SHORT CUT
เทียบนโยบาย ‘กมลา แฮร์ริส’ และ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ 5 พ.ย. 2024 นี้ ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ?
การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยนับตั้งแต่ปี 1789 ที่มีการเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา สหรัฐฯ มีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งหมด 59 ครั้ง แต่ในปี 2024 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสหรัฐฯครั้งที่ 60 นี้ ถือว่ามีความสำคัญและน่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะเป็นครั้งแรกที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 2 คนได้เสนอวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
‘กมลา แฮร์ริส’ ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต ยังคงต่อยอดนโยบายส่วนใหญ่มาจากยุคของไบเดน ในขณะที่ ‘โดนัลด์ ทรัมป์' ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันแสดงจุดยืนชัดเจนที่จะนำสหรัฐฯ’ กลับไปสู่ยุคแห่งความแข็งแกร่งด้วยนโยบายสุดโต่งมากมาย
ข้างล่างนี้คือตัวอย่างความแตกต่างด้านแนวคิดจากทั้ง 2 คน
แฮร์ริส
เพิ่มภาษีธุรกิจใหญ่และชาวอเมริกันที่มีรายได้ 400,000 ดอลลาร์ ต่อปี
ทรัมป์
ลดหย่อนภาษีหลายประการ และต่ออายุลดหย่อนภาษีที่ทำมาตั้งแต่ปี 2017 (คนรวยได้ประโยชน์)
แฮร์ริส
เก็บค่าธรรมเนียมสินค้าของประเทศคู่แข่งทางอุตสาหกรรม และเพิ่มข้อจำกัดการลงทุนของจีนที่กระทบความมั่งคงชาติ
ทรัมป์
ยุติการนำเข้าสินค้าจำเป็นจากจีน เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เพิ่มภาษีนำเข้าจากจีนในอัตราที่สูงขึ้นมาก
แฮร์ริส
สนับสนุนโครงการสิ่งแวดล้อม เข้มงวดกับบริษัทขุดเจาะน้ำมันมากขึ้น
ทรัมป์
ยกเลิกโครงการสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก แม้จะเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกโจมตีว่าทำลายสิ่งแวดล้อม
แฮร์ริส
ประกันสุขภาพของรัฐบาล ครอบคลุมมากขึ้น เพิ่มการดูแลที่บ้าน
ทรัมป์
ปรับปรุงประกันสุขภาพของรัฐบาลให้เป็นเอกชนมากขึ้น และลดการจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลสำหรับการดูแลผู้ป่วยนอก
แฮร์ริส
เพิ่มการปราบปรามคนข้ามพรมแดนผิดกฎหมาย
ทรัมป์
ปิดผนึกพรมแดนด้วยการสร้างกำแพงให้เสร็จเรียบร้อย และเนรเทศผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารให้ได้มากที่สุด
แฮร์ริส
แฮร์ริส
ทรัมป์
หาก ‘แฮร์ริส’ สามารถคว้าชัยในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ เธอจะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอเมริกาและผู้นำผิวสีคนที่ 2 ต่อจาก ประธานาธิบดีบารัคโอบามา ความมุ่งมั่นของเธอคือการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และผลักดันเรื่องของสิทธิสตรีต่อไป นอกจากนี้เธอยังพยายามอย่างหนักในการลดความเป็นชาตินิยมลง แต่อาศัยการพึ่งพากันของชาวโลกแทน
แม้ว่าเธอจะมีนโยบายหลายอย่างที่เป็นมรดกจากยุคไบเดน แต่ความพยายามที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น อาจสร้างแนวทางที่แตกต่างจากของเดิมได้
ในช่วงที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งวาระแรก (2017-2021) แนวคิด “อเมริกาต้องมาก่อน” ของเขาทำให้เกิดความไม่มั่นคงระหว่างพันธมิตรและศัตรู สมาชิก NATO 57’ กล่าวว่า ไม่เคยมีมาก่อนที่สหรัฐฯ จะถูกมองว่าเป็น “พันธมิตรที่คาดเดาไม่ได้” ดังนั้น หากเขาชนะเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 ได้สำเร็จ ก็อาจเกิดผลลัพธ์ไม่ต่างกัน คือมีความไม่มั่นคงในนโยบายต่างประเทศ เพราะทรัมป์มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง และสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาจดำเนินต่อไปอีกยาวนาน
ที่มา : American Century Investments, BBC, The Guardian
ข่าวที่เกี่ยวข้อง