svasdssvasds

ดีไซเนอร์ผู้ตั้งคำถามต่อนวัตกรรมสีเขียว

รู้จัก ชมพู่-กาญจนา ชนาเทพาพร ดีไซน์เนอร์ผู้ชุบชีวิตแฟชั่นให้กลับมาสดชื่นอีกครั้ง ตั้งคำถามต่อนวัตกรรมสีเขียว และหวังให้แบรนด์อีสานร่วมสู้ฝ่าโลกยุคดิสรัปต์ให้ได้

SHORT CUT

  • ชมพู่ ดีไซเนอร์จากขอนแก่น ตั้งคำถามว่านวัตกรรมสีเขียว ดีต่อโลกจริงหรือไม่ และมีผู้คนอยู่ในนั้นหรือเปล่า
  • แฟชั่นไม่ใช่ตัวร้ายทำลายโลกตามที่มีผู้กล่าวโจมตี แต่โอบอุ้มภูมิปัญญาพื้นบ้านเอาไว้
  • อีสานมีความเก๋ เป็นแฟชั่นที่มีความ “ไม่สนใจ”
  • แบรนด์อีสานต้องจับกันให้แน่นเพื่อฝ่าโลกยุคดิสรัปต์

รู้จัก ชมพู่-กาญจนา ชนาเทพาพร ดีไซน์เนอร์ผู้ชุบชีวิตแฟชั่นให้กลับมาสดชื่นอีกครั้ง ตั้งคำถามต่อนวัตกรรมสีเขียว และหวังให้แบรนด์อีสานร่วมสู้ฝ่าโลกยุคดิสรัปต์ให้ได้

ผู้หญิงคนนี้กำลังกอดชุดแต่งงานสีขาวนวล 2-3 ชุดในห้องเก็บเสื้ผ้า แล้วยกลงมาที่ห้องทำงานด้านล่างด้วยความระมัดระวังเพราชุดแต่งงานเหล่นี้ค่อนข้างหนัก ก่อนนำมาตัดแยกส่วนเป็นชิ้น ๆ โดยไม่ลังเล

 

ชมพู่-กาญจนา ชนาเทพาพร ดีไซเนอร์คนดังกล่าวบอกว่า ไม่รู้สึกเสียดายเลยสักนิด เพราะชุดแต่งงานเหล่านี้ล้าสมัยไปแล้ว ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้าใน จ.ขอนแก่น ที่สตูดิโอแห่งนี้ตั้งอยู่ อีกต่อไป จึงอยากนำมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ดีกว่าปล่อยทิ้งให้สูญเปล่า และที่ผ่านมาได้พูดคุยกับนักออกแบบอีกคนหนึ่ว่าจะส่งเศษผ้าเหล่านี้ไปใช้กลุ่มทอผ้าในพื้นที่ทอเป็นผ้ารองนั่งเก้าอี้สนาม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้แบรนด์ “บีไวลด์ อีสาน” ของตัวเอง

 

ดีไซเนอร์คนนี้เล่าต่อไปว่า เก้าอี้สนามดังกล่าวเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ของแคมเปญนำของเก่ากลับที่ตายจากความนิยมไปแล้วชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ ที่แบรนด์เริ่มทำมานานร่วมปีแล้ว ซึ่งฟังดูเหมือนกับสิ่งที่แบรนด์อื่นก็ทำ แต่ความจริงกลับต่างออกไปมาก เพราะไม่เพียงแค่นำของเก่าแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่แล้ว บีไวลด์ อีสาน ยังกระจายงานเหล่านี้ให้ชุมชนเพื่อไม่ให้ทักษะดั้งเดิมของชาวบ้านสูญสลายไปกับยุคสมัย

 

คำถามหนึ่งที่ชมพู่ตั้งขึ้นมาต่อสังคมที่มุ่งเข้าใกล้คำว่าดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่สิ่งแวดล้อมนั้นมีคนหรือชาวบ้านรวมอยู่ในนั้นหรือเปล่า หรือคนเหล่านั้นกำลังถูกวาทกรรมสีเขียวตัดออกจากระบบเศรษฐกิจกันแน่

