svasdssvasds

นักวิทย์ค้นพบสัตว์นักล่าชนิดใหม่ของโลก คล้ายกุ้ง ตัวสีขาว ชื่อ "ความมืด"

นักวิทย์ค้นพบสัตว์นักล่าชนิดใหม่ของโลก คล้ายกุ้ง ตัวสีขาว ชื่อ "ความมืด"

ปูไม่ใช่ กุ้งไม่เชิง นักวิทย์ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลกใต้ทะเลลึก ระดับ 8,000 เมตร รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ไม่ใช่ ลำตัวมีสีขาวล้วน นักวิทย์ตั้งชื่อให้ว่า "ความมืด"

SHORT CUT

  • นักวิทย์ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ สายพันธุ์ใหม่ ในร่องลึกอาตาคามา ชายฝั่งเปรู-ชิลี
  • มันถูกตั้งชื่อให้ว่า "ความมืด (Darkness)" เนื่องจากมันอาศัยอยู่ในร่องลึกใต้ทะเลที่มีความลึก 7,900 เมตร
  • รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ไม่ใช่ มีสถานะเป็นนักล่า ลำตัวมีสีขาวล้วน

ปูไม่ใช่ กุ้งไม่เชิง นักวิทย์ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลกใต้ทะเลลึก ระดับ 8,000 เมตร รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ไม่ใช่ ลำตัวมีสีขาวล้วน นักวิทย์ตั้งชื่อให้ว่า "ความมืด"

ยืนยันอีกหลักฐาน ว่าโลกใต้มหาสมุทรยังกว้างใหญ่เสมอ และมนุษย์ยังสำรวจไม่หมด เมื่อเร็ว ๆ นี้ งานวิจัยชิ้นใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Systematics and Biodiversity โชว์การค้นพบอันน่าทึ่ง นั่นคือ การค้นพบสัตว์สปีชีส์ใหม่ สายพันธุ์ใหม่ที่มนุษย์ไม่เคยรู้จักมาก่อน

เจ้า "ความมืด (Darkness)" Cr. Johanna Weston, ©Woods Hole Oceanographic Institution)

D.camanchaca คือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมัน หรือที่นักวิทย์ตั้งชื่อให้มันว่า “ความมืด (Darkness)” เนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่ถูกค้นพบในร่องลึกอาตาคามา หนึ่งในร่องใต้มหาสมุทรที่ลึกที่สุดในโลก โดยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 8,065 เมตร และร่องลึกมีความยาวประมาณ 5,900 กิโลเมตร ทอดยาวขนานตั้งแต่ชายฝั่งเปรูไปจนถึงชิลี

จุดค้นพบ ความมืด Cr. Johanna Weston, ©Woods Hole Oceanographic Institution)

“ความมืด” ถูกค้นพบในร่องลึกอาคาตามา ที่ความลึก 7,902 เมตร ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีลักษณะลำตัวสีขาว และตัวใหญ่กว่าสัตว์นักล่าทั่วไปในกลุ่มของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีเปลือกแข็งคล้ายกุ้ง โดยมันมีความยาวราว ๆ 4 เซนติเมตร (นักวิทย์บอกว่านี่แหละ ตัวใหญ่แล้ว) เป็นนักล่าที่กินสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่าในระดับความลึกเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม "ความมืด" ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์จาก Woods Hole Oceanographic Institution (WHOI) และ Institute Milenio de Oceanografia (IMO) ของ Chine ในระหว่างที่ทีมกำลังทำภารกิจสำรวจระบบสังเกตการณ์มหาสมุทรลึกแบบบูรณาการ (IDOOS) เมื่อปี 2023

โดยจุดมุ่งหมายของภารกิจนี้ก็เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจกระบวนการแปรสัณฐานและสมุทรศาสตร์ของภูมิภาคผ่านการสังเกตใต้ทะเลลึก ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

Cr. Johanna Weston, ©Woods Hole Oceanographic Institution)

จากการตรวจสอบเจ้า “ความมืด” DNA ของมัน เผยให้เห็นว่า นักล่าตัวน้อยนี้ไม่ได้เป็นเพียงสัตว์สายพันธุ์ใหม่ แต่ยังเป็นสัตว์สกุลใหม่ด้วย จากการจำแนกอนุกรมวิธานเหนือสายพันธุ์

การค้นพบในครั้งนี้ เน้นย้ำถึงความหลากหลายทางชีวภาพในสภาพแวดล้อมสุดขั้ว เช่น แรงดันมหาศาลและความมืดที่แทบไม่มีแสงสว่างเลย อย่างร่องลึกอาตาคามา อีกทั้งยังตอกย้ำว่า เราต้องค้นหาความลับของมหาสมุทรต่อไป และเชื่อว่ายังมีสิ่งมีชีวิตที่เราไม่รู้จักหลบซ่อนอยู่เป็นแน่

ที่มาข้อมูล

Livescience

 

Systematics and Biodiversity 

related