ประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ กับประเทศเนเธอร์แลนด์ มีสภาพภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกันมาก คือเป็นพื้นที่ต่ำ แต่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้อย่างดีมาก เป็นระบบ เพราะเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาและมีการจัดการเรื่องน้ำท่วมอย่างจริงจัง
เนเธอร์แลนด์เจอพิษน้ำท่วมครั้งใหญ่ 1953
.
ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีพื้นที่ 20 เปอร์เซนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ เป็น 1 ในประเทศที่มีสถานะเป็น ‘ประเทศแผ่นดินต่ำ’ (Low Countries) เช่นเดียวกันกับเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส (ทางตอนเหนือ) เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าน้ำทะเล ดังนั้นเมื่อ สมัยก่อน จึงมักได้ยินการรายงานข่าวเกี่ยวกับการเกิดอุทกภัยจากประเทศเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง
.
ย้อนกลับไปเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญ วันที่ 31 มกราคม 1953 เนเธอร์แลนด์ ประเทศแห่งนี้ เคยเผชิญกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่มีชื่อว่า ‘The 1953 North Sea Flood’ โดยสาเหตุเกิดจากการรวมกันของน้จำนวนมหาศาล บวกกับลมพายุตะวันตกเฉียงเหนือที่รุนแรงจนทำให้เกิดคลื่นสูง ส่งผลให้เขื่อนพังทลายลง ทำให้พื้นที่ร้อยละ 9 ของประเทศจมอยู่ใต้น้ำ และเหตุการณ์ครั้งนั้นคร่าชีวิตชาวดัตช์ 1,836 คน (หากรวมประเทศอื่นๆที่โดนพิษเหตุการณ์นี้ด้วยจะมีผู้เสียชีวิตเป็น 2,551 คน) ประชาชนกว่า 100,000 คนที่กลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
.
ความเสียหายครั้งนั้น กลายเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ หา วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม ยอมทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไปกับโครงการ Delta Project ที่ประกอบด้วยการสร้างคันกั้นน้ำ เขื่อน และสร้างกำแพงกันคลื่นจากลมพายุกว่า 14 แห่งรอบพื้นที่ที่ติดทะเลทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง และประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ก็ไม่เคยเจอพิษน้ำท่วม แบบรุนแรงสาหัสอีกเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จีนระเบิดเขื่อนเปลี่ยนทิศทางน้ำ สกัดน้ำท่วมเจิ้งโจวซ้ำ หลังเจอฝนพันปี
สมชื่อหนองงูเห่า! งานวิจัยเผย สนามบินสุวรรณภูมิ เสี่ยงน้ำท่วมที่สุดในโลก
ดับแล้ว12! น้ำท่วมใหญ่รอบ1,000ปีที่เจิ้งโจว คนติดรถไฟใต้ดินหลายชั่วโมง
โครงการจัดระบบน้ำ Delta Works
.
เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 1953, ประเทศเนเธอร์แลนด์เล็งเห็น วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม มาก่อนหน้านี้แล้ว และพอมีปัญหากระตุ้นและเร่ง นั่นส่งผลให้ พวกเขาเริ่มโครงการ ‘Delta Works’ ซึ่งจะมาใช้จัดการระบบน้ำทันที
.
สำหรับ โครงการ Delta Works คือโครงการพัฒนาระบบจัดการน้ำ และควบคุมผลกระทบจากภัยพิบัติทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่บริเวณปากแม่น้ำไรน์-เมิส-เชลดา ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินการโดย หน่วยงานจัดการน้ำ Rijkswaterstaat (RWS) ประกอบไปด้วย เขื่อน พนังกั้นน้ำ กำแพงกันคลื่น รวมทั้งสร้างประตูระบายน้ำบริเวณปากอ่าว เพื่อควบคุมน้ำทะเลไม่ให้ทะลักเข้าแม่น้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมในพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน
โดย โครงการ Delta Works การก่อสร้างยาวนาน 1954-1997 โดยใช้งบประมาณกว่า 2.4 แสนล้านบาท คิดเป็น 0.84 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งประเทศ จากเดิมที่ตั้งไว้เพียง 3.6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
.
อธิบายหลักการแบบรวบรัดที่สุด Delta Works คือ ทำหน้าที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกัน นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อตัวชายฝั่ง เพราะน้ำนั้นถูกเลื่อนให้อยู่ไกลจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชน ส่วนที่อยู่ด้านในเขื่อนก็ยังคงเป็นน้ำจืดไม่มีน้ำเค็มจากทะเลเข้ามาปนเปื้อน สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้
.
โดยที่ประตูระบายน้ำไม่ได้ทำหน้าที่ปิดกั้นน้ำทะเลอย่างถาวร แต่จะปิดเฉพาะเวลาที่มีคลื่นลมแรง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำทะเลทะลักเข้ามาในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชนได้
ถอดบทเรียนจากเนเธอร์แลนด์
.
จากบทเรียนของเนเธอร์แลนด์ที่เจอน้ำท่วม และมีปัญหาเกี่ยวกับระดับพื้นที่ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเลด้วยซ้ำ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ ไทยหันมาพิจารณาสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมแบบยั่งยืนได้ ในเชิงหลักการและนโยบาย
โดย แม้ต้องยอมลงทุนอย่างมหาศาลในเบื้องต้น แต่ในระยะยาวก็จะสามารถช่วยป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะต้องเดินตามรอยเนเธอร์แลนด์ทุกก้าว แต่ก็ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ มากที่สุด เพราะต้องลืมว่ามนุษย์ไม่มีวันควบคุมธรรมชาติได้
.
ฝนตกทุกครั้ง ไม่ว่าจะหนัก หรือเบา คนในประเทศไทยยังหวั่นกลัวกับน้ำท่วมทุกครั้ง ขณะที่เนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ 20 เปอร์เซนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เขาสั่งสมความรู้ การแก้ไขกันมาจากอดีตนานแล้ว