svasdssvasds

สถิติขยะในทะเลทั่วโลก 2022 มลพิษทางทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม

สถิติขยะในทะเลทั่วโลก 2022 มลพิษทางทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ติดตามสถานการณ์ขยะในทะเลทั่วโลกและสถานการณ์ขยะในไทย 2022 ว่าเราสูญเสียสมดุลทางระบบนิเวศไปมากขนาดไหนแล้ว ปัญหามันจากอะไรและแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ในปี 2021 ที่ผ่านมา แม้ว่ากลุ่มรณรงค์หรือนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจะออกมาพูดมาเตือนในหลายๆเรื่องด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยสำคัญในการก่อตัวของวิกฤติภาวะโลกรวนหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่อยู่รอบตัวเรา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่เคยลดลงเลย แม้ว่าช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาจะมีการประชุม COP26 เพื่อเร่งหาข้อสรุปการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แต่ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าผู้นำที่เข้าร่วมประชุมนั้นจะทำตามที่พูดไว้ได้หรือไม่

หากนับสัดส่วนทั่วโลกอย่างที่ทราบกันดีว่า โลกใบนี้ส่วนใหญ่กว่า 3 ใน 4 ประกอบไปด้วยมหาสมุทร ยังมีพื้นที่อีกกว้างใหญ่ในการสำรวจและค้นหาความลึกลับและความอัศจรรย์ใจของโลกใบนี้ แต่กว่าจะไปเจอสิ่งเหล่านั้นเรากลับพบกำแพงขยะและปัญหามลพิษทางทะเลมากมาย ที่ไม่ได้มาจากใครไหนไกลเลย มาจากน้ำมือของพวกเราเองทั้งนั้น

บทความนี้ Springnews ชวนสำรวจปัญหามลภาวะในทะเลที่กำลังก่อตัวขึ้น และมีส่วนทำให้สัตว์น้ำหลายล้านตัวล้มตายทุกๆปี ท้องทะเลที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดโปรดของใครหลายคน แต่เบื้องล่างของมันนั้นกลับกำลังมีหลายชีวิตกำลังทุรนทุรายและใช้ชีวิตอย่างยากลำบากอยู่ แต่จะมีสภาพเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปดูกัน

สถิติขยะในทะเลทั่วโลก 2022 มลพิษทางทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก Statista และ condorferries.co.uk ได้เผยสถิติของขยะในทะเลและสถิติการตายของสัตว์น้ำในแต่ละปี ว่าพวกมันต้องเจอกับมลพิษอะไรบ้าง ในช่วงระหว่างปี 2020-2021จากการ Big Cleaning Ocean ปี 2018 และการบันทึกเพิ่มเติมในปีถัดมาพบว่า

  • ในแต่ละปีสัตว์น้ำกว่า 100 ล้านชีวิตต้องจบชีวิตอย่างเดียวดาย โดยมีสาเหตุมาจากขยะพลาสติก
  • สัตว์น้ำ 100,000 ชีวิตตายจากการถูกพลาสติกพันหรือห่อหุ้มจนขาดอากาศหายใจ
  • พบสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 1 ใน 3 สายพันธุ์ ติดอยู่ในขยะพลาสติก พร้อมกับปลาในแปซิฟิกเหนือกินพลาสติกประมาณ 12,000-14,000 ตันทุกปี
  • ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เราได้ผลิตพลาสติกมากกว่าศตวรรษที่ผ่านมา โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีมลพิษที่มาจากปลามากกว่าขยะพลาสติกที่เราทิ้งไป
  • ถังขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ Great Pacific Garbage Patch มีขนาดเทียบเท่ากับเท็กซัส 2 เท่า และมีปริมาณมากกว่าสิ่งมีชีวิตในทะเล 6 ต่อ 1
  • ประเทศจีนติดอันดับ 1 ของประเทศที่จัดการพลาสติกล้มเหลวมาหลายปีแล้ว อีกด้านหนึ่งสหรัฐติดอันดับ 1 ใน 20 ประเทศตลอดในด้านของปริมาณขยะต่อปัจเจกบุคคลมากที่สุดในโลก (หนึ่งคนทิ้งขยะมากที่สุด)
  • เต่าทะเลกินถุงพลาสติกไปหลายชิ้นต่อ 1 ตัว เพราะคิดว่าคือแมงกะพรุนที่เป็นอาหารของมัน
  • 300 ล้านตันของพลาสติกจะถูกผลิตขึ้นทุกปี และมีน้ำหนักเทียบเท่ากับประชากรมนุษย์ทั้งหมด และ 50% ของขยะคือเป็นประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง การจัดการขยะตอนนี้ทั่วโลกยังไม่มีประเทศใดสมบูรณ์นัก แต่อย่างไรก็ดี การแยกขยะเพื่อให้มันยังคงอยู่บนบกในศูนย์กำจัดขยะให้ได้นานที่สุดจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
  • มีขยะพลาสติกประมาณ 5.25 ล้านล้านชิ้นที่คาดว่าลอยอยู่ในมหาสมุทรทน้ำหนักประมาณ 269,000 ตัน
  • 70% ของขยะวนเวียนอยู่ในระบบนิเวศมหาสมุทร 15% ลอยตัวเหนือน้ำ อีก 15% อยู่ยนชายหาดริมทะเล
  • พลาสติกที่ถูกทิ้งในทะเล 8.3 ล้านตันทุกปี ในจำนวนนี้ประมาณ 236,000 ชิ้นเป็นไมโครพลาสติกซึ่งทำให้สัตว์ทะเลเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหาร
  • พลาสติกใช้เวลา 500-1000 ปีในการย่อยสลาย ปัจจุบัน 79% ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบหรือในมหาสมุทร มีเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล และ 12% ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน
  • ช่วงปี 1950-1998 มีการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์มากกว่า 100 ครั้งเกิดขึ้นในมหาสมุทรของเรา
  • ปัจจุบันสถานที่ทางทะเล 500 แห่งได้รับการบันทึกให้เป็นเขตมรณะทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีขนาดเท่ากับแผ่นดินสหราชอาณาจักร (245,000 ตารางกิโลเมตร)
  • 80% ของมลพิษทางทะเลทั่วโลกมาจากการไหลบ่าทางการเกษตร น้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัด การปล่อนสารอาหารและย่าฆ่าแมลงชนิดรุนแรง
  • มลพิษพลาสติกในน้ำมักถูกพบในเต่า 100% รองลงมาคือวาฬ 59% และ 36% คือแมวน้ำ
  • 90% ของนกที่หากินตามท้องทะเลถูกพบว่ามีพลาสติกในท้องของพวกมัน นกเกือบทุกตัวที่หากินในทะเลมักมีเศษพลาสติกในท้องของพวกมัน
  • ปรากฎการณ์ ‘ตกปลาผี’ คือการพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างเช่น แมวน้ำ ตายในอวนจับปลาที่ไม่ใช้แล้วถูกทิ้งในทะเล
  • ปลาส่วนใหญ่ที่มนุษย์เราบริโภค เช่น ปลาเทราส์ ปลาเพิร์ช ปลาซิสโก ปลาทู แซลมอน ฯลฯ พวกมนมักจะกินพลาสติกและไมโครไฟเบอร์เข้าไปโดยไม่รู้ตัว และก็ส่งต่อมาหาเรา
  • ในการทพความสะอาดมหาสมุทรครั้งใหญ่ในปี 2018 อาสาสมัครเก็บก้นบุหรี่ในทะเลและชายหายได้กว่า 2.4 ล้านชิ้น
  • 60% ของวัสดุประกอบในเสื้อผ้าของเรามีส่วนผสมของพลาสติก เช่น ไนลอน อะคริลิค โพลีเอสเตอร์ ฯลฯ และแต่ละครั้งในการซักผ้าทั่วไปจะมีเส้นใยไมโครพลาสติกประมาณ 700,000 เส้น หลุดปนไปกับน้ำทิ้ง

