SHORT CUT
ใครที่กำลังเตรียมจะไปจับ “ปลาหมอคางดำ” ขายฟังทางนี้ วันนี้จะพามาเปิดดู 75 จุดรับซื้อ “ปลาหมอคางดำ” ทั่วประเทศ จังหวัดไหน มีกี่จุด เบอร์โทรอะไร? เช็กเบอร์โทรร้านรับซื้อ ที่นี่!
ปัญหาปลาหมอคางดำระบาดหนักในประเทศไทย ถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว และตรงจุด โดยอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ปลาหมอคางดำลดการระบาดลง นั่นก็คือ การรับซื้อไปทำปุ๋ย และนำไปทำเป็นเมนูอาหาร ล่าสุดมีความคืบหน้าเรื่องการรับซื้อ
โดย นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากข้อสั่งการของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้กรมประมงเร่งจัดตั้งจุดรับซื้อและประชาสัมพันธ์ข้อมูลจุดรับซื้อ รวมถึงวิธีการรับซื้อสู่สังคมอย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด กรมประมงกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ภายใต้ 7 มาตรการสำคัญ
โดยเฉพาะมาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยการจับออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพ และกำจัดจากบ่อเพาะเลี้ยงด้วยกากชา และมาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ เช่น การแปรรูป ให้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ
ซึ่งในขณะนี้ได้มีการจัดตั้งจุดรับซื้อขึ้นทุกพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด จำนวน 75 จุด โดยการันตีราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนรวบรวมปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ส่งให้สถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งมอบให้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางกว่า 200,000 ไร่ โดยเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2567 และหากสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อแล้วกรมประมงและ กยท. จะร่วมกันพิจารณาการขยายเวลารับซื้ออีกครั้ง
สำหรับจุดรับซื้อแต่ละจังหวัด มีดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2567)
ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มรับซื้อ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม มีเกษตรการชาวประมง นำปลาหมอคางดำมาขาย ณ จุดรับซื้อทั่วประเทศ จำนวน 6,024 กิโลกรัม แบ่งเป็น จับจากบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกร จำนวน 4,679 กิโลกรัม และจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 2,198 กิโลกรัม วันที่ 2 สิงหาคม มีเกษตรกรชาวประมง นำปลาหมอคางดำมาขาย 17,074 กิโลกรัม และในวันที่ 3 สิงหาคม มีเกษตรกรชาวประมง นำปลาหมอคางดำมาขาย 17,645 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดแยกแหล่งที่มา
โดยมีทั้งการจับจากบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกร บ่อร้าง และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ในภาพรวมที่กรมประมงตั้งจุดรับซื้อและเริ่มรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 15 บาท มา 3 วัน มีเกษตรกรนำปลาหมอคางดำมาขายแล้ว รวม 40,743 กิโลกรัม ได้จัดส่งให้กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำไปผลิตปุ๋ยหมักไปแล้วกว่า 38,412 กิโลกรัม และคาดการณ์ได้ว่าปริมาณการรับซื้อจะเพิ่มขึ้นอีกในวันต่อไป เนื่องจากขณะนี้เกิดความตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของภาคประชาชน และด้วยราคาที่กรมประมงรับซื้อ รวมถึงขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากนั้น ยิ่งทำให้เป็นที่สนใจของเกษตรกรชาวประมงเป็นวงกว้าง
ที่สำคัญ ต้องขอเน้นย้ำถึงผู้ขายรายย่อย (เกษตรกร ชาวประมง) ว่า ขั้นตอนการนำปลาหมอคางดำมาขายนั้น ไม่มีเงื่อนไขกำหนดในการรับซื้อ สามารถนำมาขาย ณ จุดรับซื้อต่าง ๆ ได้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท ไม่จำกัดจำนวน แต่หากเกษตรที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ. 1) จับจากบ่อตนเอง ให้แจ้งข้อมูล ทบ.1 กับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อ เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลต่อไป ทั้งนี้ กรมประมงขอความร่วมมือแจ้งแหล่งน้ำที่จับและเครื่องมือที่จับกับเจ้าหน้าที่ ณ จุดรับซื้อ เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลสำหรับใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมประมง ไขข้อสงสัย ปลานิล vs ปลาหมอคางดำ ผสมข้ามขั้วได้หรือไม่?
รวมเรื่องแปลก ที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่า "ปลาหมอคางดำ" เป็นอมตะ
ซีพีเอฟเปิดไทม์ไลน์ "ปลาหมอคางดำ" ย้ำทำตามคำแนะนำเจ้าหน้าที่กรมประมง