให้หุ่นยนต์สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เสริมทั่วไปได้หลากหลายประเภท เช่น เครื่องไถพรวน เครื่องพ่นยาไฮเทค เครื่องคลุมดิน ฯลฯ

สิ่งน่าสนใจตามมาก็คือ เกษตรกรสามารถตั้งโปรแกรมให้รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าทำงานบนเส้นทางที่กำหนดไว้ (ในพื้นที่สวย หรือฟาร์มของตนเอง) หรือจะควบคุมด้วยรีโมทจากระยะไกลก็ได้เหมือนกัน ทำให้คิดต่อไปว่า หรือจะถึงยุคที่แรงงานเกษตรกรรมไม่ต้องลงแรงเฉกเช่นอดีตแล้ว

ตอนนี้มีการทำรถแทรกเตอร์ไฟฟ้ามาใช้จริงแล้วในหลายประเทศ เมื่อพลิกข้างกล่องไปดูราคา พบว่าราคาปลีกวางขายอยู่ที่ 12,000 ยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 429,000 แสนบาท ซึ่งเทียบกับรุ่นฮิตที่วางขายอยู่ในไทยตอนนี้ นับว่าถูกกว่ามาก (รอนำเข้าก่อนสิ...)

ทั้งนี้ ฟาร์ม หรือสวนหลาย ๆ แห่ง ได้มีการหยิบหุ่นยนต์ แทรกเตอร์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ เข้ามาประยุกต์กับการทำสวนกันบ้างแล้ว ผสมรวมกับการใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เพื่อตอบโจทย์พลังงานสะอาด และคาดว่าจะให้ประโยชน์ในระยะยาวได้ กระนี้ ฟาร์มยั่งยืนไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปอีกแล้ว

 

ที่มา: Electrek

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related