svasdssvasds

อัพเดตอุณหภูมิโลก 141 ปีผ่านไป โลกร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

อัพเดตอุณหภูมิโลก 141 ปีผ่านไป โลกร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ภาวะโลกร้อน ที่ร้อนจริงๆจนนักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนว่าอย่าให้อุณภูมิแตะ 1.5 องศาเซลเซียสนะ อยากรู้กันไหมว่าตอนนี้โลกอุณหภูมิเท่าไหร่แล้ว เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน

2021 ยังคงเป็น 1 ใน 7 ปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา แม้ว่าจะมีการเกิดขึ้นของลานีญาตั้งแต่ต้นปียันท้ายปี ผลกระทบของลานีญาเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและไม่เป็นอุปสรรคต่อแนวโน้มระยะยาวของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 โลกเริ่มร้อนขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้า และมันก็ได้ดำเนินการเพิ่มระดับขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยส่วนใหญ่มาจากกรีนเฮาส์ก๊าซในชั้นบรรยากาศ ผลของมันทำให้เราเริ่มมองเห็นความผิดปกติของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสุดขั้วได้ชัดเจนขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก มีฝนมากกว่าหิมะ ณ ยอดเขาบนแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คลื่นความร้อนจากการเกิดไฟป่าในแคนาดาและสหรัฐ ทำให้อุณหภูมิใกล้แตะ 50 องศาเซียลเซียสในอังกฤษ และทำให้แผ่นน้ำแข็งใกล้เคียงเริ่มละลาย ทั้งปัญหาไฟป่าที่ลุกโชนขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่ ฝนที่ตกชุกนานหลายชั่วโมงแต่ละประเทศ ความแห้งแร้งที่ฆ่าผู้คนและสัตว์ในแอฟริกตายไปหลายพันชีวิต สิ่งที่ไม่เคยเห็น ก็จะได้เห็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ

อุณหภูมิโลกถึงไหนแล้ว?

เรารณรงค์กันมาตลอดในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิโลก ซึ่งวันที่ 19 ม.ค. 2564 อุณหภูมิของโลกอยู่ที่ 0.85 องศาเซลเซียส ซึ่งก็น่าแปลกใจนิดหน่อย เพราะเมื่อวันที่ 14 ม.ค.2564 ผู้เขียนจดบันทึกอุณหภูมิโลกได้ 1.02 องศาเซลเซียส ซึ่งทั้ง 2 ตัวเลขนี้มาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันคือ climate.nasa.gov ซึ่งคาดว่าอุณหภูมิลดลงอาจมาจากความแปรปรวนหลังเกิดเหตุภูเขาไฟตองกาปะทุขึ้นมาก็เป็นไปได้ แต่จะเป็นจริงไหม ผู้เขียนไม่อาจทราบได้ เป็นเพียงแค่ข้อสังเกตเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มองข้ามการขึ้นลงของตัวเลขไป และมองพุ่งตรงไปยังเป้าหมายการควบคุมของอุณหภูมิโลก อย่างที่ทราบกันดีว่าหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ภาคเอกชนก็เริ่มที่จะออกนโยบายกันบ้างแล้ว หลังมีการแจ้งเตือนจาก IPCC ที่ส่งสัญญาณเตือนว่าโลกเริ่มก้าวเข้าสู่สภาพอากาศที่แปรปรวนจนยากจะย้อนกลับไปได้ หรือก็คือหายนะของมนุษยชาติ และอุณหภูมิโลกไม่ควรแตะถึง 1.5 – 3 องศาเซลเซียส เพราะหากโลกเดินทางถึงอุณหภูมิดังกล่าวจริงๆ ระดับน้ำในทะเลจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการละลายของเปลือกน้ำแข็ง ทั้งจากขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือ

จากข้อมูลวิดีโอนี้จะแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลงไปแบบไหนในช่วง 100 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยการบันทึกของ nasa

ภาพบันทึกอุณหูมิโลกด้วยการจับรังสีความร้อนเมื่อปี 1880-1884 จากScientific Visualization Studio ของ nasa ภาพบันทึกอุณหภูมิโลกระหว่างปี 2016-2020 โดย nasa หากใครอยากดูเป็นวิดีโอเคลื่อนไหว คลิ๊กที่นี่ >>> https://svs.gsfc.nasa.gov/4882

ระดับน้ำทะเลล่ะ เป็นยังไงบ้าง?

