ปี 2021 เป็นปีแห่งการค้นพบเรื่องราวรอยต่อของประวัติศาสตร์มากมาย ที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเพียรพยายามหาคำตอบและขุดคุ้ยเรื่องราวเสมอ การค้นพบปีนี้จะมีอะไรบ้างนะ
ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีแห่งการค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกปีหนึ่ง สำหรับสิ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมต่อเรื่องราวในอดีตให้แจ่มชัดขึ้น ปี 2021 ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบสัตว์ดึกดำบรรพ์มากมายในปีนี้ แต่จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน
รูก้นไดโนเสาร์ที่เก็บรักษาไว้ได้อย่าง “สมบูรณ์แบบ”
นักวิจัยได้ค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์หลายชิ้น เช่น กระดูก ฟัน ร่องรอยของผิวหนังและขน แต่ก็ไม่เคยค้นพบรูก้นของพวกมันมาก่อน จนถึงตอนนี้ได้ค้นพบ รูก้นของมันที่เรียกว่า cloacal vent ซึ่งไดโนเสาร์ใช้สำหรับอึ ฉี่ ผสมพันธุ์ และออกไข่ ซึ่งไม่เหมือนที่เคยบันทึกไว้ตามการศึกษาในวารสาร Current Biology
รูก้นไดโนเสาร์ตัวแรกที่พบนั้น มันส่องแสงสว่างในที่ที่ไม่มีดวงอาทิตย์สาดส่อง นักวิจัยสังเกตเห็นส่วนนูนเล็กๆ 2 อันตรงรูก้นของมัน ซึ่งคาดว่าอาจมีต่อมกลิ่นมัสกี้ ที่สัตว์เลื้อยคลานอาจใช้ในการเกี้ยวพาราสีกัน เป็นลักษณะทางกายวิภาคที่พบในจระเข้ นักวิจัยพบว่าแม้ลำตัวของไดโนเสาร์ตัวนี้จะมีคุณลักษณะบางอย่างร่วมกับด้านหลังของสิ่งมีชีวิตบางชนิด แต่ที่น่าสใจคืมันไม่เหมือนใคร
Jakob Vinther หัวหน้าทีมวิจัย นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบริสตอล แห่งราชอาณาจักร กล่าวว่า “กายวิภาคศาสตร์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มันดูไม่เหมือนช่องเปิดของนก ซึ่งเป็นญาติสนิทที่สุดของไดโนเสาร์ มันดูคล้ายกับช่องเปิดด้านหลังของจระเข้ มันมีทวารที่สมบูรณ์แบบและไม่เหมือนใคร”
ไดโนเสาร์ Psittacosaurus เป็นไดโนเสาร์หางยาวขนาดเท่าลาบราดอร์ ซึ่งเป็นญาติกับ Triceratops พวกมันอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียส ในช่วงระยะเวลา 145-65 ล้านปีก่อน ก่อนหน้านี้ทีมวิจัยได้ศึกษาตัวอย่างของ Psittacosaurus ที่พบในจีน เพื่อตรวจสอบสีผิวของมัน และตอนนั้นเองพวกเขาก็ได้สังเกตเห็นบริเวณใต้ของสงวนของมัน แต่เราไม่พบเนื้อเยื่ออ่อนของระบบสืบพันธุ์ (เช่น องคชาต) จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย แต่อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์กันไปว่า ไดโนเสาร์ตัวนี้น่าจะมีเซ็กส์ร่วมเพศไม่เหมือนกับตัวอื่นๆ มันอาจจะใช้การชนก้นกันให้เปรียบเสมือนการ “จุมพิต” ในระหว่างสืบพันธุ์
T.rex มีจำนวนเป็นพันล้านตัว
มี T.rex มากถึง 2.5 พันล้านตัวในช่วง 2.5 ล้านปีที่ผ่านมาของยุคครีเตเชียส ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยที่ฆ่าไดโนเสาร์จะชนโลก นักวิจัยพยายามพิจารณาปัจจัยทุกประเภทเพื่อหาจำนวน รวมไปถึงความหนาแน่นของประชากรของราชาไดโนเสาร์ ทั้งขนาดที่อยู่อาศัย เวลาในการสร้าง และจำนวนรุ่นทั้งหมด ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อเดือนเมษายน
