SHORT CUT
ที่มา โครงการ ‘กฐินพระราชทาน’ การทูตทางวัฒนธรรม ที่เชื่อมความสัมพันธ์กับชาวพุทธในต่างประเทศ สร้างความร่วมมือระดับประชาชน
การทอดกฐิน คือ การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่วัดใดวัดหนึ่งหรือสถานที่ใดที่หนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อให้พระได้มีผ้าเปลี่ยนใหม่การทอดกฐินจึงถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ให้อานิสงส์แรง เพราะในปีหนึ่งแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และจะต้องทำภายในเวลาที่กำหนดในการทอดกฐิน คือ 1 นับตั้งแต่วันออกพรรษา ซึ่งในปี 2567 อยู่ในช่วง 17 ต.ค – 15 พ.ย.
ในปัจจุบัน มีชาวพุทธกระจายตัวไปหลายประเทศ ในปี 2538 กระทรวงต่างประเทศ ในฐานะผู้รับผิดชอบ ด้านการต่างประเทศและการทูตวัฒนธรรมจึงดําเนินโครงการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดพระพุทธศาสนา ในต่างประเทศ ตามความคิดริเริ่มของนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ที่ประสงค์จะใช้รากฐานทางวัฒนธรรมร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โครงการเชิญผ้ากฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดพุทธในต่างแดน มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในระดับประชาชนสู่ประชาชน เพื่อสร้าง สัมพันธไมตรีและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ พระเกียรติคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยที่ทรงอุปถัมภ์ค้ำชู พระพุทธศาสนา โดยในปี 2538 ได้เริ่มต้นดําเนินโครงการกับประเทศเพื่อนบ้าน แห่ง ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา และ สปป.ลาว หลังจากนั้นได้จัดอย่างต่อเนื่อง ขยายไปยังอินเดีย ศรีลังกา จีน เนปาลตลอดจนประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่มีประชาชนนับ
ความสําเร็จของโครงการสะท้อนให้เห็นได้จากการที่ชุมชนชาวพุทธ ในประเทศผู้รับให้การต้อนรับคณะผู้เชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน อย่างอบอุ่น อีกทั้งยังให้ความร่วมมือ สนับสนุนการจัดพิธีทอดถวาย ผ้าพระกฐินพระราชทานให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตลอดจนความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันในหมู่ประชาชนชาวไทย และประชาชนในประเทศผู้รับ
ในปี 2567 นี้กระทรวงต่างประเทศ ได้เดินทาง ไป ไปทอดถวาย ณ วัดพุทธในต่างแดน 8 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา สปป. ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน ศรีลังกา
เวียดนามนับถือศาสนาพุทธแบบมหายานเป็นหลัก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในจีนมาก่อน ในขณะเดียวกันก็มีการปฏิบัติแบบเถรวาทในพื้นที่บางส่วนโดยเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศไทยและกัมพูชา ทำให้ศาสนาพุทธในเวียดนามมีลักษณะที่ผสมผสานเอกลักษณ์ของตนเอง
ปัจจุบัน แม้ว่ารัฐบาลเวียดนามจะมีนโยบายควบคุมศาสนาอย่างเข้มงวด แต่ศาสนาพุทธยังคงมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชน โดยมีวัดวาอารามและสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่เป็นทั้งสถานที่สักการะและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น วัดบ๋ายดิ่ง (Bai Dinh Pagoda) ในจังหวัดนิญบิ่ญ และวัดเดียวกู๊ (Thien Mu Pagoda) ในจังหวัดเถื่อเทียนเว้
วันที่ 2 พ.ย. 67 ทีมข่าว SPRiNG ได้มีโอกาสไปติดตามพิธี กฐินพระราชทาน ณ วัด ‘ฟุก มินห์ เถรวาท’ จังหวัดท้ายบิ่ญ สาธารณสังคมนิยมเวียดนาม (Chùa Phúc Minh, Thái Bình) ซึ่งเป็นวัดโบราณที่มีอายุประมาณ 400 ปี มีจำนวนพระสงฆ์ปฏิบัติศาสนากิจจำนวน 17 รูป
