svasdssvasds

มาจากไหนอีก "ปลาหมอมายัน" อันตรายไม่แพ้ปลาหมอคางดำ

มาจากไหนอีก "ปลาหมอมายัน" อันตรายไม่แพ้ปลาหมอคางดำ

ชาวบ้านบางบ่อพบ "ปลาหมอมายัน" เอเลี่ยนสปีชี่ส์อีกตัวที่ปะปนอยู่กับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ แม้จะมีความเร็วในการขยายพันธุ์ไม่เท่ากัน แต่หวั่นจะสร้างผลกระทบควบคู่จนบานปลาย

SHORT CUT

  • พบ "ปลาหมอมายัน" เอเลียนสปีชีส์อีกชนิด ปะปนอยู่กับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ
  • พบการรุกรานในไทยตั้งแต่ปี 2548 เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศไม่แพ้ปลาหมอคางดำ แต่มีการขยายพันธุ์ที่ช้ากว่ามาก
  • ชาวบ้านหวั่นปลาทั้งสองสายพันธุ์อาจก่อปัญหาควบคู่กันจนเกินควบคุม

ชาวบ้านบางบ่อพบ "ปลาหมอมายัน" เอเลี่ยนสปีชี่ส์อีกตัวที่ปะปนอยู่กับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ แม้จะมีความเร็วในการขยายพันธุ์ไม่เท่ากัน แต่หวั่นจะสร้างผลกระทบควบคู่จนบานปลาย

หลังเกิดการระบาดของปลาหมอคางดำที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจำนวนมาก ล่าสุดพบว่ายังมีมีเอเลี่ยนสปีชีส์อีกสายพันธุ์ ในพื้นที่ ต.คลองด่าน อ.บ่างบ่อ จ.สมุทรปราการ เมื่อชาวบ้านนำเครื่องมือดักจับปลาขึ้นมาดู พบว่ามีปลาหมอคางดำติดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก รวมถึง 'ปลาหมอมายัน' ที่ติดมาด้วยราว ๆ 6-8 ตัว 

ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าปลาหมอมายันได้หลุดเข้ามาขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำมานานกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้มองว่าไม่เป็นปัญหาใหญ่ เพราะไม่ได้ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนน่ากังวล แต่พอมีปลาหมอคางดำเข้ามา ก็เริ่มเกิดความกังวลว่าทั้งสองสายพันธุ์อาจจะสร้างปัญหาควบคู่กันจนไม่สามารถแก้ไขได้

มาจากไหนอีก \"ปลาหมอมายัน\" อันตรายไม่แพ้ปลาหมอคางดำ

จากข้อมูลของกรมประมง ระบุว่า "ปลาหมอมายัน" (Mayan cichlid) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Mayaheros urophthalmus มีลักษณะเด่นคือแถบสีดำบนลำตัวจำนวน 7 แถบ เป็นปลาขนาดกลางที่อาศัยในพื้นที่เขตร้อน เติบโตได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางทะเล กินปลาขนาดเล็กและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยดุร้ายและหวงถิ่น

มาจากไหนอีก \"ปลาหมอมายัน\" อันตรายไม่แพ้ปลาหมอคางดำ

ปลาหมอมายันมีถิ่นกำเนิดในเขตพื้นที่น่านน้ำแอตแลนติกตอนกลางของประเทศเม็กซิโด เบลีซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และนิการากัว พบรายงานการรุกรานครั้งแรกในฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2526 และพบการรุกรานในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 2548 หลังถูกจับได้จากคลองที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตบางขุนเทียน ก่อนจะหลุดเข้าไปในบ่อเลี้ยงปลาของเกษตรกร จนขยานพันธุ์เป็นจำนวนมาก แย่งอาหารปลา กินตัวอ่อนสัตว์น้ำชนิดอื่นจนหมด ทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนตัวของปลาหมอมายันเองก็ไม่สามารถจำหน่ายได้ เพราะเนื้อแข็ง ไม่เป็นที่นิยมในการบริโภค

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศกำหนดให้ "ปลาหมอมายัน" เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำและระบบนิเวศ

 

ที่มา