svasdssvasds

ชิลีค้นพบมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อายุกว่า 7,000 ปีมากกว่าอียิปต์ซะอีก

ชิลีค้นพบมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อายุกว่า 7,000 ปีมากกว่าอียิปต์ซะอีก

Chinchorro (มัมมี่ชินชอโร) ถูกค้นพบในเมืองอาริกา ประเทศชิลี มีอายุกว่า 7,000 ปีมากกว่าอายุของมัมมี่ในอียิปต์ที่อายุ 2,000 ปีซะอีก ก่อนหน้าผู้คนกลับใช้ชีวิตอยากสงบแม้รู้ว่าเบื้องล่างของพวกเขานั้นมีซากศพเหล่านี้อยู่ และจะเปิดพิพิธภัณฑ์ให้คนได้ไปเยี่ยมชมเร็วๆนี

อาจจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับบางคนที่จะได้อาศัยอยู่บนหลุมฝังศพ และคุ้นเคยกับมัน Ana María Nieto ผู้ที่อาศัยอยู่ในชิลีนพอร์ต ซิตี้ ประเทศชิลี แถบทวีปอเมริกาใต้กล่าว

อาริกา บนพรมแดนที่ติดกับเปรู สร้างขึ้นบนเนินทรายของทะเลทรายอาตากามา ทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุด แต่ระยะเวลาเนิ่นนานก่อนหน้า เมืองชายฝั่งแห่งนี้จะถูกค้นพบ มันถูกก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 16 และบริเวณนี้เคยเป็นบ้านของชาวชินชอโร (Chinchorro people) ข่าวการค้นพบแพร่กระจายเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยองค์การวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยูเนสโก หลังจากค้นพบวัฒนธรรมการเก็บรักษาร่างกายแบบมัมมี่หลายร้อยรายที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี

มัมมี่ที่ค้นพบคาดว่าเป็นคนชาวชินชอโร ได้รับการบันทึกครั้งแรกในปี 1917 โดยนักโบราณคดีชาวเยอรมัน Max Uhle ผู้ซึ่งพบศพบางส่วนที่เก็บรักษาไว้บนชายหาดแต่ต้องใช้เวลากว่าศตวรรษถึงจะสามารถระบุอายุของพวกเขาได้ ในที่สุดหลังจากใช้วิธีการหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตรังสี แสดงให้เราทราบว่ามัมมี่มีอายุมากกว่า 7,000 ปีซึ่งมีอายุมากกว่ามัมมี่อิยิปต์อายุ 2,000 ปีที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายซะอีก จึงกลายเป็นว่ามัมมี่ของชาวชินชอโรเป็นมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดตามหลักฐานทางโบราณคดี

นักมานุษยวิทยา Bernardo Arriaza ผู้เชี่ยวชาญด้านมัมมี่ชินชอโร กล่าวว่า สมัยนั้นพวกเขาพยายามฝึกทำมัมมี่อย่างตั้งใจ นั่นหมายความว่าพวกเขาใช้วิธีฝังศพเพื่อรักษาศพแทนที่จะปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติในสภาพภูมิอากาศที่แห้ง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการที่พบคือมีการกรีดร่างกายตามส่วนต่างๆเล็กน้อย เพื่อนำอวัยวะภายในออกมา ร่างจะกลายเป็นโพรงแห้งและผิวหนังถูกฉีกขาด หลังจากนั้นก็ยัดใยธรรมชาติลงไปแล้วเย็บผิวหนังกลับให้เป็นเหมือนเดิม นอกจากนี้เขายังติดผมสีดำหนาบนศีรษะของมัมมี่และคลุมใบหน้าด้วยดินเหนียวพร้อมหน้ากากที่มีช่องว่างตรงตาและปาก ขั้นตอนสุดท้ายคือการทาตัวมัมมี่ให้เป็นสีดำหรือสีแดงที่โดดเด่นโดยใช้เม็ดสีจากแร่ธาตุ สีเหลืองสดจากแมงกานีส และไอรอนออกไซด์ ซึ่งวิธีการของชาวชินชอโรนั้นแตกต่างจากวิธีทำมัมมี่ของชาวอียิปต์อย่างเห็นได้ชัด

ชาวอียิปต์ไม่เพียงแต่ใช้น้ำมันและผ้าพันแผลเท่านั้น แต่มัมมี่ยังสงวนไว้สำหรับคนชนชั้นสูงที่เสียชีวิต ในขณะที่มัมมี่ชินชอโรมีทั้งเด็กผู้ชายและหญิง ผู้หญิง เด็กทารกหรือแม้กระทั่งทารกในครรภ์โดยไม่ได้คำนึงถึงสถานะใดๆของผู้ตาย