 

“เราอะ คิดว่านวัตกรรมที่ดีในการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงดูแลสังคม ดูแลผู้คนของเรา มันต้องไม่ไกลเกินเอื้อม เกินชาวบ้านตัวเล็ก ๆ ที่มีแค่เนี้ย เขาอาจจะมีน้อยกว่าเราด้วยซ้ำ เขารู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องของเขา และเขาไม่มีส่วนร่วมอะไรกับมันเลย นี่มันเป็นโลกของเราหรือเป็นโลกของเขาด้วย ที่จะรักษากันเนี่ย นี่โลกของเขาด้วยได้ไหม เขารักษาด้วยได้ไหม ด้วยงานที่เขามีแค่นี้ด้วยได้ไหม ด้วยการที่ฉันมีเครื่องจักรแค่นี้ได้ไหม” ชมพู่กล่าว

 

“พี่ไม่ได้ต่อต้านเทคโนโลยี ออกจะชอบด้วยซ้ำเพราะมันทำให้ชีวิตสะดวกมาก พี่ตั้งคำถามว่าการที่คุณเข้ามาแล้วทำให้คนจำนวนมากที่ตัดออกจากระบบเศรษฐกิจ คุณควรเข้ามาหรือเปล่า”

 

“แฟชั่น” ผู้โอบอุ้มภูมิปัญญาพื้นบ้าน

เหตุนี้ ชมพู่จึงอยากยกมือพูดทุกครั้งเมื่อมีผู้กล่าวโจมตีอุตสาหกรรมแฟชั่นว่าเป็นตัวทำลายโลก ซึ่งถูกต้องบางส่วน โดยเฉพาะฟาสต์แฟชั่น แต่งานที่บีไวลด์ อีสาน และชาวบ้านทำนั้น เป็นงานที่ผลิตด้วยมือทั้งสิ้น ตั้งแต่การทอผ้า การตัดเย็บ ที่ใช้เวลาว่างจากทำนาหรือเลี้ยงปศุสัตว์ ทอได้อยากมากวันละเมตรกว่า ๆ ซึ่งภูมิปัญญาของการเลี้ยงไหม มัดย้อม หรือทอผ้าเหล่านี้ต่างหาก ที่แฟชั่นได้ช่วยรักษาไว้

 

“แฟชั่นเนี่ยทำให้ศิลปะ ทำให้ภูมิปัญญาบางอย่างมันยังคงอยู่ ในแบบที่งานบางงานที่คุณรักษ์โลกมาก แต่คุณไม่สามารถโอบอุ้มภูมิปัญญาส่วนนี้ได้ มันเป็นหน้าที่ของเรา” ชมพู่แย้ง

 

“มันรักษาคนบนโลกที่มีภูมิปัญญาไว้ด้วยซ้ำ ให้เขามีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์มีศรี”

 

ชมพู่ พูดต่อไปว่า ตนในฐานะชาวบ้านภาคอีสาน และเป็นหนึ่งในคนจำนวนมากที่ไร้นวัตกรรมที่ล้ำหน้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ขอยืนยันว่าวิถีท้องถิ่นแบบอีสานนั้นค่อนข้างรักษ์โลกอยู่แล้ว

 

อีสานคือผู้คนสุดเก๋

ดีไซเนอร์คนนี้กล่าวติดตลกว่า สภาพภายนอกอาจดูไม่เป็นชาวบ้านอีสานในภาพจำของคนจำนวนหนึ่ง แต่ตัวเองรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นอีสานมากเสียจนต้องนำมาตั้งชื่อแบรนด์ และเท่าที่ผ่านมา ก็ไม่เคยมีความคิดอยากตั้งสตูดิโอที่กรุงเทพฯ หรือภูมิภาคอื่นเลย

 