มาดูในเรื่องระดับน้ำทะเลกัน ตั้งแต่ปี 1880 ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง 8-9 นิ้ว (21-24 ซม.) และในปี 2020 ระดับน้ำทะเลก็ขึ้นสูงถึง 3.6 นิ้ว ซึ่งมากกว่าปี 1993 การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนั้นสำคัญอย่างมาก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเกิดจากเส้นทางการปล่อยมลพิษที่สูงขึ้น ซึ่งใช้เวลาหลายศตวรรษกว่าจะปรากฎ และก็เริ่มปรากฏออกมาแล้วในยุคของเรา ซึ่งล้วนแต่เป็นการกระทำของมนุษยชาติทั้งสิ้น และอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าภาวะโลกร้อนจะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นทำให้เกิดน้ำท่วมและการอพยพของผู้คนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในแถบชายฝั่งทะเลสำคัญๆทั่วโลก หากเราจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสและปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสอย่างเข้มงวด ผลที่ตามมาเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

ภาพแผนที่จำลองจาก climate central หากโลกเดินทางถึงอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส (สีฟ้า) และ 3 องศาเซลเซียส (สีแดง) จากข้อมูลและการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของ Climate Central ก็ได้รายงานการคาดการณ์ระดับน้ำสูงขึ้นหากอุณหภูมิแตะ 1.5 องศาเซลเซียส ด้วยแผนที่เพื่อให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้น หากมันเกิดขึ้นจริง เช่น กรุงเทพคือเมืองที่เสี่ยงจมหายไปมากที่สุด หากโลกเดินทางสู่ 1.5 องศาเซลเซียส และเมืองใหญ่สำคัญ เช่น ไมอามี บาฮามาส ทาบาสโก อ่าวเม็กซิโก เวนิช โฮจิมินซิตี้ เซี่ยงไฮ้ บอสตัน เป็นต้น

เหตุผลหลักๆของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลคือ

  • น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทั้งแผ่นน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง
  • น้ำอุ่นขึ้น มหาสมุทรขยายตัว
  • ปริมาณน้ำบนบกลดลง การเปลี่ยนถ่ายและซึมน้ำจากพื้นดินสู่มหาสมุทร

นอกจากนี้การปล่อยคาร์บอนสะสมจากกิจกรรมของมนุษย์ในศตวรรษที่ 20 และ 21 ถูกคาดการณ์ว่าจะรักษาอุณหภูมิโลกไว้ได้หลายพันปี ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลาหลายทศวรรษ และเนื่องจากวงจรป้อนกลับที่เป็นไปได้ เช่น การละลายของน้ำแข็งแห้ง คาร์บอนที่มีอยู่แล้วในชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ทให้โลกร้อนขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส ซึ่งเพียงพอสำหรับระดับน้ำทะเลเฉลี่ยวทั่วโลกจะหนุนสูงขึ้นประมาณ 1.9 เมตร ตลอดหลายทศวรรษต่อจากนี้ แม้ว่าเราจะตั้งเป้า ปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็น 0 แล้วก็ตาม

ผลกระทบขนาดใหญ่ที่ตามมา

ประมาณ 5% ของประชากรโลกปัจจุบันอาศัยอยู่บนพื้นดินที่ถูกคาดการณ์ว่าระดับน้ำจะสุงขึ้น 1.9 เมตร ในไม่กี่ศตวรรษข้างหน้านี้ อ้างอิงจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งไปสะสมในชั้นบรรยากาศ ถ้าหากเกิน 1.5 องศเซลเซียสไปแล้ว จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มอีกเฉลี่ย 2.9 เมตร ส่งผลกระทบต่อผู้คน 510 ล้านคน แต่ถ้าโลกได้แตะถึง 3 องศาเซลเซียสจริงๆ จะทำให้พื้นดิน 10% ของโลกจมหายไป หรือมากกว่า 800 ล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัยนั่นเอง

ซึ่งลองนึกภาพตามดูง่ายๆว่า พอระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นมาจากชายฝั่ง เหมือนน้ำท่วม แน่นอนว่าการเกษตรทำไม่ได้อีกต่อไป เศรษฐกิจหยุดชะงัก จะระบายน้ำออกไปทางไหนก็ไม่ได้ เพราะน้ำเข้ามาทางทะเลซึ่งเป็นที่โล่งกว้าง หากคิดแกล้งว่าเอากำแพงมากั้นน้ำทะเล มันก็ดูจะใช้ความคิดน้อยเกินไปและเราอาจเหมือนไททัน แต่ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปก็อาจไม่แน่ เมื่อน้ำเริ่มหนุนสูงขึ้นมา การยกของขึ้นที่สูงจะไม่เป็นเพียงแค่ยกไปไว้บนหลังคาหรือตึกสูงอีกต่อไป มันจะกลายเป็นอพยพหนีขึ้นภาคเหนือและภาคอีสานแทน เพราะอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่าภาคกลาง นึกภาพคนหลายล้านคนอพยพหนีก็วุ่นวายเหมือนวันโลกแตกมากพอแล้ว ซึ่งก็ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นจริงๆหรอก

ติดตามเรื่องราวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่น่าสนใจทุกวันได้ทาง Springnews

ที่มาข้อมูล

https://climate.nasa.gov/vital-signs/global-temperature/

https://svs.gsfc.nasa.gov/4882

https://www.climatecentral.org/news/picturing-our-future

https://youtu.be/PiR6TnAx36E

related