svasdssvasds

หลอดกระดาษรักษ์โลกจริงเหรอ? สรุปแล้ว หลอดกระดาษ ดี หรือ แย่ ต่อสิ่งแวดล้อม?

หลอดกระดาษรักษ์โลกจริงเหรอ? สรุปแล้ว หลอดกระดาษ ดี หรือ แย่ ต่อสิ่งแวดล้อม?

หลอดกระดาษดีต่อสิ่งแวดล้อม? หลังนักวิทย์พบสารเคมีอมตะในหลอดกระดาษ ขณะที่หลอดพลาสติกอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แล้วหลอดแบบไหนล่ะที่เราควรใช้?

รู้หรือไม่ “หลอด” เป็นอุปกรณ์หนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว และเราก็ใช้มันในปริมาณที่มากพอ ๆ กับถุงพลาสติก แต่เนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หลอดพลาสติกเริ่มถูกติง ว่ามีข้อเสียมากมาย คนบางกลุ่มหรืออุตสาหกรรมบางรายจึงหันไปใช้นวัตกรรมหลอดกระดาษแทน โดยเข้าใจว่า ใช้สิ่งที่ย่อยสลายได้เร็ว ก็น่าจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในทางกลับกัน ไม่ว่าจะพลาสติกหรือกระดาษก็เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดี ทำไมจึงเป็นแบบนั้น?

หลอดกระดาษรักษ์โลกจริงเหรอ? สรุปแล้ว หลอดกระดาษ ดี หรือ แย่ ต่อสิ่งแวดล้อม? ก่อนอื่นเลย ขออธิบายข้อเสียด้านสิ่งแวดล้อมของหลอดทั้ง 2 ประเภทก่อน และไม่ขออธิบายถึงข้อดี เพราะนอกจากสามารถทำให้เราดื่มเครื่องดื่มได้ง่ายขึ้น ก็ไม่มีข้อดีอะไรอีก หรือคุณคิดเห็นอย่างไรบ้าง?

ข้อเสียของหลอดพลาสติก

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของหลอดพลาสติกมันแสดงให้เราเห็นได้เด่นชัดมาก จากปริมาณขยะทั้งบนบกและในทะเล หลอดพลาสติก ขึ้นชื่อว่าพลาสติก ย่อมใช้เวลาย่อยสลายนานและยาก ซึ่งใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติมากถึง 400-450 ปี และในแต่ละปี เราจะพบขยะหลอดพลาสติกในทะเลมากกว่า 2,000 ตัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เราใช้หลอดพลาสติกดื่มเครื่องดื่มเพียงไม่กี่นาทีและทิ้งลงถังขยะไป เมื่อหลอดพลาสติกถูกทิ้งบ้างก็ไหลลงแม่น้ำ มีน้อยมากที่จะถูกคัดไปยังการรีไซเคิล หลอดที่ถูกปะปนในธรรมชาติจะยังคงอยู่ตลอดไปจนถึงอายุขัย แต่ระหว่างทางอาจถูกสัตว์น้ำเผลอกินเข้าไปและอาจแตกจนละเอียดกลายเป็นไมโครพลาสติก อันตรายต่อสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และต่อมนุษย์เราเองด้วย

หลอดกระดาษรักษ์โลกจริงเหรอ? สรุปแล้ว หลอดกระดาษ ดี หรือ แย่ ต่อสิ่งแวดล้อม? ข้อเสียของหลอดกระดาษ

ความเข้าใจของหลายคน หลอดกระดาษเป็นหลอดรักษ์โลก แต่ผู้ใช้หลายคน ก็ไม่ได้ชื่นชอบหรือสะดวกที่จะใช้ เนื่องจาก พอเราใช้ดื่ม รสชาติของกระดาษก็ติดมากับเครื่องดื่มของเราด้วย แม้จะย่อยสลายได้ แต่หลายคนก็ยังหลีกเลี่ยง

มากไปกว่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ งานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Additatives and Contaminants ว่านักวิทย์พบสารเคมีอมตะ หรือ forever chamicals ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม ในหลอดกระดาษ ประมาณ 18-20 แบรนด์ในท้องตลาด เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์

หลอดกระดาษรักษ์โลกจริงเหรอ? สรุปแล้ว หลอดกระดาษ ดี หรือ แย่ ต่อสิ่งแวดล้อม?

ไม่เพียงแค่หลอดกระดาษเท่านั้น จากการสุ่มตรวจสอบ นักวิทย์พบสาร PFAS หนึ่งในสารเคมีอมตะในหลอดประเภทอื่น ๆ ด้วย โดยพบในหลอดกระดาษมากถึง 90% หลอดไม้ไผ่ 80% หลอดพลาสติก 75% หลอดแก้ว 40% ยกเว้นหลอดที่ทำจากสเตนเลส ที่ไม่พบสารเคมีชนิดนี้

แล้วเราจะใช้อะไรแทนหลอด?

หันไปทางไหน หลอดไหน ๆ ก็ดูอันตรายทั้งสิ้น แล้วเราจะใช้อะไรแทนล่ะทีนี้ มีหลอดอะไรแนะนำไหม ซึ่งถ้าให้คอลัมน์ Keep The World แนะนำจริง ๆ แนะนำว่าไม่ใช้หลอดเลยจะดีที่สุด เราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันมีหลายร้านค้าพยายามช่วยลดการใช้หลอดด้วยการออกแบบแก้วที่สามารถยกดื่มได้เลย

หลอดกระดาษรักษ์โลกจริงเหรอ? สรุปแล้ว หลอดกระดาษ ดี หรือ แย่ ต่อสิ่งแวดล้อม? เราแนะนำว่า หากยกดื่มได้ก็ยกดื่มดีกว่า หรือหากเป็นไปได้ ก็พกหลอดส่วนตัวที่สามารถใช้ซ้ำได้ ล้างได้ ก็แก้ขัดได้เหมือนกัน และหากไปร้านที่ไม่มีแก้วแบบยกดื่ม สิ่งที่จะแก้ได้ในสเต็ปถัดมาคือ การพกแก้วส่วนตัว นอกจากจะลดขยะพลาสติกหลอดแล้ว ยังลดขยะพลาสติกแก้วและฝาแก้วพลาสติกได้ด้วย เมื่อเราใช้พลาสติกกันน้อยลง ขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมก็จะลดลงตามไปนั่นเอง

ที่มาข้อมูล

BCC Science Focus

Food Additatives and Contaminants

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related