สิ่งที่เห็นมาตั้งแต่เด็กที่เติบโตในตลาด ชมพู่ระลึกได้ว่า เห็นผู้คนมากมาย มีความสนุกสนาน ช่างพูดช่างจา และกล้าแต่งตัวสีสันจัดจ้านแบบท้าทายสายตาคนนอก

 

“เราซึมซับความเป็นอีสานว่ามันเก๋นะ สำหรับเรามันเก๋อะ มันมีความยืดหยุ่น ปรับตัว มันไม่ความไม่สน ไม่สนอะไรเลย ฉันจะใส่อันนี้ สีนี้ คือแฟชั่นมันคือแบบ Contrast ก็ฉันจะเป็นอย่างงี้”

 

อีกจุดเด่นหนึ่งของความเป็นคนอีสานคือความเข้าอกเข้าใจกัน ที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วแทบจะทันที ตัวอย่างหนึ่งที่ชมพู่ยกขึ้นมาให้เห็นภาพ คือ เมื่อคนอีสานที่พบกันที่ต่างประเทศ สามารถชวนกันรับประทานอาหารได้เลย ซึ่งมองว่าไม่เหมือนใคร

 

ดังนั้นคำว่า “อีสาน” ดีไซเนอร์รายนี้จึงมองว่าอยู่นอกข้อจำกัดของภูมิศาสตร์ แต่ความเป็นอีสานอยู่ในตัวผู้คนในทุกที่ มีความเก๋และความสนุกสนานที่น่าภาคภูมิใจ แม้จริงอยู่ที่คนข้างนอกมองเข้ามาว่าอีสานมีความแร้นแค้น ซึ่งตนยอมรับว่ามีอยู่จริง แต่ไม่ควรเป็นภาพจำเดียวของภาคอีสานอีกต่อไป

 

ชุบชีวิตให้สิ่งที่ถูกดิสรัปต์

อย่างไรก็ดี อีสานในโลกยุคใหม่ ก็มีหลายสิ่งที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่และกลุ่มทุนจากต่างประเทศที่ทุ่มตลาดอย่างหนัก

 

ประสบการณ์เกือบ 20 ปี ตั้งแต่ทำสตูดิโอชุดแต่งงานจนปรับตัวมาเป็นแบรนด์แฟชั่นท้องถิ่น ชมพู่เรียนรู้ว่าธุรกิจถูกดิสรัปต์ตลอดเวลา ชุดแต่งงานที่เคยมีราคาหลักล้าน แต่กาลเวลาและกระแสทำให้การออกแบบในยุคหนึ่งล้าสมัย ทั้งยังเผชิญกับการทุ่มตลาดอย่างหนักของสินค้าจีนที่มีดีไซน์อินเทรนด์ในขณะที่มีราคาเพียงหลักร้อยหรือพันบาท

 

“Waste หนึ่งของโลกเรา ของประเทศเรา คือ ธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์ เช่นกันคือไม่ว่าจะดิสรัปต์จากต่างประเทศ จะถูกดิสรัปต์จากอะไร มูลค่าตรงนี้ที่เสียหาย ล้มหายตายจากไปน่ะ เยอะแค่ไหน” ชมพู่มอง 

 

“มันทำให้ผู้ประกอบการเล็ก ๆ ที่กล้องไม่ได้มาถ่ายวันนี้หายจากระบบไปเยอะมาก”

 

ชมพู่ให้ความเห็นว่า ชุดแต่งงานของตัวเองที่จะนำมาแปรรูปเป็นเก้าอี้สนามจะเป็นประจักษ์พยานชั้นดี ที่บันทึกเรื่องราวสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่คอยดึงรั้งผู้คนที่มีภูมิปัญญาเอาไว้จากการเสื่อมสลายโดยโลกยุคใหม่ 

 

ทุกครั้งที่ลงกรรไกรตัดไปบนผืนผ้าชุดแต่งงาน จึงไม่ได้มองว่ากำลังทำลาย แต่เป็นการชุบชีวิตเพื่อฝ่าการดิสรัปต์ที่ว่ามา และนำไปเล่าเรื่องได้อีกเป็นคุ้งเป็นแควไม่รู้จ

related