พิธีนี้ ได้รับเกียรติจาก นายดุสิต เมนะพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธีเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปทอดถวาย ณ วัดฟุก มินห์ เถรวาท จังหวัดท้ายบิ่ญ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีบุคคลสำคัญฝ่ายเวียดนาม อาทิ นายฝ่าม วัน เงียม รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดท้ายบิ่ญ นางสาวอุรวดี ศรีภิรมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย นายปิยภักดิ์ ศรีเจริญ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก นายธนวัต ศิริกุล รองอธิบดีกรมสารนิเทศ นางสาววีรกา มุทิตาภรณ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ หัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทย ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ผู้แทนสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม ผู้แทนสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ไทย ตลอดจนภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชนชาวไทยและเวียดนามกว่า 500 คน เข้าร่วมพิธี
การเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายครั้งนี้เป็นครั้งที่ 17 ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ ผู้เข้าร่วมพิธีต่างปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเป็นโอกาสกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทั้งสองประเทศที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีศรัทธาร่วมกันในพระบวรพุทธศาสนา โดยในปีนี้ สามารถรวบรวมเงินบริจาคซึ่งประกอบด้วยเงินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เงินร่วมทำบุญจากกระทรวงการต่างประเทศและผู้มีจิตศรัทธาชาวไทยและชาวเวียดนาม รวมทั้งสิ้น 543,109 บาท และ 51,108,000 ดอง (หรือประมาณ 68,000 บาท)
อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินโครงการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดพุทธศาสนาในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2538 และในปี 2567 ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลเป็นโครงการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดพุทธศาสนาใน 9 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สปป.ลาว เมียนมา อินเดีย กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้านการทูตวัฒนธรรม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประชาชนสู่ประชาชน ที่จะมีมิตรภาพร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศสืบไป
วัดฟุก มินห์ เถรวาท เดิมเป็นวัดโบราณที่แล้วแต่ขาดการดูแลในช่วงที่ เวียดนามสู้รบกับฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปี 2553 เมื่อ ‘พระทันห มินห์’ ซึ่งสําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพุทธศาสนา sóc son กรุงฮานอย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส จึงได้เริ่มมีการปรับปรุงพื้นที่วัด รวมถึงเผยแผ่ การฝึกสมาธิแบบเถรวาท ในปี ๒๕๖๒ ได้นิมนต์พระภิกษุจากศูนย์ปฏิบัติธรรม นานาชาติป่าออกในเมียนมามาที่วัดฟุก มินห์ เถรวาทเพื่อเผยแผ่การฝึกสมาธิ และออกแบบพระอุโบสถที่ใช้สําหรับจัดกิจกรรมการฝึกสมาธิ ซึ่งก่อสร้าง แล้วเสร็จเมื่อปี 2563
วัดฟุก มินห์ เถรวาทมีพื้นที่ 25,000 ตารางเมตร มีพระอุโบสถใหญ่ 2 ชั้น และมีพื้นที่โดยรอบสําหรับทําสมาธิอย่างกว้างขวาง สามารถรองรับ ศาสนิกชนได้ 1,000 - 1,500คน มีการจัดกิจกรรมการฝึกสมาธิและวิปัสสนา ตามหลักมรรค ๘ เป็นประจํา นอกจากนี้ เจ้าอาวาสยังได้จัดเสวนาธรรม ในช่วงค่ําของทุกวันเสาร์ รวมถึงการฝึกสมาธิและการอธิบายพระคัมภีร์ แก่ผู้ปฏิบัติธรรม
พระทันห์ มินห์ (Venerable Thanh Minh) เจ้าอาวาส อายุ 43 พรรษา 26 อุปสมบทเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 จบการศึกษาจาก โรงเรียนพุทธศาสนา sóc son กรุงฮานอย และเมื่อสําเร็จการศึกษา ในปี ๒๕๕๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดฟุก มินห์ เถรวาท พระทันห์ มินห์ ให้ความสําคัญกับการสอนวิธีการทําสมาธิกับ
ผู้ที่ต้องการปฏิบัติอย่างจริงจังเนื่องจากท่านได้ปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม นานาชาติป่าออกที่เมียนมาเป็นเวลา 4 ปี และกลับมาเวียดนามด้วยความมุ่งมั่นที่ จะแบ่งปันแนวทาง ปฏิบัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทาง ที่ได้ศึกษามา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง