svasdssvasds

เปิดผลตรวจ ครีบ-ชิ้นส่วน ปลาหมอคางดำ ฟาร์มเอกชน ใกล้เคียงที่ระบาด!

เปิดผลตรวจ ครีบ-ชิ้นส่วน ปลาหมอคางดำ ฟาร์มเอกชน ใกล้เคียงที่ระบาด!

พามาดูผลตรวจโชว์ “ครีบ” และ “ชิ้นส่วน” ปลาหมอคางดำจากฟาร์มเอกชน ดีเอ็นเอใกล้เคียงกับพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบัน

SHORT CUT

  • พามาดูผลตรวจโชว์ “ครีบ” และ “ชิ้นส่วน” ปลาหมอคางดำจากฟาร์มเอกชน ดีเอ็นเอใกล้เคียงกับพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบัน

  • จากผลการตรวจสอบพบว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดในปี 60 มีภาวะเลือดชิด “ดีเอ็นเอ” ใกล้เคียงกับปลาหมอคางดำที่พบในบ่อพักน้ำยี่สาร และที่ระบาดในปัจจุบัน

  • กรมประมงแจ้งว่า บริษัทส่งออกได้จ้างบริษัทชิปปิ้ง ทำเอกสารในการส่งออกว่าเป็น ปลาหมอเทศข้างลาย แท้จริงเป็นปลาหมอคางดำ แต่สิ่งที่กรมประมงตอบได้ไม่กระจ่าง คือ กรมเริ่มทำงานอย่างจริงจังในปี 2560 หลังเกิดการระบาดแล้ว

พามาดูผลตรวจโชว์ “ครีบ” และ “ชิ้นส่วน” ปลาหมอคางดำจากฟาร์มเอกชน ดีเอ็นเอใกล้เคียงกับพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบัน

นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล นำทีมคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เดินทางมาที่กรมประมง ติดตามหลักฐานกรณีมีบริษัทเอกขนแห่งหนึ่ง นำเข้า "ปลาหมอคางดำ"โดยมี นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง​และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมชี้แจงรายละเอียด

โดยเจ้าหน้าที่ได้นำ "ครีบ" และ "ชิ้นเนื้อ" ปลาหมอคางดำที่พบในบ่อพักน้ำยี่สาร ในฟาร์มวิจัยของบริษัทเอกชน เมื่อปี 2560 มาโชว์ให้ อนุกรรมธิการ.ดู จากผลการตรวจสอบพบว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดในปี 60 มีภาวะเลือดชิด “ดีเอ็นเอ” ใกล้เคียงกับปลาหมอคางดำที่พบในบ่อพักน้ำยี่สาร และที่ระบาดในปัจจุบัน

นายแพทย์วาโย กล่าวว่า จากการตรวจสอบตามที่บริษัทดังกล่าวอ้างมานั้น ยืนยันไม่พบโหลปลาหมอคางดำแต่อย่างใด ตอนนี้เหลือจิ๊กซอตัวสุดท้าย คือ ถ้ามีครีบของเมื่อปี 53-54 ก็จะคลายความสงสัยไปได้ ส่วนกรมประมงได้รับหรือไม่ เมื่อกางเอกสารออกมาดูพบว่าไม่ได้รับตัวอย่าง DNA แต่อย่างไรก็ตาม แต่เพื่อความเป็นธรรม ได้เชิญ  เอกชนมาชี้แจงในวันพฤหัสบดี 25 ก.ค.ซึ่งตนได้ทำหนังสือให้นำเอกสารที่อ้างว่ามีการนำส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำมาด้วย เพื่อจะได้รู้ว่ามีการส่งวันไหน ให้ใคร เจ้าหน้าที่คนไหนเป็นผู้รับ เพราะกรมประมงยืนยันจากเอกสารและหลักฐานที่ห้องปฏิบัติการแล้วว่าไม่ได้มีการรับตัวอย่าง

เปิดผลตรวจ ครีบ-ชิ้นส่วน ปลาหมอคางดำ ฟาร์มเอกชน ใกล้เคียงที่ระบาด!

อย่างไรก็ตามทางอนุกรรมธิการฯได้ขอดูเอกสารรายการทะเบียนการเก็บตัวอย่างซากปลา (สมุดคุม) ซึ่งกรมประมงนำมาให้ดูตั้งแต่ปี 51-56 โดยทางกรมยืนยันว่าไม่ได้มีการส่งครีบปลามาให้ และกรมประมงเองยังมีเอกสารเมื่อเดือน เม.ย. 53 แจ้งให้บริษัทเอกชนส่งครีบปลาตัวอย่างมาที่กรมด้วย แต่ก็ไม่มีการนำส่งรวมทั้งรายงานความคืบหน้าของการวิจัย ก็ยังไม่เห็น และทั้งหมดจะต้องไปดูย้อนหลังว่ามีมีการขอเลี้ยงมีการเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อปูน เพราะหากเลี้ยงในบ่อดินมีการสูบน้ำเข้าออก ปลาหมอคางดำอาจจะมีการหลุดออกไปได้ ส่วนการตรวจสอบดีเอ็นเอสามารถทำได้ แต่ต้องได้กระดูกมาก่อน ซึ่งอาจจะลงไปดูพื้นที่ ๆด้วยเพื่อให้เกิดความชัดเจน

เปิดผลตรวจ ครีบ-ชิ้นส่วน ปลาหมอคางดำ ฟาร์มเอกชน ใกล้เคียงที่ระบาด!

นพ.วาโย บอกอีกว่าทางคณะกรรมาธิการได้ขอเอกสารกรมประมง ประกอบด้วย 1.รายงานการขอและอนุญาตให้บริษัทเอกชนนำเข้าปลาหมอคางดำจากนอกราชอาณาจักรเพื่อครอบครองและเพาะเลี้ยงแบบมีเงื่อนไข 2.รายงานการประชุมคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยและความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) 3.เอกสารรายชื่อบริษัทที่ยื่นขออนุญาตเพื่อการส่งออกพันธุ์ปลาออกนอกราชอาณาจักรไทย เมื่อปี 2553-2559

และกรมประมงแจ้งว่า บริษัทส่งออกได้จ้างบริษัทชิปปิ้ง ทำเอกสารในการส่งออกว่าเป็น ปลาหมอเทศข้างลาย แท้จริงเป็นปลาหมอคางดำ แต่สิ่งที่กรมประมงตอบได้ไม่กระจ่าง คือ กรมเริ่มทำงานอย่างจริงจังในปี 2560 หลังเกิดการระบาดแล้ว ซึ่งกรมประมงชี้แจงว่า อำนาจหน้าที่ไม่มีตามกฎหมาย มาตรา 54 ให้อำนาจแค่อนุญาตเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจไปไล่บี้เอาผิดบริษัทเอกชน แต่พอมีการแก้กฎหมายในปี 2560 กรมประมงก็ทำตามหน้าที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related