Supersaurus เป็นไดโนเสาร์ที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์
ไดโนเสาร์ที่ยาวที่สุดที่เคยบันทึกไว้คือ ซูเปอร์ซอรัส (Supersaurus) มันมีความยาวเกิน 39 เมตร และอาจสูงถึง 137 ฟุต (42ม.) จากงานวิจัยที่ยังไม่ได้เผยแพร่และนำเสนอในปีนี้ที่งานประชุมประจำปีของสมาคมซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง
Supersaurus ที่ค้นพบในปี 1972 เป็นที่รู้กันว่ามันมีคอที่ยาวมาก โดยก่อนหน้านี้ประมาณการว่ามันกินพืชที่อยู่สูงได้ถึง 34 เมตร แต่ตอนนี้มีการค้นพบเพิ่มเติม จากกระดูกที่เพิ่งขุดเจอและวิเคราะห์ได้ว่าตัวนี้มันสุดยอดขนาดไหน อ่านต่อได้ที่ >>> Supersaurus might be the longest dinosaur that ever lived
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฟอสซิลหมีแพนด้ายักษ์ อายุกว่าแสนปี ถูกค้นพบใน ถ้ำซวงเหอ ถ้ำใหญ่สุดในเอเชีย
อังกฤษค้นพบสุสานแมมมอธอายุ 200,000 ปี จิ๊กซอว์เชื่อมเรื่องราวในอดีต
ชิลีค้นพบมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อายุกว่า 7,000 ปีมากกว่าอียิปต์ซะอีก
ไดโนเสาร์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เดินทางกันเป็นฝูง
เคยได้ยินไหม? สุสานไดโนเสาร์ที่ค้นพบในอาร์เจนตินา ที่มีการเปิดเผยว่ามีไดโนเสาร์คอยาวตั้งตั้งแต่ตัวเล็กเท่าลูกหนูไปจนถึงตัวใหญ่ขนาดยักษ์ เดินทางรวมกันเป็นฝูงเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ 40 ล้านปี นักวิจัยได้ค้นพบไข่ฟอสซิลมากกว่า 100 ฟองและกระดูกของสัตว์จำพวก Mussaurus patagonicus 80 ตัว ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 192 ล้านปีก่อนในช่วงยุคจูราสิก (201.3ล้านถึง145ล้านปีก่อน)
ไม่น่าเชื่อว่ามีแม้กระทั่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์หนุ่มออกไปเที่ยว (และตาย) ด้วยกัน ซึ่งบ่งชี้ว่าฝูงสัตว์มีโครงสร้างการอยู่ร่วมกัน นี่เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของพฤติกรรมการเข้าสังคมที่ซับซ้อนของไดโนเสาร์ ตามการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Report ในเดือนตุลาคม
ไดโนเสาร์ที่ตายเพราะกำลังปกป้องไข่
ไดโนเสาร์ที่เหมือนนกกระจอกเทศ ตายจากการฟักไข่ ได้กลายเป็นการค้นพบที่ไม่ซ้ำใคร เป็นเพียงตัวอย่างไดโนเสาร์ที่ไม่ใช่นกที่รู้จักกันเพียงตัวอย่างเดียวที่พบว่านั่งอยู่บนไข่ที่ยังมีตัวอ่อนอยู่ ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science Bulletin เดือนพฤษภาคม ระบุไว้ว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้คือ โอวิแรพโทโรซอร์ (Oviraptorosaur) ในยุคครีเตเชียส
มันกำลังเป็นโล่กำบังในกับลูกๆของมัน จากไข่ 24 ฟอง เจ็ดฟองยังคงมีตัวอ่อนที่เป็นฟอสซิล ซึ่งสภาพก็ไม่เลวเลยสำหรับไข่ที่มีอายุ 70 ล้านปี
ไดโนเสาร์บางตัวที่ไม่ใช่ T.rex นั้น วิ่งได้เร็วมาก
