svasdssvasds

“สะพานร้องไห้” สะพานนี้มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เมื่อวันปิยะมหาราช

“สะพานร้องไห้” สะพานนี้มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เมื่อวันปิยะมหาราช

สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ “สะพานร้องไห้” สะพานนี้มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เมื่อวันปิยะมหาราชกว่า 100 ปีที่แล้ว

สะพานมหาดไทยอุทิศ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานด้านขวามีภาพประติมากรรมนูนต่ำเป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อดอกซ่อนกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อ "สะพานร้องไห้"

.
ได้เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นสะพานของถนนบริพัตร ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน

สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้

การก่อสร้างสะพานมหาดไทยอุทิศเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้นเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่รวมของถนนหลายสาย แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสะพานมหาดไทยอุทิศและโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลทำหุ่นจำลองตัวสะพานไปตั้งถวายตัวในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
.
สะพานมหาดไทยอุทิศ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับภูเขาทอง วัดสระเกศและป้อมมหากาฬ สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยร่วมกับข้าราชการของกระทรวงทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง ซึ่งรวมเงินได้ 41,241 บาท 61 สตางค์ มอบให้กรมสุขาภิบาลเป็นผู้สร้าง สิ้นค่าก่อสร้างไปทั้งสิ้น 57,053 บาท 29 สตางค์ ส่วนที่เกินโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลออกเงินสมทบ

สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดสะพานด้วยพระองค์เองในคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
.
ในปัจจุบัน สะพานมหาดไทยอุทิศยังเป็นสะพานที่เป็นโบราณสถานที่สามารถให้รถวิ่งข้ามได้เพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร โดยไม่ได้มีการขยายพื้นที่ของสะพานออก จึงยังคงสภาพเดิมตั้งแต่แรกสร้างไว้ได้มากที่สุด

สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้ สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือ สะพานร้องไห้

related