หลายปีที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินชื่อ เอลนีโญ หรือ ลานีญา ตามข่าวพยากรณ์อากาศผ่านหูกันมาบ้าง และ อาจนึกสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมถึงเกิดพายุ ที่มาพร้อมกับชื่อแปลก ๆนี้ขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับพายุสองพี่น้องนี้กัน
ที่เรียกว่าพายุสองพี่น้องก็เพราะว่า El Niño หรือ ในภาษาไทยเขียนว่า เอลนีโญ เป็นคำที่มาจากภาษาสเปนซึ่งแปลว่า “เด็กผู้ชาย” และ La Niña เขียนว่า ลานีญา เป็นคำที่มาจากภาษาสเปนซึ่งแปลว่า “เด็กผู้หญิง” ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เรียกแทนปรากฏการณ์ทางรูปแบบสภาพภูมิอากาศที่ขัดแย้งกัน
ชื่อ เอลนีโญ นั้นถูกตั้งโดยชาวประมงในอเมริกาใต้ที่สังเกตเห็นถึงกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงปี 1600 และเด็กผู้ชายคนนี้ยังมีชื่อเต็มว่า El Niño de Navidad หรือเด็กผู้ชายแห่งคริสมาสต์ เนื่องจาก เอลนีโญจะเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่มีเทศกาลคริสมาสต์นั่นเอง
ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" นั้น ลมค้า จะอ่อนกำลังลง น้ำอุ่นจะถูกดันไปในฝั่งตรงกันข้ามกับสภาวะปกติ โดยจะดันกลับไปทางทิศตะวันออกไปยังชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา
โดยเอลนีโญสามารถส่งผลต่อสภาพอากาศของเราได้อย่างมาก เนื่องจากน้ำอุ่นทำให้กระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวไปทางใต้จากตำแหน่งที่เป็นกลาง และด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ ภูมิภาคเอเชีย และ ออสเตรเลียจะขาดฝน และ เกิดความแห้งแล้ง และในทางตรงกันข้าม พื้นที่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจะชื้นกว่าปกติและมีน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้น
ปรากฏการณ์เอลนีโญยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลนอกชายฝั่งแปซิฟิกอีกด้วย ในสภาวะปกติ การที่น้ำขึ้นมาจะนำน้ำจากส่วนลึกขึ้นสู่ผิวน้ำ น้ำนี้เย็นและอุดมไปด้วยสารอาหาร ในช่วงเอลนีโญ แพลงก์ตอนพืชนอกชายฝั่งก็จะมีจำนวนน้อยลง สิ่งนี้ส่งผลต่อปลาที่กินแพลงก์ตอนพืช และส่งผลต่อทุกสิ่งที่กินปลาด้วย น้ำทะเลที่อุ่นกว่ายังสามารถนำพันธุ์สัตว์เขตร้อน เช่น ปลาทูน่าหางเหลืองและปลาทูน่าอัลบาคอร์
ลานีญา La Niña แปลว่า เด็กผู้หญิง ในภาษาสเปน โดยลานีญามีผลตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ในช่วงเหตุการณ์ลานีญานั้นลมค้าจะรุนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นเข้าสู่เอเชียมากขึ้น นอกชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำเย็นที่อุดมด้วยสารอาหารขึ้นสู่ผิวน้ำ
น้ำเย็นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหล่านี้ดันกระแสน้ำพุ่งไปทางเหนือ สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ภัยแล้งทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา และฝนตกหนักและน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชีย และ ออสเตรเลีย
อุณหภูมิในฤดูหนาวจะอุ่นกว่าปกติในภาคใต้และเย็นกว่าปกติในภาคเหนือ และมากไปกว่านั้นเด็กผู้หญิงตัวน้อยๆ หรือ ลานีญา สามารถนำไปสู่ฤดูพายุเฮอริเคนที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
โดยปกติแล้ว ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่กั้นระหว่างทวีปเอเชีย และ ทวีปอเมริกา จะมีกระแสลมที่เรียกว่า “ลมค้า” หรือเป็นที่รู้จักในนักเดินเรือทั่วโลกในชื่อ Trade Wind เป็นกระแสลมที่ทำให้เรือจากท่าเรือยุโรปและแอฟริกาเดินทางไปยังอเมริกาใต้ และจากอเมริกาไปยังเอเชีย เป็นลมที่เรือพาณิชย์อาศัยประโยชน์จากมันจนถึงปัจจุบันนี้
ระหว่างเส้นศูนย์สูตรประมาณ 30 องศาเหนือและ 30 องศาทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร ในภูมิภาคที่เรียกว่า "ละติจูดม้า" การหมุนของโลกทำให้อากาศเอียงไปทางเส้นศูนย์สูตรในทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือในซีกโลกใต้ สิ่งนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์โบลิทาร์”
ปรากฏการณ์โบลิทาร์ ร่วมกับบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ทำให้ลมที่พัดผ่านหรือลมค้าเคลื่อนตัวจากตะวันออกไปตะวันตกทั้งสองด้านของเส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน "แถบ" 60 องศานี้
ขณะที่ลมพัดไปประมาณ 5 องศาเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทั้งกระแสลมและมหาสมุทรจะหยุดลงในกลุ่มอากาศร้อนและแห้ง แถบ 10 องศารอบส่วนกลางของโลกนี้เรียกว่า "โซนการบรรจบกันระหว่างเขตร้อน" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ความซบเซา"