ไดโนเสาร์กินเนื้อวิ่งด้วยความเร็วเกือบ 28 ไมล์ต่อชั่วโมง (45 กม./ชม.) ตามการวิเคราะห์ของไดโนเสาร์รอยเท้าของไดโนเสาร์ 2 ตัวที่พบทางตอนเหนือของสเปน โดยรอยเท้าที่พวกมันทิ้งไว้นั้นเป็นประเภทกินเนื้อที่ต่างกัน 2 ตัว วิ่งอยู่แถวทะเลสาบ ในช่วงต้นยุคครีเตเชียส การศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Scientific Reports ในเดือนธันวาคม ที่เผยแพร่การค้นพบ โดยการอธิบายไว้ว่า สัตว์เหล่านี้มีความรวดเร็วพอๆกับมนุษย์ที่วิ่งเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์อย่าง ยูเซน โบลต์ ซึ่งทำความเร็วได้ถึง 27.5 ไมล์ต่อชั่วโมง (44.3 กม./ชม.) ในการแข่งขันปี 2009 ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่ามันคือไดโนเสาร์จำพวกไหน
แต่ T.rex ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่โด่งดังที่สุดในบรรดาพวกมันทั้งหมด เป็นสัตว์กินเนื้อที่ทราบกันดีว่ามีความเร็วในการสิ่งไล่ล่า และการเดินที่เวลาน้อยกว่า 3 ไมล์ต่อชั่วโมง (5 กม./ชม.) ตามผลการศึกษาแยกที่ตีพิมพ์ในวารสาร Royal Society Open Science ในเดือนเมษายน ซึ่งตอนนี้ก็มีม้ามืดที่เร็วกว่าแล้ว
ไดโนเสาร์ “ฟันฉลาม” ตัวใหญ่กว่าไทรันโนซอรัสที่เป็นคู่แข่ง
ลองนึกภาพไทรันโนซอรัสขนาดใหญ่และคิดว่ามันจะต้องเป็นนักล่าที่อยู่ปลายแถวของระบบนิเวศของมัน แต่ไม่เป็นไร คุณจะคิดผิด เพราะมันยังมีไดโนเสาร์ขนาดใหญ่กว่านั้นเล็ดลอดเข้ามาและมันใหญ่มาก สัตว์ร้ายตัวนี้คือ Ulughbegsaurus uzbekistanensis ไดโนเสาร์ที่มี ฟันฉลาม หรือ carcharodontosaur ตามการศึกษาในวารสาร Royal Society Open Science เดือนกันยายน ซึ่ง Carcharodontosaurs เป็นลูกพี่ลูกน้องและเป็นคู่แข่งของ Tyrannosaurs
U. uzbekistanensis อาศัยอยู่ในอุซเบกิสถานเมื่อ 90 ล้านปีก่อน มีความยาว 26 ฟุต (8 เมตร) และหนัก 2,200 ปอนด์ (1,000 กิโลกรัม) กล่าวอีกนัยหนึ่งมันยาวเป็นสองเท่าและหนักเป็นห้าเท่าของนักล่า apex predator ที่รู้จักก่อนหน้านี้ของระบบนิเวศ tyrannosaur Timurlengia.
ไทแรนโนซอรัสมีชมรมต่อสู้
ไทรันโนซอรัสที่น่าสะพรึงกลัวต่อสู้ด้วยการกัดหน้ากัน แต่ไม่น่าจะใช่เจตนาที่จะฆ่า ในทางกลับกัน พวกมันกัดฟันสู้เพื่อแย่งชิงบางอย่าง เช่น ดินแดน เพื่อนหรือสถานะที่สูงกว่า รายงานผลการศึกษาเดือนกันยายน ในวารสาร Paleobiology
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมไดโนเสาร์นี้เกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษากะโหลกและกรามของไทแรนโนซอรัส 202 ชิ้นที่มีแผลเป็นจำนวนมาก รวมทังหมด 324 ชิ้น ไทรันโนซอรัสที่อายุมากกว่าประมาณครึ่งหนึ่งมักมีรอยแผลเป็นเหล่านี้ ดังนั้นบางทีอาจเป็นแค่สมาชิกผู้ใหญ่ในเพศเดียวกันที่ต่อสู้เพื่อชิงบางอย่าง
ไดโนเสาร์คอยาวอพยพไปไกล
คุณจะทราบได้อย่างไรว่าไดโนเสาร์อพยพ? ไม่ใช่ว่าไดโนเสาร์เหล่านั้นส่งโปสการ์ดให้ราได้รู้ วิธีดูวิธีหนึ่งคือการดูกระเพาะอาหารหรือ “หินกระเพาะ” ที่ใช้ในการบดอาหารที่ไดโนเสาร์ได้กลืนกินไปในภูมิภาคหนึ่งและไปฝากอีกภูมิภาคหนึ่ง
