svasdssvasds

ปตท. เดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

ปตท. เดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

ปตท. ยังคงเดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้มีการจัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 และ พิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 ภายใต้แนวคิด “คนเล็กเปลี่ยนโลก”

โลกรวนเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ และเร่งแก้ไขกันอย่างเร่งด่วน เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงชุมชนได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2050 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เดินหน้าเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน พร้อมมุ่งเน้นสู่แผนการสร้างสมดุล ESG ให้เหมาะสมกับบริบทองค์กร ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ผ่านการผลักดันธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับไฮโดรเจน และการดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Storage : CCS)  โดยทำงานแบบบูรณาการร่วมกันทั้งกลุ่ม ปตท. โดยต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน และมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อใช้จุดแข็งของแต่ละบริษัท ในกลุ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รวมไปจนถึงกิจกรรมปลูกป่า 72,000 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 68,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนโดยพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการหลวงเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาได้ และล่าสุด ปตท.ได้เดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน พร้อมทั้งได้มีการจัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 และ พิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 ภายใต้แนวคิด “คนเล็กเปลี่ยนโลก” ที่สะท้อนพลังของคนเล็กๆ กว่า 7,800 คนทั่วประเทศที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ยั่งยืนได้จากการมุ่งมั่นทุ่มเทดูแล รักษา ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันมีคุณค่า

ปตท. เดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

โดยในงานนี้มีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “คนเล็ก เปลี่ยนโลก” เริ่มจาก “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” นักทำสารคดี นักสิ่งแวดล้อม ที่มาบอกเล่าประสบการณ์การเดินทางทั่วโลก ซึ่งได้เห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย เช่น น้ำแข็งในขั้วโลกเหนืออย่างกรีนแลนด์กำลังละลายทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 6-7 เมตร ในอนาคตหากน้ำแข็งทั่วโลกละลายมากขึ้น น้ำทะเลสูงขึ้น กทม. ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำมีโอกาสได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้เห็นปัญหากองขยะภูเขาที่อินเดีย และไฟป่าที่ออสเตรเลียเป็นปัญหาซ้ำซากที่ยังแก้ไม่ได้

สำหรับประเทศไทย นั้นยังประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่มากมาย เช่น ไฟป่าที่ภาคเหนือ น้ำท่วม ที่สำคัญคนไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเฉลี่ย 3.6 ตัน/คน/ปี โดยส่วนตัวมองว่าการลดการปล่อยคาร์บอนจะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน หรือภาครัฐจำเป็นต้องปรับโมเดลเศรษฐกิจยั่งยืนเร่งด่วนเพื่อรับมือโลกร้อน เนื่องจากไทยเป็นอันดับ9 ของโลกที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะโลกร้อน รวมถึงต้องเร่งให้ พรบ.อากาศสะอาด พรบ.สิ่งแวดล้อม พรบ.โลกร้อน แจ้งเกิดได้เร็วขึ้นด้วย

ต่อมา “วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์” นักเขียนสารคดี นักวิจารณ์สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ได้แชร์ วิธีคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างคนเมืองกับคนชนบท ว่า คนเมืองปากท้องต้องอิ่มก่อนถึงสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนคนชนบทจะรักษาสิ่งแวดล้อมก่อน เพราะเมื่อสิ่งแวดล้อมดี ปากท้องจะอิ่ม พร้อมกันนี้ได้ยกตัวอย่างการจัดการความรู้จากผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียวที่น่าสนใจอย่างเช่น

ปตท. เดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

จังหวัดสุรินทร์ที่ติดอันดับน้ำแล้ง แต่ชาวบ้านแห่งตำบลเชื้อเพลิง 7,000 กว่าคน สามารถจัดการน้ำให้มีน้ำกินน้ำใช้ได้ตลอดปี เนื่องจากพวกเขาลุกขึ้นมาช่วยตัวเองรักษาป่าให้กลับคืนมา เมื่อมีป่าแหล่งน้ำก็ตามมาพวกเขายังขุดสระน้ำขนาดใหญ่ 5 แห่งเพื่อกักเก็บและกระจายน้ำ ทำให้พวกเขาสามารถปลูกข้าวได้อย่างน่าทึ่ง โดยพวกเขามีคติที่ว่าน้ำจะไหลไปหาคนยากคนจนที่ขยันเท่านั้น

นอกจากนี้ภายในงานยังมีพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 13 ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวด ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยได้รับโล่พร้อมรับเกียรติบัตรจากองค์กรร่วมจัด อันประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

โดยมีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 32 ผลงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทส่งเสริมการปลูกและขยายผล 22 รางวัล และ ประเภทส่งเสริมหัตถกรรมผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก 10 รางวัล  และพิธีมอบรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 โดยสถาบันลูกโลกสีเขียว มีผู้ได้รับรางวัล 38 ผลงาน จาก 5 ประเภทผลงาน คือ ประเภทชุมชน ประเภทบุคคล ประเภทกลุ่มเยาวชน ประเภทสิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน และประเภทงานเขียน

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า “บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ มีพันธกิจหลักในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินงานการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสถาบันลูกโลกสีเขียวมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกย่อง เชิดชู บุคคลต้นแบบด้านการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ปตท. เดินหน้าหนุนรวมพลังคนเล็ก เปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน

ทั้งนี้ ปตท. ยังคงให้ความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด การจัดงานในปีนี้เป็นโอกาสอันดีที่เครือข่ายผู้ได้รับรางวัลทั้งสองรางวัล มีโอกาสได้มาพบปะ ร่วมแสดงความยินดี แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมต่อยอด ขยายผลองค์ความรู้ สร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง สร้างผลลัพธ์ต่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สังคมไทยในวงกว้าง รวมพลังทำให้โลกใบนี้น่าอยู่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

related