svasdssvasds

ต้อนรับปีเสือทองกับการติดตามสถานการณ์เสือทั่วโลก ที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มที

ต้อนรับปีเสือทองกับการติดตามสถานการณ์เสือทั่วโลก ที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มที

เสืออยู่ในสถานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์! ไหนๆก็ปีเสือทองทั้งปี เรามาดูกันหน่อยไหมว่าเสือทั่วโลกนั้นเป็นอย่างไรบ้างแล้วสถานการณ์เสือในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง

หลังจากสถานการณ์จำนวนเสือโคร่งทั่วโลกล่อแล่มานานนับศตวรรษ ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาจำนวนเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะปกป้องพวกมันจากสถานะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ได้ เพราะปี 2021 ยังมีรายงานมาต่อเนื่องว่าจำนวนเสือโคร่งเริ่มลดลงอีกแล้วในรัฐที่มีพื้นที่ห่างไกลในแผ่นดินใหญ่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะประเทศเหล่านี้มีรายงานจำนวนเสือที่ลดลงจนมีประชากรเหลือน้อยกว่าที่บันทึกไว้ในปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่มีการตั้งเป้าหมายระดับโลกว่าต้องเพิ่มจำนวนประชากรเสือให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าให้ได้ภายในปี 2022

ในปี 2010 จำนวนเสือโคร่งอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นปะวัติการณ์ โดยมีประชากรเสือเหลืออยู่ในป่าเพียง 3,200 ตัว เพื่อบรรลุเป้าหมายการเพิ่มจำนวนเสือโคร่งที่เหลืออยู่ให้ได้ 2 เท่า 13 ประเทศจึงต้องร่วมมือกัน

ต้อนรับปีเสือทองกับการติดตามสถานการณ์เสือทั่วโลก ที่ใกล้สูญพันธุ์เต็มที ทำไมจึงต้องเป็น 13 ประเทศ

เพราะปัจจุบัน เสือโคร่งทั่วโลกมีที่อยู่อาศัยอยู่เพียงแค่ 13 ประเทศจากทั่วโลกเท่านั้น ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและยังสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ตามรายงานการสำรวจจำนวนประชากรเสือโคร่ง โดย 13 ประเทศที่เป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งนั้น ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย (สุมาตรา) ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล รัสเซีย ไทย เวียดนาม และเพิ่มเติมไม่กี่ตัวในเกาหลีเหนือ (เหตุที่ไม่นับเกาหลีเหนือใน 13 ประเทศเพราะว่าไม่ได้ร่วมปฏิญญาในการอนุรักษ์เสือโคร่ง)

ข่าวที่เกี่ยวข้อ

ตั้งแต่ความร่วมมมือครั้งนั้นเป็นต้นมา สถานการณ์เสือโคร่งยังคงอยู่ในอัตราขึ้นๆลงๆจากความก้าวหน้าของบางประเทศที่ยังคงเสี่ยงต่อแนวโน้มการลดลงของจำนวนเสือโคร่ง โดยเฉพาะอินเดีย เนปาล และรัสเซีย และในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เสือโคร่งได้สูญพันธุ์ไปแล้วในกัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม อีกทั้งมีแนวโน้มการลดลงของเสือโคร่งอย่างมีนัยสำคัญในมาเลเซีย เมียนมาร์ และประเทศไทยของเรา อัพเดตล่าสุดจาก WWF เผยแพร่วันที่ 29 กรกฎาคม 2021

การดักซุ่มโดยผู้ลักลอบล่าสัตว์เป็นภัยคุกคามต่อเสือโคร่งมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย และการขยายตัวทางการเกษตร เสือยังอู่ภายใต้แรงกดดันจากการลักลอบล่าสัตว์เพื่อการค้าชื้นส่วนเสืออย่างผิดกฎหมาย

แม้จำนวนเสือโดยรวมจะลดลงในภูมิภาค แต่ก็มีเรื่องราวความสำเร็จเล็กๆให้ได้ชื่นใจในท้องถิ่น จากการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อต้านการรุกล้ำของชุมชนพื้นเมืองในป่าเบลุม-เตเมงกอร์ของมาเลเซีย (Belum-Temengor Forest) มีส่วนทำให้การทำงานของกำดักลดลง 94% ตั้งแต่ปี 2017