ในยุคจูราสสิก ไดโนเสาร์คอยาวที่เรียกว่า ซอโรพอด (sauropods) กลืนกินกระเพาะหินควอทซ์สีชมพู มันกินหินตั้งแต่สถานที่ปัจจุบันคือ วิสคอนซิน (Wisconsin) และเสียชีวิตในเวลาต่อมาที่โวโอมิง (Wyoming) ซึ่งนั่นคือระยะทางหลายร้อยไมล์ โดยมันได้ทิ้งก้อนหินไว้ที่จุดใหม่เสมอ จากรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Terra Nova เดือนกุมภาพันธ์
Ankylosaur ประหลาดมีหางเหมือนกระบองสงคราม Aztec
ปีนี้ได้เผยให้เห็นสายเลือดของ แองคิโลซอรัส (Ankylosaurus) ที่ไม่เคยรู้จักกันโดยสิ้นเชิงในซีกโลกใต้ และไดโนเสาร์เหล่านี้ก็มีลักษณะหางเฉพาะ ไม่เหมือนใคร
เมื่อ Pangea (แผ่นทวีปผืนเดียวของโลกเมื่อหลายล้านปีก่อน) แยกจากกันในช่วงยุคจูราสสิก แองคิโลซอรัส (Ankylosaurus) ในลอเรเซีย (Laurasia) เหนือมหาทวีปทางเหนือ ได้แผ่ขยายหางที่เป็นทั้งอาวุธหนามแหลมคมและกระบอง แต่ตอนนี้ไดโนเสาร์หุ้มเกาะชนิดที่ชื่อว่า Stegouros elengassen เป็นสัตว์ 4 ขา กินพืช ที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่ในชิลี แสดงให้เห็นว่า Ankylosaurs ในซีกโลกใต้มีวิวัฒนาการที่แตกต่างกันมาก พวกมันพัฒนาหางของตัวเองให้เป็นอาวุธที่มีรูปร่างคล้ายกระบองหรือดาบของชาว Actec โบราณ หรือ macuahuitl
Ankylosaur ที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้ เสียชีวิตเมื่อ 70 ล้านปีก่อนในแม่น้ำ ซึ่งคาดว่าน่าจะโดนทรายดูด ซึ่งจะอธิบายได้ว่าทำไมมันถึงมีสภาพการค้นพบที่ดี เพราะถูกรักษาไว้ในดีอย่างดีเยี่ยม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> Very weird' ankylosaur's tail looked like an Aztec war club
ค้นพบ ฟอสซิลไข่อายุ 70 ล้านปี สภาพสมบูรณ์
เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ที่จีนนี่เอง BBC รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศการค้นพบตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่มีสภาพสมบูรณ์กำลังเตรียมฟักออกจากไข่ มีอายุอย่างน้อย 66 ล้านปีที่แล้ว คาดว่าเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดไร้ฟัน (Theropods) หรือ โอวิแรพโทโรซอร์ (Oviraptorosaur) ซึ่งพบทางตอนใต้ของจีน เมื่องกว่างโจว
จากการค้นพบนักวิทยาศาสตร์กล่าวถึงมันว่า “มันคือตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาในประประวัติศาสตร์” มันยังอยู่ในช่วงของเอ็มบริโอ ลักษณะโค้งงอ หรือที่เรียกว่า การซ่อนตัว ศึ่งเป็นพฤติกรรมที่พบในนกก่อนที่พวกมันจะฟักออกมา
ค้นพบซากฟอสซิลกิ้งก่ายักษ์ขนาดเท่ารถยนต์
นักวิจัยในสหราชอาณาจักรพบโครงกระดูกภายนอกของสัตว์ขาปล้องที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา สิ่งมีชีวิตคล้ายกิ้งกือขนาดยักษ์เหล่านี้มีความยาวเท่ากับรถยนต์และน่าจะท่องโลกในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) คือเมื่อระหว่าง 359 – 299 ล้านปีก่อน
นักวิทยาศาสตร์รู้กันดีอยู่แล้วว่าบรรพบุรุษของกิ้งกือที่เรารู้จักกันในชื่อ Athropleura ต่การค้นพบโครงกระดูกภายนอกที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ใหม่นี้ ยืนยันว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในสมัยโบราณเหล่านี้ อาจมีขนาดใหญ่กว่าที่คาดไว้มาก