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งอันน้อยนิดของการค้นพบที่น่าทึ่งของผู้เก็บข้อมูล รวมถึงผู้เขียนเองด้วยว่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี เราสร้างความเสียหายให้กับมหาสมุทรกันอย่างไม่รู้ตัว พลาสติกส่วนใหญ่มีอายุหลายร้อยปี แต่มันอยู่กับเราเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น และถูกเปลี่ยนเป็นอาวุธชีวภาพที่ร้ายแรงแก่สัตว์น้ำ

ในประเทศไทย Thailand Development Research Institute (TDRI) ได้สำรวจและบันทึกสถิติขยะที่พบในทะเลจากการ Big Cleaning ในปี 2020 ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่าประเทศของเรามีขยะอย่างน้อยประมาณ 1.03 ตันถูกทิ้งในทะเลทุกปี ประเภทขยะที่พบมากที่สุดคือ เศษพลาสติก 12%, กล่องโฟม 10%, พลาสติกห่ออาหาร (Food wrappers) 8%, ถุงพลาสติก 8% ขวดแก้ว 7%, ขวดพลาสติก 7% และ หลอด 5%

โดยในทุกปี ประเทศไทยจะผลิตขยะพลาสติกได้ประมาณ 27.8 ล้านตันต่อปี และประมาณ 7.19% หรือประมาณ 2 ล้านตันมาจากภาคครัวเรือนหรือชุมชน ซึ่งไหลมาตามแม่น้ำสู่ทะเล

พลาสติกเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและถูกใช้งานเมื่อปี 1907 และเริ่มกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายในช่วงระหว่างปี 1940 -1950 น่าเสียดายสำหรับสิ่งแวดล้อมของเราโดยเฉพาะมหาสมุทร ที่ขยะพลาสติดทุกชิ้นที่เราเคยสร้างอยู่คงอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งและวนเวียนอยู่ในโลกใบนี้ อย่างที่บอกไปว่าพลาสติกมีอายุอย่างน้อย 100 ปี แต่นี่ยังผ่านมาไม่ถึง 100 ปีเลย แสดงว่าพลาสติกรุ่นแรกยังคงวนเวียนอยู่บนโลกใบนี้ และมันก็ยังคงมีการผลิตรุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ หลากหลายรูปแบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

สถิติขยะในทะเลทั่วโลก 2022 มลพิษทางทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ซึ่งปัญหาหลักที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนนั่นคือการจัดการขยะอย่างเป็นระบบที่ยังไม่มีในประเทศไทย หรือยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ รวมไปถึงมีการปลูกฝังถึงวิธีการแยกขยะและความสะดวกในการส่งรีไซเคิลในภาคประชาชนน้อยมาก ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำเป็นกิจวัตรของชุมชนรวมไปถึงปัจเจคบุคคลด้วย ดังนั้นเริ่มจากเรื่องพื้นฐานง่ายๆด้วยการหมั่นแยกขยะให้ถูกต้องตามประเภทก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี

หากอยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาที่พบเจอไปตามอ่านต่อได้ที่ https://www.condorferries.co.uk/marine-ocean-pollution-statistics-facts

ที่มาข้อมูล

https://www.statista.com/statistics/726724/weight-of-most-common-items-found-in-global-oceans/

https://tdri.or.th/en/2021/06/disparity-worsens-ocean-pollution/

https://www.condorferries.co.uk/marine-ocean-pollution-statistics-facts

https://www.statista.com/chart/12211/the-countries-polluting-the-oceans-the-most/

https://www.nationalgeographic.com/environment/article/plastic-pollution

related