svasdssvasds

พาชม “ฟาร์มโคนมรักษ์โลก” ต้นแบบความยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม

พาชม “ฟาร์มโคนมรักษ์โลก” ต้นแบบความยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม

พาดูโมเดลความยั่งยืนของการทำฟาร์มโคนมรักษ์โลก ตามหลัก “การเกษตรเชิงฟื้นฟู” ปกป้องสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบโลกเดือด ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น จากปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

SHORT CUT

  • รัฐบาลเดนมาร์กตั้งเป้าว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์  และเตรียมเก็บภาษีจากวัวเรอ ตัวการสำคัญทำโลกร้อน
  • ไม่เพียงแค่เดนมาร์กที่พูดถึงในเรื่องนี้ ยังมีนิวซีแลนด์ก็เคยออกกฎหมายในลักษณะคล้ายๆกัน โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2025 แต่กฎหมายดังกล่าวถูกถอดออกแล้ว
  • วันนี้พามาดู “ฟาร์มโคนมรักษ์โลก” ต้นแบบความยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม ของไทย

พาดูโมเดลความยั่งยืนของการทำฟาร์มโคนมรักษ์โลก ตามหลัก “การเกษตรเชิงฟื้นฟู” ปกป้องสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบโลกเดือด ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น จากปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่ารัฐบาลเดนมาร์กตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์ จากระดับในปี 1990 ภายในปี 2030 และเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์จะต้องเสียภาษี 300 โครเนอร์ต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1 ตันในปี 2030 และในปี 2035 อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็น 750 โครเนอร์ โดยสาเหตุที่มีการพุ่งเป้ามาที่การเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากกระบวนการเลี้ยงสัตว์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก แต่ผู้คนมักจะให้ความสนใจกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า

ทั้งนี้ตามปกติแล้ววัวในประเทศเดนมาร์กจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 6 ตันต่อปี โดยเดนมาร์กถือเป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์จากนมวัวและเนื้อหมูรายใหญ่ของโลก นอกจากนี้ผลสำรวจชี้ว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จะมาจากกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ ผ่านการหมัก และท้ายที่สุดจะปล่อยออกมาเป็นการเรอทางปากหรือผายลม โดยวัวเป็นสัตว์ที่ปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุด

ไม่เพียงแค่เดนมาร์กที่พูดถึงในเรื่องนี้ ยังมีนิวซีแลนด์ก็เคยออกกฎหมายในลักษณะคล้ายๆกัน โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2025 แต่กฎหมายดังกล่าวถูกถอดออกแล้ว หลังจากได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากเกษตรกร และมีการเปลี่ยนรัฐบาล

จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าวัวเป็นสัตว์ที่ปล่อยก๊าซมีเทนมาก สำหรับประเทศไทยแล้วก็มีการเลี้ยงวัวนม หรือโคนมมากพอสมควร วันนี้ #SPRiNG จะพาไปดูโมเดลความยั่งยืนของการทำฟาร์มโคนม ที่เนสท์เล่ โชว์โมเดลความยั่งยืนของการทำฟาร์มโคนม ด้วยการดำเนินงานตามหลัก “การเกษตรเชิงฟื้นฟู” ปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจากสภาวะโลกเดือด ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้นจากปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้น พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคด้วยการนำวัตถุดิบคุณภาพดี จากแหล่งผลิตที่ยั่งยืน มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่อร่อย มีคุณค่าโภชนาการเพื่อผู้บริโภคชาวไทย

พาชม “ฟาร์มโคนมรักษ์โลก” ต้นแบบความยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีผลผลิตน้ำนมดิบประมาณ 2,800-3,000 ตันต่อวัน ในขณะที่ตลาดผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มโดยรวมปีนี้เติบโตสูงกว่าปีก่อนถึง 7% แต่แนวโน้มปริมาณการผลิตน้ำนมดิบกลับลดลง เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้น ภาวะโลกเดือด และจำนวนเกษตรกรโคนมที่ลดลง อีกทั้งอุตสาหกรรมโคนมก็ยังเป็นแหล่งของการปล่อยก๊าซมีเทน หากไม่มีการจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบครบวงจร ในฐานะบริษัทอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำระดับโลก

เนสท์เล่เล็งเห็นถึงปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น จึงร่วมมือกับเกษตรกรในการส่งเสริมการทำฟาร์มโคนมตามแนวทางความยั่งยืน ด้วยการเกษตรเชิงฟื้นฟู หรือ Regenerative Agriculture เพื่อบริหารจัดการฟาร์มโคนมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณน้ำนมดิบ ลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

พูดคุยกับ “วสลิลลา สีหพันธุ์” ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า ให้ความสำคัญกับการจัดหาน้ำนมดิบที่ต้องมีคุณภาพดี และมีแหล่งผลิตที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Sourcing เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนสท์เล่ได้ดำเนินโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มโคนม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเหลือศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050 ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่น้ำนมดิบที่เนสท์เล่ใช้ผ่านมาตรฐานด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนครบ 100% แล้ว และเราจะยังคงเดินหน้าในการส่งต่อสิ่งดี ๆ สู่มือผู้บริโภคเพื่อให้มั่นใจว่าเรามีผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร

เปิดโมเดลฟาร์มโคนมต้นแบบ เน้นปกป้อง-ทดแทน-ฟื้นฟู

อุตสาหกรรมฟาร์มโคนมเป็นแหล่งของการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งส่งผลต่อโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ถึง 26 เท่า เนสท์เล่จึงได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทยมานานกว่า 40 ปี เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมนมในประเทศไทย โดยส่งเสริมหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู ที่มุ่งเน้นการปกป้อง ทดแทน และฟื้นฟู คือการปกป้องและฟื้นฟูดินที่เป็นแหล่งปลูกอาหารวัวให้มีความสมบูรณ์ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดขึ้น ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้มูลวัวตากแห้งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทน ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกและทรัพยากรธรรมชาติ

ด้าน นายศิรวัจน์ ปิณฑะดิษ นักวิชาการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ที่ลงพื้นที่และทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร เปิดเผยว่าเนสท์เล่เป็นเจ้าแรกที่นำการเกษตรเชิงฟื้นฟูเข้ามาปรับใช้กับฟาร์มโคนม โดยการเกษตรเชิงฟื้นฟูมุ่งเน้น 3 ด้านสำคัญในการบริหารจัดการฟาร์มโคนมอย่างครบวงจร คือ 1. การพัฒนาการจัดการอาหารและโภชนะ 2. การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

พาชม “ฟาร์มโคนมรักษ์โลก” ต้นแบบความยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้เนสท์เล่ยังส่งเสริมให้เกษตรกรจัดการมูลโคอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำไปตากแห้ง เมื่อแห้งแล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในแปลงหญ้าอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและบางส่วนสามารถแบ่งไปจำหน่ายในรูปของปุ๋ยคอก สร้างแหล่งรายได้ให้กับเกษตรกร เปลี่ยนจาก “มูลโค สู่มูลค่า” สร้างรายได้อีกกว่า 40,000 บาทต่อปี พร้อมกันนี้ เนสท์เล่ยังสนับสนุนการติดตั้งบ่อไบโอแก๊สเพื่อนำมูลโคมาหมักในบ่อและนำก๊าซมีเทนไปใช้ประโยชน์เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือน นับเป็นวิธีการจัดการของเสียในฟาร์มให้เกิดประโยชน์ และที่สำคัญยังช่วยลดคาร์บอนจากมูลสัตว์ เนื่องจากการนำมูลโคมาตากแห้งจะทำให้ไม่เกิดการหมักหมมจนเกิดเป็นก๊าซมีเทน

นำฟาร์มโคนมไทย เดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero

อย่างไรก็ตามเนสท์เล่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อผู้บริโภค และเพื่อโลกของเรา รวมไปถึงการส่งเสริมหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นการปกป้องและฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้แผนงานด้านความยั่งยืน Net Zero 2050 ทั้งนี้ เนสท์เล่ยังคงเดินหน้าพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์จากนมคุณภาพสูง มีรสชาติอร่อย ไปถึงมือผู้บริโภคไทย ภายใต้แบรนด์ยอดนิยม ได้แก่ ไมโล ตราหมี และ เนสกาแฟ ซึ่งมีการจัดหาน้ำนมดิบจากฟาร์มโคนมที่ดำเนินงานด้วยความยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

related