มัมมี่ชินชอโรเด็กที่คาดว่าในตอนนั้นเธอมีอายุประมาณ 6-7ปี

การค้นพบครั้งนี้พบที่เมืองอาริกาและบริเวณใกล้เคียง พบมัมมี่กว่าร้อยร่างตลอดศตวรรษที่ผ่านมาและชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยให้ได้ แม้ทราบว่าพวกเขาอาศัยอยู่เหนือซากศพก็ตาม การค้นพบซากศพเหล่านี้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งระหว่างการก่อสร้างรวมไปถึงการให้สุนัขดมกลิ่น การขุดชิ้นส่วนของมัมมี่เป็นสิ่งที่คนในพื้นที่มีประสบการณ์มาหลายชั่วอายุคน แต่กาลเวลาก็ล่วงเลยผ่านไปนานกว่าพวกเขาจะตระหนักได้ว่าร่างมัมมี่เหล่านี้มีความสำคัญเพียงใด

“บางครั้งชาวบ้านก็เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเมื่อก่อนเด็กๆนำหัวกะโหลกมนุษย์มาทำเป็นฟุตบอลเตะเล่น และการถอดเสื้อผ้าออกจากมัมมี่เสมือนมันเป็นสิ่งที่ธรรมดาที่พบเจอได้ทั่วไป แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว หากพวกเขาเจอมัมมี่พวกเขาต้องนำกลับมาบอกว่าพบเจออะไรและต้องไม่แตะต้องร่างนั้น” นักโบราณคดี Janinna Campos Fuentes กล่าว

นอกจากนี้ Ana María Nieto และ Paola Pimentel ผู้ที่อาศัยอยู่เหนือซากศพพวกนี้กล่าวว่า พวกเธอตื่นเต้นมากที่ยูเนสโกได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมชินชอโร อีกทั้งพวกเธอยังเป็นผู้นำสมาคมเพื่อนบ้านที่ใกล้อยู่กับสถานขุดค้น 2แห่งและทำงานใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์จากไซต์ขุดของมหาวิทยาลัย Tarapacá เพื่อช่วยให้ชุมชนเข้าใจถึงความสำคัญของวัฒนธรรมชินชอโรและเพื่อให้มั่นใจว่าสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าและจะได้รับการดูแล

มัมมี่ชินชอโรที่มีผมสีดำแปะติดกับศีรษะ

นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์ในละแวกบ้าน โดยการนำกระจกมาครอบร่างของชินชอโรให้นอนอยู่ภายใต้กระจกเพื่อให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้เยี่ยมชมแบบใกล้ชิด พร้อมกับจะอบรมชาวบ้านให้เป็นมัคคุเทศก์เพื่อให้พวกเขาสามารถโอ้อวดมรดกทางวัฒนธรรมของตนให้ผู้อื่นได้

ในตอนนี้มีการจัดแสดงมัมมี่ชินชอโรเพียงส่วนเล็กๆประมาณ 300 ตัวเท่านั้น และส่วนใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดี San Miguel de Azarpa ซึ่งผู้เป็นเจ้าของและดำเนินการจัดการคือมหาวิทยาลัยทาราปากา อยู่ห่างจากอาริกาเพียง 30 นาทีโดยรถยนต์ รวมถึงมีการแสดงขั้นตอนการทำมัมมี่ที่น่าประทับใจอีกด้วย

ตอนนี้ในพื้นที่ไวต์ขุดยังมีพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บมัมมี่จำนวนมาก แต่ยังคงไม่สามารถเปิดให้รับชมได้จนกว่าจะมั่นใจว่ามัมมี่ได้รับการเก็บและรักษาอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้มันเสื่อมสภาพ

คุณ Arriazaและนักโบราณดคี Jannina ยังเชื่อมั่นอีกว่า อาริกาแห่งนี้โดยเฉพาะเนินเขาโดยรอบยังมีสมบัติซ่อนเร้นอีกมากมายที่ยังไม่ถูกค้นพบ และเราต้องใช้ทรัพยากรมากกว่านี้ในการค้นหาพวกมัน

นายกเทศมนตรี Gerardo Espindola Rojas หวังว่าการเพิ่มมัมมี่ในรายการมรดกโลกจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่และสามารถดูดเม็ดเงินสู่ชุมชนได้มากขึ้น

ที่มาข้อมูล BBC

related