น่าตื่นเต้น มัมมี่ฟาโรห์อียิปต์โบราณอายุกว่า 3,000 ปี ถูกนำไปสแกนดูภายในเป็นครั้งแรก หลังการค้นพบเมื่อปี 1881 เพื่อดูว่าในครั้งที่มีชีวิต กษัตริย์องค์นี้มีหน้าตาอย่างไร
มัมมี่ของฟาโรห์โบราณ Amenhotep l (อาเมนโฮเทปที่ 1) แห่งอาณาจักรอียิปต์ถูกห่ออย่างวิจิตรบรรจง ตกแต่งด้วยมาลัยไม้และปิดทับด้วยหน้ากากใบหน้าคนเสมือนจริง นักวิทยาศาสตร์ลังเลที่จะเปิดโลงใบนี้มานานเหลือเกิน และตอนนี้พวกเขาอดทนไม่ไหวอีกต่อไปที่จะค้นหาคววามลับภายในของมัมมี่
3,000 ปีหลังจากการฝังศพของ Amenhotep ทีมนักวิจัยได้ใช้ทีซีสแกน (CT scans) เพื่อแกะร่องรอยลนร่างกายของเขาด้วยระบบดิจิทัลเป็นครั้งแรก โดยจะสามารถมองผ่านชั้นต่างๆหลายชั้น เพื่อเผยให้เห็นว่าตอนที่เขามีชีวิตอยู่นั้น รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
พวกเขาพบว่าฟาโรห์ผู้นี้ปกครองดินแดนตั้งแต่เมื่อประมาณ 1525 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี 1504 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุได้ 35 ปีและสูง 169 เซนติเมตร เมื่อเขาเสียชีวิต เขายังเข้าสุหนัต (พิธีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ) และมีฟันที่แข็งแรงดีอีกด้วย ใต้ห่อนั้นมีเครื่องรางราว 30 ชิ้นและสายผ้าคาดเอวสีทองที่ทำจากลูกปัดทองคำอันเป็นเอกลักษณ์ของกษัตริย์ ผู้ร่วมวิจัย Sahar Saleem ศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยาแห่งคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยไคโรกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อังกฤษค้นพบสุสานแมมมอธอายุ 200,000 ปี จิ๊กซอว์เชื่อมเรื่องราวในอดีต
ฟอสซิลหมีแพนด้ายักษ์ อายุกว่าแสนปี ถูกค้นพบใน ถ้ำซวงเหอ ถ้ำใหญ่สุดในเอเชีย
ชิลีค้นพบมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อายุกว่า 7,000 ปีมากกว่าอียิปต์ซะอีก
ผ้าคาดเอวผืนนี้อาจมีความหายพิเศษ รวมถึงเครื่องรางต่างๆมีหน้าที่ช่วยเหลือกษัตริย์องค์นี้ในโลกหลังความตาย ซาฮี ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงโบราณวัตถุของอียิปต์และผู้เขียนร่วมของการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์เมื่อวันอังคาร 28 ธันวาคมที่ผ่านมา ในวารสาร Frontier in Medicine
มัมมี่ของ Amenhotep l สวมเครื่องประดับที่เป็นผ้าคาดเอว เช่นเดียวกับชาวอียิปต์โบราณที่มักสวมเครื่องประดับบริเวณเอว และแถบคาดเอวบางตัวก็มีเปลือกหอยอยู่ด้านข้าง
Amenhotep l
อียิปต์ได้ขยายดินแดนออกไปทางตอนเหนือของซูดานในช่วงที่ Amenhotep l ครองราชย์ระหว่างราชวงศ์ที่ 18 ฟาโรห์ได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างและได้แผ่ขยายออกไปจำนวนมากโดยเฉพาะการขยายวัดหรือที่เคารพบูชาเทพเจ้า และไม่มีใครรู้ว่าฟาโรห์สิ้นพระชนม์อย่างไรและพระศพถูกฝังไว้ที่ไหนในช่วงนั้น
ทีมค้นหานำโดยนักอียิปต์วิทยาชาวฝรั่งเศส Gaston Maspero พบมัมมี่ของ Amenhotep ในปี 1881 พร้อมกับมัมมี่อื่นๆอีกหลายคนในหลุมฝังศพทางฝั่งตะวันตกของ Thebes (ปัจจุบันคือเมืองลักซอร์) มัมมี่ของเขาถูกนำไปฝังไว้ในสุสานช่วงราชวงศ์ที่ 21 (ประมาณ 1070 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง 945 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากที่มัมมี่ถูกปล้นหายไปในสมัยโบราณ
นักวิจัยพบว่า พวกโจรทำร้ายร่างกายของฟาโรห์ จากภาพ CT แสดงให้เห็นความเสียหายของมัมมี่ Amenhotep l โดยพบการแตกหักของกระดูกบริเวณคอ พบร่องรอยบริเวณช่องท้องด้านหน้าและแขนขาหัก รวมทั้งมือและเท้าขวาของเขาด้วย
นักวิจัยได้ค้นพบเพิ่มเติมว่า นักบวชได้ซ่อมแซมมัมมี่โดยวางแขนขาที่โดนแยกออกมาแล้วกลับเข้าที่ โดยใช้เรซินเพื่อยึดชิ้นส่วนของมัมมี่ไว้ด้วยกัน และพันตัวด้วยผ้าพันแผลอันใหม่
“เราแสดงให้เห็นแล้วว่าอย่างน้อย Amenhotep l ได้ถูกนักบวชซ่อมแซมเสียใหม่จากบาดแผลที่โจรขโมยสุสานทำลลายด้วยความทะนุทนอม และนำมัมมี่ของเขาคืนสู่ความรุ่งโรจน์ในอดีต รวมไปถึงดูแลรักษาเครื่องประดับและเครื่องรางอันงดงามไว้ได้อย่างดี” ซาลีมกล่าวในแถลงการณ์
สิ่งใดปลิดชีพฟาโรห์นั้นไม่ชัดเจนเท่าไหร่ “เราไม่พบบาดแผลหรือการเสียโฉมอันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อจะมาเป็นข้อพิสูจน์สาเหตุการสินพระชนม์ได้เลย”
การสแกนทำให้เรากระจ่างว่าฟาโรห์มีรูปร่างเป็นอย่างไรในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ เขามีหน้าตาเหมือนพ่อของเขา (Ahmose l) เขามีคางแคบ จมูกแคบเล็กๆ ผมหยิก และฟันบนที่ยื่นออกมาเล็กน้อย
นักวิจัยกล่าวว่ามัมมี่ของฟาโรห์ส่วนใหญ่ ถูกแกะลักษณะทางร่างกายเพื่อศึกษาอย่างละเอียดด้วยการใช้ CT scan ซึ่ง Amenhotep l เป็นหนึ่งในมัมมี่ราชวงศ์ไม่กี่แห่งที่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด “ข้อเท็จจริงคือมัมมี่ของเขาไม่เคยถูกแกะออกมาสำรวจเลยในยุคสมัยปัจจุบัน ทำให้นี่กลายเป็นโอกาสพิเศษ ที่ไม่ใช่แค่เพื่อศึกษาว่าเขาถูกทำเป็นมัมมี่อย่างไรหรือถูกฝังอย่างไรในตอนแรก แต่เรายังได้รู้ไปถึงวิธีการที่เขารับการรักษาและการฝังครั้งที่ 2 เมื่อหลายร้อยปี หลังจากเขาไร้ลมหายใจไป มหาปุโรหิตแห่งอามุน” ซาลีมกล่าว
ที่มาข้อมูล