svasdssvasds

ซีพีเอฟ เตือนภาพ-ข้อความเท็จ บิดเบือน "ปลาหมอคางดำ" จ่อเอาผิด เตือนอย่าแชร์

ซีพีเอฟ เตือนภาพ-ข้อความเท็จ บิดเบือน "ปลาหมอคางดำ" จ่อเอาผิด เตือนอย่าแชร์

ซีพีเอฟ ระบุพบการใช้ข้อมูลประกอบการสื่อสารในเวทีสาธารณะและสื่อโซเชียล ที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง ทั้งภาพและข้อความ สร้างความเข้าใจผิดแก่สังคมกรณีปลาหมอคางดำ กระทบชื่อเสียงองค์กรเสียหาย เตรียมพิจารณาดำเนินการขั้นต่อไป พร้อมเตือนประชาชนอย่าเชื่อ อย่าแชร์

นางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาและในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ได้มีการใช้รูปภาพและข้อมูลประกอบการสื่อสารบนเวทีสาธารณะที่เป็นเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท โดยมีตัวอย่างภาพเท็จและข้อมูลเท็จบางส่วน ดังนี้   

ซีพีเอฟ เตือนภาพ-ข้อความเท็จ บิดเบือน "ปลาหมอคางดำ" จ่อเอาผิด เตือนอย่าแชร์

  • ภาพแรก เป็นภาพที่สร้างความเข้าใจผิดและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เป็นการกล่าวอ้างว่าเป็นสภาพบ่อดินของฟาร์มยี่สาร ซึ่งใช้เพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ ปี 2554 ถึง ปี 2557 และกล่าวอ้างว่า “เลี้ยงต่อเนื่องที่ฟาร์มยี่สารตั้งแต่ 2553 ถึง 2560”  ซึ่งบริษัทขอชี้แจงว่า เป็นการใช้ภาพและข้อมูลเท็จ เนื่องจากสถานที่แห่งนี้ไม่ใช่ฟาร์มยี่สารของบริษัท ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และหลังจากการตัดสินใจไม่เริ่มดำเนินโครงการและยุติการวิจัยเมื่อต้นเดือนมกราคม 2554 และได้ทำลายลูกปลาทั้งหมดแล้ว บริษัทไม่มีกิจกรรมใด ๆ เกี่ยวกับปลานี้อีกเลย ดังนั้น การกล่าวอ้างว่ามีการเลี้ยงต่อเนื่องถึงปี 2560 จึงเป็นข้อมูลเท็จเสมือนการโกหกที่สร้างความเข้าใจผิดเชิงลบในสังคมต่อองค์กร

ซีพีเอฟ เตือนภาพ-ข้อความเท็จ บิดเบือน "ปลาหมอคางดำ" จ่อเอาผิด เตือนอย่าแชร์

  • ภาพที่สอง เป็นภาพที่กล่าวอ้างว่าเป็นการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำ เพื่อนำไปขยายพันธุ์ / ผสมพันธุ์แล้วนำไปอนุบาลในกระชังในฟาร์มยี่สาร  ความเป็นจริงแล้วสถานที่นี้ไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และกิจกรรมดังปรากฎในภาพนี้ ไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกไข่ปลาตามวิธีปฏิบัติของบริษัท

ซีพีเอฟ เตือนภาพ-ข้อความเท็จ บิดเบือน "ปลาหมอคางดำ" จ่อเอาผิด เตือนอย่าแชร์

  • ภาพสุดท้ายเป็นภาพถ่ายทางอากาศของบริเวณฟาร์ม โดยมีการระบุผังของฟาร์ม ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จ กล่าวคือ กรอบสีแดง ไม่ใช่บ่อเลี้ยงปลาตามที่กล่าวอ้าง ความเป็นจริงคือเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ขณะที่กรอบสีเหลืองที่ระบุว่าเป็นบ่อผสมพันธุ์ปลาและบ่ออนุบาลปลาตามที่กล่าวอ้างนั้น ความจริงคือเป็นบ่อปรับปรุงพันธุ์ปลานิล ปลาทับทิม และปลาทะเล

