เปิดรายชื่อ "คนดัง" ได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2567 ลดวันต้องโทษ "บรรยิน" ได้ลดโทษจากประหาร เหลือจำคุกตลอดชีวิต บุญทรง เหลือวันต้องโทษ 10 ปี กลุ่ม สส.ภูมิใจไทยคดีเสียบบัตรแทนกัน ยังไม่เข้าข่าย
เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2567 ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีรายงานข่าวแจ้งว่า พระราชกฤษฎีกาพระราชทาน อภัยโทษ 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ จะมีผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ จำนวนประมาณ 50,000 ราย จากเรือนจำทั่วประเทศ ตามมาตรา 5
นอกจากนี้ ยังมีนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับสิทธิ เข้าหลักเกณฑ์ ลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวอีกกว่า 200,000 ราย โดยกรมราชทัณฑ์ได้เตรียมประชุมเตรียมความพร้อมรองรับผู้ต้องที่จะได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ
โดย ผู้ต้องขัง ที่ได้รับประโยชน์ตามพระราชกฤฎีกานี้ กำหนดไว้ต้องเป็นผู้ได้รับโทษแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี ขึ้นกับจำนวนวันต้องโทษ ขั้นตอนหลังจากมีประกาศพระราชกิจจาฯ กรมราชทัณฑ์ ต้องตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบรายชื่อคุณสมบัติให้ถูกต้อง โดยกลุ่มที่ได้ปล่อยตัวพ้นจากเรือนจำเป็นกลุ่มที่กรมราชทัณฑ์จะต้องเสนอไปยังศาล เพื่อขอหมายปล่อยให้ก่อน ซึ่งรวมถึง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เดิมจะครบกำหนดพ้นโทษในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 แต่ผลจากพระราชกฤษฎีกาครั้งนี้ จะได้เปลี่ยนแปลงลดจำนวนวันต้องโทษ ซึ่งส่งผลให้พ้นโทษเร็วขึ้น
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลผู้ต้องขังรายสำคัญมีกลุ่มนักการเมืองที่สังคมให้ความสนใจ ทั้งนักการเมืองและอดีตข้าราชการระดับสูง ที่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ 2567
อย่างไรก็ตาม นักโทษทั้ง 3 รายจำคุกมาแล้วกว่า 7 ปี
ส่วนกรณีของนายบรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลของนายสมัครสุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นักโทษคดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์ และคดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาได้ลดโทษจากประหารชีวิต เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต
ในส่วนของกลุ่ม สส.ภูมิใจไทยที่ต้องโทษคดีเสียบบัตรแทนกัน ยังไม่เข้าข่ายได้รับประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ เพราะได้รับโทษยังไม่ถึง 1 ใน 3
ข่าวที่เกี่ยวข้อง