svasdssvasds

หรือโลกจะเอาคืน? “แผ่นดินไหว”เขย่าทั่วโลก-โลกเดือดทั่วสารทิศ

หรือโลกจะเอาคืน? “แผ่นดินไหว”เขย่าทั่วโลก-โลกเดือดทั่วสารทิศ

2-3ปีที่ผ่านมา เกิด “แผ่นดินไหว” หลายพื้นที่ทั่วโลก ล่าสุดเมียนมา และไทย สะเทือนทั้งแผ่นดิน ทำไทยสูญ3หมื่นล้าน แถมโลกเดือดทั่วสารทิศ ธารน้ำแข็งละลาย ไปอีก

SHORT CUT

  • แผ่นดินไหวที่ผ่านมาสร้างความเสียหายมหาศาลทั้งในไทย และเมียนมา หลายใครมองว่า หรือว่าโลกจะเอาคืนมนุษย์? เสียแล้ว
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ว่า แผ่นดินไหวได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยกว่า 3 หมื่นล้านบาท
  • ณ ตอนนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับโลกรวน แถมภัยพิบัตทั่วสารทิศ ธารน้ำแข็งละลาย ไปอีก

2-3ปีที่ผ่านมา เกิด “แผ่นดินไหว” หลายพื้นที่ทั่วโลก ล่าสุดเมียนมา และไทย สะเทือนทั้งแผ่นดิน ทำไทยสูญ3หมื่นล้าน แถมโลกเดือดทั่วสารทิศ ธารน้ำแข็งละลาย ไปอีก

จากเหตุแผ่นดินไหวที่ผ่านมาสร้างความเสียหายมหาศาลทั้งในไทย และเมียนมา หลายคนมองว่า หรือว่าโลกจะเอาคืนมนุษย์? เสียแล้ว เพราะที่ผ่านมาทั่วโลกก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้งในหลายพื้นที่ทั่วโลก แถมโลกเดือดไม่หยุดไม่หย่อนทั่วทุกสารทิศ บางพื้นที่ธารน้ำแข็งละลาย หวั่นกระทบกับสิ่งแวดล้อม บางพื้นที่น้ำท่วม บางพื้นที่เกิดอุทกภัยต่างๆมากมาย  อาจเรียกได้ว่าโลกไม่เคยสงบเลยในช่วงนี้

อย่างประเทศไทยหลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ไปเมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ว่า แผ่นดินไหวได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยกว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจก่อสร้าง ที่ได้รับผลกระทบหนักสุด

 

หรือโลกจะเอาคืน? “แผ่นดินไหว”เขย่าทั่วโลก-โลกเดือดทั่วสารทิศ

SCB EIC ประเมินเหตุแผ่นดินไหวจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในระยะสั้น ในการประเมินผลกระทบเบื้องต้นคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนเมษายนจะลดลงราว -12% จากเดือนก่อน ซึ่งลดลงมากกว่าการลดลงเฉลี่ยตามฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนเมษายนของช่วงปี 2017-2019 ซึ่งอยู่ที่ราว -6% จากเดือนก่อน

อย่างไรก็ตามจะใช้เวลาฟื้นตัวให้กลับมาเติบโตได้ตามปกติราว 3 เดือน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้มีโอกาสลดลงจากประมาณการเดิมราว 4 แสนคน และสูญเสียรายได้จากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 2.1 หมื่นล้านบาท

 

ส่วนที่แผ่นดินไหวเมียนมาก็นับว่าเสียหายหนักกว่าไทยมหาศาล และมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาแบบนับได้ถ้วน และหลังจากนั้นยังมีเหตุการแผ่นดินไหวพื้นที่อื่นๆ เช่น สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 นอกชายฝั่งใกล้ประเทศตองกา ห่างจากเกาะหลักไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ100 กิโลเมตร และเกิดลึกลงไปประมาณ 29 กิโลเมตร จนทำให้เสียงไซเรนดังขึ้นทั่วเมือง มีการเตือนภัยคลื่นสึนามิก่อนยกเลิกในเวลาต่อมา

นอกจากนี้กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหว ตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย (Northern Sumatra, Indonesia) ขนาด 5.3 ลึก 56 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประมาณ 401 กิโลเมตร
 

ส่วนในพื้นที่อื่นๆยังเหตุการณ์อื่นๆมากมาย เช่น ธารน้ำแข็งอายุ 20,000 ปีในเทือกเขาซีโล ของประเทศตุรกีที่กำลังละลายอย่างรวดเร็วจากภาวะโลกร้อน สูญเสียพื้นที่ไป 55% ใน 30 ปี และอาจหายไปภายใน 20 ปีโดยเทือกเขาซีโลในจังหวัดฮักการี ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเป็นที่ตั้งของธารน้ำแข็งเก่าแก่ที่มีอายุ 20,000 ปี ตั้งตระหง่านอยู่ที่ความสูง 4,135 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แต่สถานะนี้อาจคงอยู่ได้ต่อไปอีกไม่นานนัก

เนื่องจากอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังส่งผลทำให้ธารน้ำแข็งแห่งนี้สูญเสียพื้นที่ปริมาณมหาศาลทุกปี สร้างความเป็นกังวลให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอให้ปิดกั้นพื้นที่จากนักท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง เพื่อปกป้องและอนุรักษ์ธารน้ำแข็งแห่งดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยใหม่ล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้ประเมินสถานการณ์ธารน้ำแข็งทั่วโลกเป็นครั้งแรก พบว่า ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ธารน้ำแข็งทั่วโลกละลายไปแล้วกว่า 5% เทียบเท่าสระว่ายน้ำโอลิมปิก 3 สระ

ทั้งนี้นักวิจัยทั้งหมด 25 ทีม ร่วมมือกันรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธารน้ำแข็ง 230 แห่งทั่วโลก ผลลัพธ์ที่พบคือ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2000 ถึง 2023 ธารน้ำแข็งทั่วทั้งโลกสูญเสียปริมาตรไปประมาณ 5% นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา โดยมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ตั้งแต่ 2% ในแอนตาร์กติกาไปจนถึง 40% ในเทือกเขาแอลป์ของยุโรป

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบกลับมาต่อความมั่นคงด้านอาหารในทุกระดับ ตั้งแต่โลก ภูมิภาค จนถึงท้องถิ่น ทั้งในแง่ความพร้อม ผลผลิต การเข้าถึง และคุณภาพของอาหาร สาเหตุหลักมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น การแปรปรวนของรูปแบบการตกของฝน เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่ทวีความรุนแรง และปริมาณน้ำที่ลดลง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผลผลิตทางการเกษตร

จึงทำให้ทั่วโลกจะต้องเผชิญผลกระทบจากปัญหานี้ อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบหนักหน่วงยิ่งกว่า เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ การเติบโตของประชากร และข้อจำกัดในการปรับตัวเนื่องจากขาดแคลนทรัพยากรและเทคโนโลยี  

นอกเหนือจากปัญหาในด้านการผลิตแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคุกคามระบบการกระจายและขนส่งสินค้าเกษตรทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติด้วย ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย คุณภาพ และการเข้าถึงอาหารได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและการว่างงานในภาคการขนส่งเป็นอย่างมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related