ส่วนในประเทศไทย เสือโคร่งกำลังกระจายตัวจากเขตรักษาพันธุ์ห้วยขาแข้งไปยังพื้นที่คุ้มครองอื่นๆ ด้วยการจัดการอนุรักษ์ที่แข็งแกร่งและทำให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์เชื่อมต่อกัน แมวนักล่าตัวใหญ่ ผู้มีความสำคัญอย่างมากในการช่วยโลกจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ทำไมเสือถึงมีความสำคัญ

แมวตัวใหญ่ที่สวยงามและทรงพลังเหล่านี้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลายตั้งแต่ป่าฝน ทุ่งหญ้า ทุ่งสะวันนา ไปจนถึงป่าชายเลน และที่อยู่สงบนภูเขา ดังนั้นพวกมันจึงมีความสำคัญในระบบนิเวศอย่างมากที่จะสามารถจัดหาน้ำ อาหาร และห้องให้ผู้คนได้เดินเตร็ดเตร่

ในฐานะนักล่าชั้นนำของห่วงโซ่อาหาร เสือโคร่งช่วยรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมันให้สมดุลด้วยการล่าเหยื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินพืช สัตว์กินพืชที่มีมากเกินไปจะนำไปสู่การกินพืชกินหญ้าที่มากเกินไปและเกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ

เสือยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจในที่ที่มีเสืออาศัยอยู่ด้วยได้ นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชุมชน ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากทางเลือกเล็กๆ โครงการอนุรักษ์เสือโคร่งจะช่วยจัดหาวิถีชีวิตทางเลือกให้กับชุมชนในชนบทและสามารถสร้างรายได้ไปพร้อมกันได้

เพื่อปกป้องเสือโคร่ง เราต้องปกป้องผืนป่าอันกว้างใหญ่ทั่วเอเชียที่พวกมันอาศัยอยู่ ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และผลพวงของการปกป้องนี้จะทำให้เราสามารถอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดอื่นๆได้ด้วย และเป็นที่ทราบกันดีว่าป่าที่มีเสืออาศัยอยู่จะมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากและเพียงพอที่จะกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าแหล่งที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วย

เรื่องของเสือ

เสือโคร่งมีอยู่ 2 สายพันธุ์ที่รู้จักกัน : เสือโคร่งทวีป (Panthera tigris tigris) และเสือโคร่งเกาะซุนดา (Panthera tigris sondaica) เป็นเสือที่ตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาเสือทั่วเอเชีย เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endanger) เสืออาศัยการมองเห็นและเสียงเป็นหลัก มากกว่าการดมกลิ่นในการล่าสัตว์ พวกมันมักออกล่าตามลำพัง เสือโคร่งสามารถกินเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้มากกว่า 80 ปอนด์ในคราวเดียว โดยเฉลี่ยแล้ว เสือโคร่งจะออกลูก 2-4 ตัวทุกสองปี ถ้าลูกทั้งหมดในครอกเดียวกันตาย ครอกที่สองจะเกิดขึ้นภายในห้าเดือน

สายสัมพันธ์เสือส่วนใหญ่จะมีแค่แม่ลูกเท่านั้น เมื่อมันเติบโตมันจะออกล่าเองอย่างสันโดษ เสือมักจะได้อิสรภาพเมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี และบรรลุวุฒิภาวะทางเพศเมื่ออายุสามหรือสี่ขวบสำหรับตัวเมีย และสี่หรือห้าปีสำหรับตัวผู้ มีอายุขัยเฉลี่ย 15-20 ปีพอๆกับแมวบ้าน แต่ส่วนใหญ่ลูกเสือประมาณครึ่งหนึ่งมักอยู่รอดได้ไม่เกินสองปี

เสือส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยวนอกเหนือจากความสัมพันธ์แม่ลูก เสือโคร่งแต่ละตัวจะมีอาณาเขตที่กว้างขวาง โดยมันจะกำหนดเขตของมันด้วยการทำเครื่องหมาย เช่น การปัสสาวะ อุจจาระ ถูตัวตามต้นไม้ และเปล่งเสียง

รายงานปี 1980 ได้เผยรายชื่อสายพันธุ์เสือที่สูญพันธุ์จากโลกนี้ไปแล้ว ได้แก่ เสือบาหลี เสือชวา และเสือแคสเปียน

และเสือสายพันธุ์ที่เหลือถูกขึ้นบัญชีแดงของ IUCN หรือองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้แล้วด้วย ได้แก่ เสือเบงกอล เสือโคร่งอินโดจีน เสือสุมาตรา เสือไซบีเรียน และเสือมลายู

