svasdssvasds

โลกเดือดฉุดเศรษฐกิจ! เสีย GDP 12% ทุก 1 องศา ทำต้นทุนการผลิตพุ่ง เสี่ยงกำไรวูบ

โลกเดือดฉุดเศรษฐกิจ! เสีย GDP 12% ทุก 1 องศา ทำต้นทุนการผลิตพุ่ง เสี่ยงกำไรวูบ

ผลการศึกษาได้ชี้ชัดว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1 องศา แต่ละครั้งสามารถเชื่อมโยงกับการลดลง 12% ใน GDP โลก นับได้ว่าเป็นมูลค่าที่สูญเสียทางธุรกิจอย่างมหาศาลเลยทีเดียว

SHORT CUT

  • โลกในปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 37.55 พันล้านตัน สอดคล้องกับ Statista นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3 องศาภายในสิ้นศตวรรษนี้
  • รู้หรือไม่?โลกเดือดฉุดเศรษฐกิจ! เสีย GDP 12% ทุก 1 องศา ทำต้นทุนการผลิตพุ่ง กำไรวูบ
  • ไทยถือว่ามีความเปราะบางสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากไทยเราพึ่งพาภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว

ผลการศึกษาได้ชี้ชัดว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1 องศา แต่ละครั้งสามารถเชื่อมโยงกับการลดลง 12% ใน GDP โลก นับได้ว่าเป็นมูลค่าที่สูญเสียทางธุรกิจอย่างมหาศาลเลยทีเดียว

ปัญหาโลกร้อน ทะลุพิกัดจนต้องใช้คำว่าโลกเดือด เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ซึ่งทั่วโลกต่างออกมารับมือกันอย่างหนักหน่วง เพราะหลายประเทศเริ่มได้รับผลกระทบทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจที่โลกเดือดได้ฟาดใส่อย่างแรง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ ได้รายงานใหม่การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาคจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ประมาณการว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมากกว่าการประมาณการครั้งก่อนถึงหกเท่า

ผลการศึกษาได้ชี้ชัดว่า อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1 องศา แต่ละครั้งสามารถเชื่อมโยงกับการลดลง 12% ใน GDP โลก นับได้ว่าเป็นมูลค่าที่สูญเสียทางธุรกิจอย่างมหาศาลเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีรายงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NBER) ระบุว่า ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน อาจอยู่ที่ประมาณ 1,056 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสูงกว่าประมาณการครั้งก่อนมาก ซึ่งอยู่ระหว่าง 51 ถึง 190 ดอลลาร์ต่อเมตริกตัน

สำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกในปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 37.55 พันล้านตัน สอดคล้องกับ Statista นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น 3 องศาภายในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายงานของ NBER ระบุว่า จะทำให้ “ผลผลิตทุน และการบริโภคลดลงอย่างรวดเร็วเกิน 50% ภายในปี 2100

นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้มีการรายงาน อีกว่า ยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นบ้าง แต่ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ผู้คนอาจจะยากจนลงกว่าที่เคยเป็นถึง 50% หากไม่เป็นเช่นนั้น เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลวิจัย และได้ออกมาเตือนว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้จะนำไปสู่การลดลงอย่างรวดเร็วของผลผลิต ทุน และการบริโภคเกินกว่า 50% ภายในปลายศตวรรษนี้

จากการที่โลกเดือดมากขึ้นประเทศไทยถือว่ามีความเปราะบางสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากไทยเราพึ่งพาภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวรวมกันประมาณ 25% ของ GDP นั้น เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีอ่อน และมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากโลกร้อนเป็นอย่างมาก

  • ภาคเกษตรกรรม

มีประชากรส่วนใหญ่และมีส่วนสำคัญต่อ GDP มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและรูปแบบการตกของฝน ความถี่ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น น้ำท่วมและภัยแล้ง อาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหยุดชะงักอย่างรุนแรง นำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหารและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

  • การท่องเที่ยว

ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน อุณหภูมิที่สูงขึ้นและเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมาเที่ยว การฟอกขาวของปะการังเนื่องจากอุณหภูมิทะเลที่สูงขึ้น ยังเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและความน่าดึงดูดของแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงของประเทศ หวและมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากโลกร้อนเป็นอย่างมาก

ขณะเดียวกันภูมิภาคชายฝั่งรวมถึงกรุงเทพมหานคร มีความเสี่ยงอย่างมากจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นและพายุที่รุนแรงขึ้น กรุงเทพมหานครซึ่งกำลังจมเนื่องจากการทรุดตัวของพื้นดิน อาจเผชิญกับความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจที่รุนแรง

  • มิติผลกระทบทางสังคม

ก็มีความสำคัญเช่นกัน อากาศที่ร้อนจัดและการเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วบ่อยครั้งสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ประชากรกลุ่มเสี่ยง รวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และชุมชนที่มีรายได้น้อยมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบของสภาพอากาศอาจนำไปสู่ความยากจนและความไม่สงบทางสังคมได้

สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาโลกเดือดของไทย ล่าสุด นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 โดยมี ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1 นางสาวแคทรียา ปทุมรส รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่กรรมการและเลขานุการ และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ พร้อมด้วย คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและพิจารณาเห็นชอบเรื่องสำคัญ ดังนี้

  • (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) ซึ่งเน้นเรื่องการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และกิจกรรมภายใต้ AWGCC Action Plan 

โลกเดือดฉุดเศรษฐกิจ! เสีย GDP 12% ทุก 1 องศา ทำต้นทุนการผลิตพุ่ง เสี่ยงกำไรวูบ

  • (2) ร่างกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี พ.ศ. 2567 – 2568 ซึ่งเป็นไปตามหลักการของกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนของประเทศ พร้อมทั้งคำนึงถึงบริบทและขีดความสามารถของประเทศไทยในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส โดยเน้นย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม การตั้งเป้าหมายใหม่ทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาอย่างพอเพียงและเหมาะสม รวมถึงกลไกและขั้นตอนการเข้าถึงกองทุนสำหรับความสูญเสียและความเสียหาย เป็นต้น
  • (3) ร่างองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุม COP 29 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 และ

โลกเดือดฉุดเศรษฐกิจ! เสีย GDP 12% ทุก 1 องศา ทำต้นทุนการผลิตพุ่ง เสี่ยงกำไรวูบ

  • (4) หลักการต่อการรับรองปฏิญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ เพื่อสร้างความพร้อมของระบบสาธารณสุข ชุมชน และประชาชน ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related