และด้วยลมค้านี่เอง ทำให้เกิดการพัดของกระแสน้ำอุ่นจากอเมริกาใต้ไปสู่เอเชีย และเพื่อแทนที่น้ำอุ่นนั้น น้ำเย็นจึงขึ้นมาจากส่วนที่ลึกกว่า โดยกระบวนการที่เรียกว่า น้ำผุด ซึ่งเอลนีโญและลานีญาเป็นรูปแบบสภาพภูมิอากาศที่ขัดแย้งกันและทำลายสภาวะปกติเหล่านี้
เป็นที่ทราบกันดีว่า มนุษย์ คือตัวการสำคัญที่สร้างภาวะเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อธรรมชาติของพวกเราในปัจจุบัน และ การสร้างภาวะเรือนกระจกปริมาณมหาศาลของเรานี่เอง ทำให้ เหตุการณ์ เอลนีโญ และ ลานีญา บ่อยครั้งขึ้น
โดยมีการเปรียบเทียบ ด้วยการจำลองระหว่างปี 1901-1960 กับการจำลองระหว่างปี 1961-2020 ผลลัพธ์ส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึง “ความแปรปรวน” ของปรากฏการณ์เอลนีโญที่เพิ่มขึ้น โดยความแปรปรวนที่รุนแรงมากในปรากฏการณ์เอลนีโญ หลังปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น
และการเกิดเหตุการณ์ เอลนีโญ-ลานีญา ที่บ่อยขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และ ภาวะโลกร้อน เนื่องจากสภาพอากาศไม่เป็นไปตามฤดูกาลที่ควรเป็น
ทั้ง เอลนีโญ-ลานีญา และ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ นั้นเป็นสาเหตุของกันและกัน โดยมีมนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลต่อวิกฤติการณ์นี้
โดยปกติแล้ว เอลนีโญ และ ลานีญา จะมีความยาวของปรากฏการณ์นี้อยู่ที่ 9-12 เดือน โดยจะเกิดขึ้นทุกๆ 2 ถึง 7 ปี แต่ด้วยฝีมือมนุษย์อย่างเรา ๆ ที่สร้างมลภาวะปริมาณมหาศาล จนส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ และ ธรรมชาติ ทำให้ปรากฏการณ์สองพี่น้องนี้มีความยาวนานกว่าที่ควรเป็น
โดยช่วงต้นปี 2023 ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา การเผชิญภัยลานีญา ในทวีป เอเชีย และ ออสเตรเลีย ได้สิ้นสุดลง หลังจากเกิดลานีญาในโซนเอเชีย และ ออสเตรเลีย นานถึง 3 ปี ส่งผลให้หลาย ๆจังหวัดเผชิญกับปัญหาอุทกภัย พืชผักผลไม้ ไม่สามารถออกได้ตามฤดูกาล ไร่นาของเกษตรกรหลายรายได้รับความเสียหาย เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจากไวรัสโควิด-19 ต้องชะลอตัวลง และถึงแม้ว่าเหตุการณ์อุทกภัยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อาจเกิดจากพายุต่างๆ แต่ ลานีญา ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ฝนมาเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนทางสภาพอากาศ และ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัยยาวนานขึ้น
และไม่นานหลังจากการประกาศการสิ้นสุดลงของลานีญา ถัดไปเพียงแค่ 3 เดือน เอลนีโญ ก็ได้เริ่มต้นขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า 5 ปีต่อจากนี้ ปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าปกติ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง
ปรากฏการณ์เอลนีโญ นำมาซึ่งความแห้งแล้ง และ ลานีญา ทำให้เกิดน้ำท่วมและฝนตกหนัก ทั้งสองปรากฏการณ์ถือเป็นความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ GDP และการสูญเสีย รายได้ของคนในประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกร รวมถึงสินค้าเพื่อบริโภค อาจมีการปรับราคาให้สูงขึ้น เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถสร้างผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการได้
ถึงแม้ว่าจะมีไม่มีทางหยุดการเกิดปรากฏการณ์สองพี่น้องนี้ได้ เนื่องจาก เอลนีโญ-ลานีญา นั้นก็เป็นหนึ่งในสภาวะทางธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น แต่การเริ่มใส่ใจสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการสร้างมลพิษในชีวิตประจำวัน ควรเป็นเรื่องที่เรา ๆ นั้นสนใจและเริ่มปฏิบัติกันมากขึ้น วันนี้เรามี Tips 5 ข้อง่าย ๆ ให้ทุกคนลองไปทำตามกันได้ที่บ้าน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลก ช่วยชะลอการเกิดวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และทำให้ปรากฏการณ์สองพี่น้องมาเยือนเราน้อยลง
โดยทุกคนสามารถเริ่มทำตามทีละข้อ หรือ ใครสามารถทำทั้งหมด 5 ข้อพร้อมกันได้ก็ยิ่งดี และถึงแม้การปรับ Lifestyle เพียงเล็กน้อย แต่หากทุกคนเริ่มที่จะทำมันพร้อมๆกัน ทำให้ชินเป็ฯกิจวัตร พวกเราจะได้โลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น และส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้คนรุ่นถัดไป
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ข้อมูลอ้างอิง