*หมายเหตุ การจำแนกประเภทเสือ ตั้งแต่ปี 2017 IUCN ได้รองรับเสือโคร่ง 2 สายพันธุ์ โดยทั่วไปจะเรียกเสือโคร่งทวีปกับเสือโคร่งเกาะซุนดา ซึ่งเป็นเสือโคร่งที่พบได้เฉพาะในสุมาตราเท่านั้น โดยเสือโคร่งในชวาและบาหลีนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งส่วนนี้คือเสือสุมาตรา ส่วนเสือโคร่งในทวีปปัจจุบันได้แก่ เสือโคร่งเบงกอล มาเลย์ อินโดจีน และอามูร์ (ไซบีเรีย) ในขณะที่เสือโคร่งแคสเปียนสูญพันธุ์ไปแล้วพร้อมเสือโคร่งจีน

สถานการณ์เสือโคร่งในไทย

ข้อมูลจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ป่าหลายแห่งในประเทศไทยเคยมีเสืออาศัยอยู่มาก แต่ปัจจุบันเสือมีจำนวนลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หรือบางพื้นที่ไม่มีรายงานการพบเสือในพื้นที่ป่านั้นอีกเลย ยกเว้นก็แต่เสือที่อยู่ในกลุ่มป่าตะวันตกที่มีจำนวนเสือโคร่งเพิ่มขึ้น

ป่าตะวันตก เป็นพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ในประเทศที่มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุด ประกอบไปด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง และอุทยานแห่งชาติ 11 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัดคือ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี

จากการสำรวจวิจัยเสือโคร่งในประเทศไทยด้วยกล้องดักถ่ายตั้งแต่ปี 2553 – 2563 พบเสือโคร่งในป่าธรรมชาติ 130 – 160 ตัว หากประเมินเฉพาะในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันตกในระยะเวลา 10 ปี พบว่าประชากรเสือโคร่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 42 ตัว เป็น 79 ตัว ถือว่าเป็นแหล่งสำคัญของโลกที่มีการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติจนประชากรเสือเพิ่มขึ้น

และมีข่าวดีที่ข้อมูลจากการลาดตระเวนและการศึกษาวิจัยโดยใช้กล้องดักถ่าย ยังสามารถพบเสือโคร่งกว่ายี่สิบตัวในอุทยานแห่งชาติทับลาน และเป็นแรงผลักดันให้มีการดำเนินการสร้างทางเชื่อมผืนป่าทับลานเขาใหญ่

หากประเทศไทยสามารถรักษาประชากรเสือโคร่ง และเพิ่มจำนวนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ก็จะนับได้ว่าประเทศไทยได้ดูแล และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในพื้นที่ที่ไม่เคยพบเสือมานานให้กลับมามีเสือโคร่ง เป็นดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ประเทศไทยสามารถรักษาประชากรเสือโคร่งเอาไว้ได้นั้นเป็นผลสืบเนื่องให้เกิดการขยายผลระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งต่อไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออกและตะวันตก อุ้มผาง สลักพระ และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์-คลองลาน

เพียงแต่หวังว่าประเทศไทยจะยังคงไว้ได้ซึ่งสายพันธุ์ของเสือโคร่งที่สำคัญต่อระบบนิเวศขนาดใหญ่นี้ไว้ได้ ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรมีสัตว์สายพันธุ์ไหนต้องสูญพันธุ์เลย เพียงเพราะฝีมือมนุษย์ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้เสือจะเป็นสัตว์นักล่าที่ทำให้มนุษย์เกรงกลัวได้ยามเผชิญหน้ากับมันเพียงลำพัง แต่ที่จริงแล้ว มนุษย์นี่แหละเป็นผู้อยู่จุดสูงสุดของวงจรชีวิตพวกมัน และใช้ความสูงของห่วงโซ่นั้น ทำลายสิ่งที่มีอยู่อย่างราบคาบได้ ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ขอให้เสือโคร่งอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป สวัสดีปีเสือทอง

ที่มาข้อมูล

https://wwf.ca/species/tigers/

https://www.worldwildlife.org/species/tiger

https://www.wwf.org.uk/press-release/global-tiger-day-2021

https://www.seub.or.th/bloging/into-the-wild/thailand-tiger-2021/

https://www.iucn.org/news/species/202107/new-report-iucns-tiger-programme-finds-there-has-been-average-increase-tiger-population-within-project-sites-40-between-2015-and-2021

related