นอกจากรูปภาพที่บิดเบือนบางส่วนที่นำมาแสดงในวันนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อความบิดเบือนอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการทางกฏหมายต่อไป  โดยผู้ที่ให้รูปและข้อมูลที่เป็นเท็จบิดเบือนข้อเท็จจริง ควรต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ ร่วมกับผู้ที่ใช้ข้อมูลและรูปภาพดังกล่าวในการสื่อสารในเวทีสาธารณะต่างๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัทเห็นด้วยว่า ควรมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางสังคมเพิ่มเติมในเรื่องนี้ เนื่องจากมีหลายบริษัทที่ซีพีเอฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กลับมีกิจกรรมค้าขายปลาชนิดนี้ในช่วงที่ผ่านมา จึงขอให้สังคมให้ความเป็นธรรมและควรมีการสอบหาเหตุอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อนำข้อเท็จจริงมาร่วมกันพิจารณาหาแนวทางร่วมมือแก้ไขปัญหา ตลอดจนหาแนวทางป้องกันการแพร่กระจายในระยะยาว

 

สำหรับโครงการความร่วมมือสนับสนุนการแก้ปัญหา 5 โครงการนั้น มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งร่วมมือสนับสนุนกรมประมงที่มีกิจกรรมการจับปลาและปล่อยลูกปลากะพง ซึ่งพบว่าในบางพื้นที่ มีปริมาณปลาลดลงอย่างมาก ล่าสุด ได้เข้าร่วมกิจกรรมจับปลาและมอบปลากะพงเพิ่มเติมกับประมงจังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากนั้นยังได้รับการติดต่อแสดงความจำนงจากมหาวิทยาลัยชั้นนำอีก 2-3 แห่ง ในการร่วมมือการทำวิจัย ทั้งการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและการวิจัยเพื่อหาแนวทางควบคุมประชากรปลาในระยะยาว 

ครม. มีมติแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ 7 มาตรการ ใช้งบ 450 ล้านบาท

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า แม้ปัญหาปลาหมอคางดำจะเกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว และเป็นปัญหาที่คาราคาซังต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน แต่ละรัฐบาลถือว่าเป็นความเดือดร้อนของประชาชนจึงเป็นภารกิจที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเอาใจใส่ และมีความจริงจังในการแก้ปัญหา จึงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่าที่ผ่านมาได้จัดการไปอย่างไร และจากนี้จะมีมาตรการอย่างไร 

นายชัย กล่าวอีกว่า นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมากรมประมงได้พยายามแก้ไขแล้วแต่เอาไม่อยู่ เพราะที่ผ่านมาขาดการบูรณาการกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ดังนั้นในรอบนี้จึงมีการเชิญนายกสมาคมประมง นายกสมาคมผู้เพาะพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและวางแผนในการแก้ไขปัญหา โดยตกผลึกเป็นมาตรการ 7 ข้อ ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งปัญหาปลาหมอคางดำ จะจบสิ้นและหมดไปจริงๆ ในปี 2570 โดยจากนี้จะค่อยๆ ลดไปตามลำดับ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันว่าได้ผลแน่นอน เพราะเป็นการตกผลึกระหว่างภาครัฐกับเอกชน

7 มาตรการ มีดังนี้

  1. จับลดปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งแพร่ระบาด 4,000,000 กิโลกรัม หรือ 4,000 ตันภายในกลางปี 2568 
  2. ส่งปลาผู้ล่า หลังลดปลาหมอคางดำ เช่น ปลากะพง 
  3. นำปลาหมอคางดำที่ได้ไปทำปุ๋ยหมัก น้ำชีวภาพ น้ำปลาร้า ปลาป่น เพื่อให้ปลาที่จับมาไม่สูญเปล่า
  4. ป้องกันการแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำข้างเคียง 
  5. ให้ความรู้กับประชาชนในการสังเกตป้องกันอันตราย หากระบบนิเวศถูกสัตว์น้ำต่างถิ่นเข้ามารุกราน
  6. แผนระยะกลางและระยะยาวใช้เทคโนโลยีด้านการเหนียวนำโครโมโซมของปลาหมอคางดำจาก 2N เป็น 4N จะทำให้ให้เป็นหมัน เมื่อเข้าไปผสมกับธรรมชาติลูกปลาหมอคางดำที่ออกมาจะกลายเป็น 3N ทำให้ได้ปลาหมอคางดำที่เป็นหมัน
  7. การฟื้นฟูแหล่งน้ำที่โดนปลรหมอคางดำทำลายโดยกรมประมงจะนำสัตว์น้ำกลับคืนถิ่นเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของแหล่งน้ำนั้น ตามข้อมูลที่มีการบันทึกไว้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related