svasdssvasds

ไขกุญแจสำคัญนำไทย “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ไขกุญแจสำคัญนำไทย “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

พาไขกุญแจสำคัญจะนำไทย “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ฉบับ OR และ ปตท. บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานไทยที่จะพาไทยไปให้ถึงฝัน

SHORT CUT

  • OR เผยกลยุทธ์ที่สำคัญเรื่องความยั่งยืนว่า บริษัทเป็นคนที่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุด ต้องสร้างความสมดุลให้สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม
  • พร้อมกันนี้ได้กำหนดเป้าหมายองค์กรในปี 2573 หรือ OR 2030 Goals ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ โดยครอบคลุมการดำเนินงานใน 3 มิติ
  • ส่วน ปตท.วางกลยุทธ์เติบโตร่วมกับประเทศไทย จึงต้องทำธุรกิจร่วมกับการลดคาร์บอน จึงต้องร่วมมือทั้งกลุ่มปตท. และพาร์ทเนอร์ทั้งในและต่างประเทศ การปรับพอร์ตธุรกิจคาร์บอนต่ำ

พาไขกุญแจสำคัญจะนำไทย “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ฉบับ OR และ ปตท. บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานไทยที่จะพาไทยไปให้ถึงฝัน

ควันหลงเวที Sustainability Forum 2025 : Synergizing for Driving Business จัดโดย กรุงเทพธุรกิจ  ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2567 ณ สยามพารากอน ที่ผ่านมา มีการพูดถึงแผนการเดินหน้านำประเทศไทยสู่…เป้าหมาย Net Zero 2065 ให้ได้ หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่แม่ทัพใหญ่อย่าง นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เผยกลยุทธ์ที่สำคัญเรื่องความยั่งยืนว่า บริษัทเป็นคนที่ใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุด ต้องสร้างความสมดุลให้สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม 

โดยสิ่งที่ OR ทำคือยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชนที่เราเข้าไปประกอบธุรกิจทั้งคลังน้ำมัน ท่อก๊าซเป็นพันธมิตร พร้อมยกระดับรายได้ผ่านสถานีบริการน้ำมันกว่า 3,500 สาขาทั่วประเทศ รวมถึง Cafe Amazon เกือบ 1 หมื่นแห่ง ส่วนเรื่องของกรีน จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น โดยสถานีบริการน้ำมันจะเป็นเสมือน Community Mall เพื่อส่งความสุขให้ผู้บริโภคมาใช้บริการ

ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดเป้าหมายองค์กรในปี 2573 หรือ OR 2030 Goals ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ โดยครอบคลุมการดำเนินงานใน 3 มิติ ประกอบด้วย มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสังคม (People) และมิติเศรษฐกิจ (Performance) ดังนี้

  • ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ธุรกิจและชุมชนรอบพื้นที่ธุรกิจในระยะทาง 5 กม. ซึ่งมีจำนวนกว่า 17,000 ชุมชน หรือมากกว่า 12 ล้านชีวิต
  • 2. การสร้างการเติบโต สร้างอาชีพ และการกระจายความมั่งคั่งสู่คู่ค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ประกอบการขนาดย่อม พนักงาน มากกว่า 1 ล้านราย ผ่านการเติบโตโดยการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
  • 3. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ เพิ่มปริมาณการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด ให้ได้มากกว่า 1 ใน 3 จากการดำเนินธุรกิจเมื่อเทียบกับปี 2565

สำหรับ 4 กลยุทธ์ ขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนของ OR ประกอบด้วย

  • Thailand Mobility Partner โดยได้มีการติดตั้งจุดชาร์จ EV ครบ 77 จังหวัด ขยายจุดชาร์จ 2,000 จุด และมีเป้าหมายขยายไปถึง 6,000 จุด เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงพลังงานได้ทุกช่องทาง นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเป็น Net Zero ในปี 2050 (2593) 
  • 2. Café Amazon Completed Value Chain โดย OR กำลังพัฒนาต้นน้ำ ไม่เกิน 2-3 ปี ประเทศๆทยจะมีจุดนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาต้นกล้ากาแฟที่ดีที่สุด และสร้าง Café Amazon Park ที่ จ.ลำปาง คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2568 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของการผลิตกาแฟ 
  • 3. From Oil To Community การไปสู่ Community Mall และ
  • 4. Digital Transformation โดย OR จะขับเคลื่อนด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร เพื่อปรับปรุงกระบวนการในทุกรูปแบบ

ไขกุญแจสำคัญนำไทย “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ต่อมาฟัง นายรัฐกร กัมปนาทแสนยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ความยั่งยืนองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เผยว่า ปตท.มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่ทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามวิสัยทัศน์ใหม่คือ ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องสร้างการเติบโตยั่งยืน และต้องรักษาสิ่งแวดล้อม

ซึ่งการเดินหน้าสร้างการเติบโตต้องทำควบคู่กับการลดคาร์บอน พร้อมกับให้เศรษฐกิจเดินหน้าควบคู่กับสังคมและชุมชน โดยมองว่าดารสร้างความยั่งยืน ได้เข้ามาสร้างโอกาสให้ทั้งกับปตท. และประเทศช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มถือเป็นเป้าหมายสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของนโยบาย ESG ที่ต้องขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมาย จึงได้เดินหน้าธุรกิจใหม่ด้วยหลัก C3  ได้แก่

  1. ปรับ Portfolio การลงทุน ดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ เช่น ธุรกิจไฟฟ้า Climate-Reilience Business

2. ปรับปรุง Asset ที่มีอยู่ โดยการลดคาร์บอน เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ Carbon Conscious Asset

3. ร่วมมือกันผลักดันการลดคาร์บอน ยกตัวอย่างเช่นการปลูกป่า ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัด จึงต้องพึ่งพาสิ่งที่สำคัญอย่างมากกับประเทศในอนาคต ได้แก่ CCS Coalition, Co-creation & collective Efforts for All

“ปตท. เติบโตร่วมกับประเทศไทย จึงต้องทำธุรกิจร่วมกับการลดคาร์บอน จึงต้องร่วมมือทั้งกลุ่มปตท. และพาร์ทเนอร์ทั้งในและต่างประเทศ การปรับพอร์ตธุรกิจคาร์บอนต่ำ จะต้องดูว่าใครเก่งตรงไหนก็ทำตรงนั้น เช่น บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ทำด้านพลังงานสะอาด ก็อาจจะต้องศึกษาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้วย”

อย่างไรก็ตามปัจุบันปตท.อยู่ระหว่างเร่งผลักดันธุรกิจใหม่ด้านการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) ดำเนินการโดย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ในพื้นที่นำร่อง ได้แก่ แหล่งก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ โดยแหล่งก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ นับเป็นการดำเนินการแห่งแรกของประเทศไทย คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

ขณะเดียวกันยังเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการกักเก็บคาร์บอนจากกระบวนการผลิตของบริษัทในกลุ่มปตท. ในพื้นที่ใกล้ฝั่งทะเลภาคตะวันออก ปริมาณดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และยังมีการลงทุนในธุรกิจไฮโดรเจนรองรับการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มเติม และมีเป้าหมายนำไฮโดรเจนเข้ามาผสม 5% ปี 2030 ในท่อส่งก๊าซเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าตามร่างแผน PDP ฉบับใหม่ เพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related