svasdssvasds

กรมประมง ไขข้อสงสัย ปลานิล vs ปลาหมอคางดำ ผสมข้ามขั้วได้หรือไม่?

กรมประมง ไขข้อสงสัย ปลานิล vs ปลาหมอคางดำ ผสมข้ามขั้วได้หรือไม่?

กรมประมง ชี้แจง ข้อสงสัย ปลานิล สามารถผสมพันธุ์กับปลานิลได้ ชี้ ปลา 2 ชนิดนี้คือคนละสกุลกัน แถมปลานิลทำตัวเป็นนักบูลลี่ ไล่กัดปลาปลาหมอคางดำกระหน่ำน่านน้ำ

SHORT CUT

  • บัญชา  สุขแก้ว  อธิบดีกรมประมง ได้ออกมาชี้แจงว่า ปลานิล หรือ Nile tilapia ส่วนปลาหมอคางดำ หรือ Blackchin tilapia เป็นปลาที่อยู่คนละสกุล
  • ปลานิลจะมีแก้ม สีคล้ายกัน หางมน และมีลายเส้น ส่วนปลาหมอคางดำ ใต้คางจะมีจุดสีดำ หางเว้า และไม่มีลวดลาย
  • ความน่าจะเป็นในการเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ในธรรมชาติมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และยังไม่พบข้อมูลหลักฐานทางวิชาการที่ระบุการผสมข้ามพันธุ์ในธรรมชาติระหว่างปลาทั้ง 2 ชนิด

กรมประมง ชี้แจง ข้อสงสัย ปลานิล สามารถผสมพันธุ์กับปลานิลได้ ชี้ ปลา 2 ชนิดนี้คือคนละสกุลกัน แถมปลานิลทำตัวเป็นนักบูลลี่ ไล่กัดปลาปลาหมอคางดำกระหน่ำน่านน้ำ

ปลาหมอคางดำ” ไม่รู้เป็นปลาอมตะหรืออย่างไร เพราะนอกจากจะอยู่ได้ในน้ำหลายประเภท ล่าสุด มีการนำเสนอว่าผู้สื่อข่าวได้เข้าไปทอดแหจับปลาในวังกุ้ง ที่ ต.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ ตะลึงไปเลยเมื่อพบปลาที่มีลักษณะผสมกันระหว่างปลาหมอคางดำ vs ปลานิล

วันนี้ (1 ส.ค. 67) บัญชา  สุขแก้ว  อธิบดีกรมประมง ได้ออกมาชี้แจงว่า ปลานิล หรือ Nile tilapia (Oreochromis niloticus) ส่วนปลาหมอคางดำ หรือ Blackchin tilapia (Sarotherodon melanotheron) เป็นปลาที่อยู่คนละสกุล

บัญชา  สุขแก้ว  อธิบดีกรมประมง

ลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือปลานิลจะมีแก้ม สีคล้ายกัน หางมน และมีลายเส้น ส่วนปลาหมอคางดำ ใต้คางจะมีจุดสีดำ หางเว้า และไม่มีลวดลาย อีกทั้งพฤติกรรมการฟักไข่และดูแลลูกปลาก็มีความแตกต่างกันด้วย

ปลาหมอคางดำ

โดยในปลานิล ปลาเพศเมียมีพฤติกรรมดูแลไข่และตัวอ่อน ส่วนในปลาหมอคางดำ ปลาเพศผู้มีพฤติกรรมดูแลไข่และตัวอ่อน ซึ่งความแตกต่างทางชีววิทยาดังกล่าวข้างต้น ทำให้ในธรรมชาติปลาทั้งสองชนิดจะไม่ผสมข้ามพันธุ์

ปลานิล

ดังนั้น ความน่าจะเป็นในการเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ในธรรมชาติมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และยังไม่พบข้อมูลหลักฐานทางวิชาการที่ระบุการผสมข้ามพันธุ์ในธรรมชาติระหว่างปลาทั้ง 2 ชนิด

ผลการทดลองปรากฏว่า ไม่มีการผสมข้ามพันธุ์กัน อีกทั้ง ยังพบปลานิลแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยกัดปลาหมอคางดำด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสบายใจของพี่น้องเกษตรกรและประชาชน ได้มอบหมายให้สำนักงานประมงจังหวัดร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสมุทรปราการ ลงพื้นที่ไปยังบ่อเลี้ยงที่พบปลาดังกล่าวและเก็บตัวอย่างปลาเพื่อนำมาตรวจสอบทางวิชาการที่ห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธานต่อไป

ส่วนการที่จะระบุว่าปลาที่ปรากฎในข่าวเป็นปลาลูกผสมหรือไม่ ต้องดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ ทั้งด้านอนุกรมวิธานและทางอณูพันธุศาสตร์ โดยนักวิชาการที่มีความรู้เฉพาะทาง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related