SHORT CUT
เปิดไทม์ไลน์ขั้นตอนสำคัญหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากวันลงคะแนนถึงวันสาบานตน ผ่าน 6 เหตุการณ์สำคัญ เริ่มจากการรับรองผลในแต่ละรัฐ การลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง การนับคะแนนในรัฐสภา จนถึงพิธีสาบานตนผู้นำคนใหม่
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ยังส่งผลกระทบต่อประเทศไทยขึ้นอยู่กับว่าคนชนะคือใคร เพราะนโยบายทั้ง 2 พรรคแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ทั้งด้านการค้า-การลงทุน รวมไปถึงเรื่องสงครามการค้าและภูมิรัฐศาสตร์
ทั่วโลกต่างจับตามองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ยังห่างไกลจากจุดสิ้นสุดของกระบวนการเลือกตั้ง เวลาเกือบหนึ่งในสี่ของปีผ่านไป หรือเกือบ 3 เดือน ระหว่างการลงคะแนนเสียง ไปจนถึงการสาบานตนรับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐคนต่อไป
รัฐต่างๆ รับรองผลการเลือกตั้ง หลังจากการลงคะแนนเสียง แต่ละรัฐต้องรับรองผล ซึ่งจะเกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับรัฐ เนื่องจากกฎหมายเลือกตั้งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ กำหนดเวลาที่แต่ละเขตอำนาจศาลจะรับรองผลจึงแตกต่างกันไปทั่วสหรัฐฯ แต่กระบวนการทั้งหมดต้องเสร็จสิ้นภายในวันที่ 11 ธันวาคม
คณะผู้เลือกตั้งลงคะแนน เพราะการเลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ใช่การลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง แต่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะลงคะแนนว่าจะให้ผู้เลือกตั้งคนใดเป็นตัวแทนรัฐของตน
ในวันที่ 17 ธันวาคม ผู้เลือกตั้งจะพบกันในรัฐของตนเพื่อบันทึกคะแนนอย่างเป็นทางการสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ใบรับรองการลงคะแนนต้องส่งถึงประธานวุฒิสภาสหรัฐฯ ไม่ช้ากว่าวันพุธที่สี่ของเดือนธันวาคม ซึ่งปีนี้ตรงกับวันคริสต์มาส
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกเข้าพิธีสาบานตน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนจะเข้าพิธีสาบานตน และใบรับรองการลงคะแนนต้องถูกส่งไปยังรัฐสภาภายในวันดังกล่าว
รัฐสภานับคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง จะมีการประชุมร่วมพิเศษของรัฐสภาเพื่อนับคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนน 270 คะแนนขึ้นไปจะได้รับการประกาศว่าได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ และเช่นเดียวกันสำหรับตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐ
สำหรับวันที่ 6 มกราคมถือเป็นวันที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์อเมริกัน เนื่องจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผู้สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ได้บุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเพื่อพยายามที่จะหยุดยั้งการประกาศให้ โจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดี
ปีนี้จะมีความพิเศษตรงที่กมลา แฮร์ริส ทั้งลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและในฐานะรองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเป็นประธานในที่ประชุมร่วม เช่นเดียวกับที่รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ เคยทำในเดือนมกราคม 2021
เหตุการณ์คล้ายกันนี้เคยเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งปี 2000 เมื่อ อัล กอร์ ประกาศว่า จอร์จ ดับเบิลยู.บุช ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหลังการเลือกตั้งที่เป็นที่ถกเถียงและคะแนนใกล้เคียงกันมากระหว่างทั้งสองคน
วันสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งจากคะแนนคณะผู้เลือกตั้งจะเข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐในเวลาเที่ยงวันตามเวลาวอชิงตัน โดยกล่าวคำปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งและเริ่มวาระ 4 ปี ขณะที่รองประธานาธิบดีคนใหม่ก็จะเข้าพิธีสาบานตนเช่นกัน
ที่มา : thansettakij
ข่าวที่เกี่ยวข้อง