นักวิจัยค้นพบฟอสซิล Arthropleura ตัวใหม่ ซึ่งมีอายุประมาณ 326 ล้านปีภายในหินทรายที่แตกเป็นเสี่ยงๆบนชายหาดใน Northumberland ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษในปี 2018 ชิ้นส่วนโครงการดูกภายนอกของมันยาว 75 เซนตอเมตร และกว้าง 55 เซนติเมตร แต่นี่เป็นขนาดเปลือกที่มันลอกคราบทิ้งเอาไว้เท่านั้น หากคาดคะเนขนาดตัวจริงของมันคาดว่ามันจะมีความยาวประมาณ 2.6 เมตร และหนักประมาณ 50 กิโลกรัมได้
ค้นพบปีศาจทะเลยาว 55 ฟุต ยุคไทรแอสซิก
ค้นพบสัตว์ประหลาดทะเลจากยุคไทรแอสซิก มีความยาว 55 ฟุต ในเนวาดา แน่นอนว่าสัตว์ทะเลที่มีชีวิตในช่วงยุคไดโนเสาร์ตอนต้นนั้นมีขนาดมหึมาอย่างคาดไม่ถึง มันทำให้เราเห็นว่าพวกมันสามารถเติบโตและยายขนาดมหึมาได้อย่างรวดเร็ว ในเชิงของวิวัฒนาการ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า อิกธิโอซอรัส (ichthyosaurs) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานในทะเล ลักษณะคล้ายปลาอาศัยอยู่ในทะเลยุคไดโนเสาร์ การวิวัฒนาการขนาดตัวมันขยายไปถึงขีดสุดของความมหึมาได้ภายใน 2.5 ล้านปีเท่านั้น
นักวิจัยยังยกข้อเปรียบเทียบของวิวัฒนาการของวาฬในบริบทนี้ว่า ขนาดวาฬสัตว์น้ำที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดยังต้องใช้เวลาประมาณ 90% ของประวัติศาสตร์ 55 ล้านปี กว่าพวกมันจะตัวโตได้เท่าขนาดมหึมาของ ichthyosaurs ที่มันสามารถพัฒนาขึ้นใน 1% แรกของประวัติศาสตร์ 150 ล้านปี
อิกธิโอซอรัส (ichthyosaurs) สามารถวิวัฒนาการขนาดยักษ์ได้เร็วกว่าวาฬมาก ในช่วงเวลาที่โลกกำลังฟื้นตัวจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (ตอนปลายยุคเพอร์เมียน) แต่นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่เราอาจได้ค้นพบแสงสว่างและสัญญาณการฟื้นตัวของชีวิต หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม วิวัฒนาการก็อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ที่จริงซากฟอสซิลของมันถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1998 แล้ว แต่ปีนี้เพิ่งได้รับการตีพิมพ์เรื่องราวของมันอย่างเป็นทางการ โดยทีมงานได้ตั้งชื่อให้กับสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า Cymbospondylus youngorum ซึ่งรายงานออนไลน์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา ผ่านวารสาร Science
สัตว์เลื้อยคลานทะเลกรามใหญ่นี้มีชีวิตอยู่เมื่อ 247 ล้านปีก่อนในช่วงยุคไทรแอสซิก เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มันมีกะโหลกศีรษะที่ยาวเกือบ 2 เมตร ส่วนตัวโตเต็มที่คาดว่ามีความยาวประมาณ 17 เมตร หนักได้ 45 ตัน หกามันยังมีชีวิตอยู่ คงว่ายน้ำเล่นอยู่แถวๆมหาสมุทรทางตะวันออกของอเมริกาเหนือหรือที่สมัยก่อนมันคือที่อยู่ของมหาสมุทร Panthalassic หรือ superocrean นั่นเอง
ที่มาข้อมูล
https://www.livescience.com/dinosaur-discoveries-2021
https://www.livescience.com/ichthyosaurs-grew-to-big-sizes-fast