ราชกิจจาฯ เผยแพร่พระราชทานอภัยลดโทษ "ทักษิณ ชินวัตร" เปิดขั้นตอนการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ รายบุคคล วิธีการ คุณสมบัติ ใครทำได้บ้าง ต้องทำอย่างไร? #ยื่
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับพระราชทานอภัยทานลดโทษจาก 8 ปี เหลือ 1 ปี รับโทษมาแล้ว10 วัน
เหลือโทษจำคุก 7 ปี 11 เดือน 20 วัน อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ความว่าเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อถูกดำเนินคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกดังกล่าวด้วยความเคารพในกระบวนการยุติธรรม ยอมรับผิดในการกระทำ มีความสำนึกในความผิด จึงขอรับโทษตามคำพิพากษาขณะนี้อายุมาก มีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาพยาบาลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หลังจากก่อนหน้านี้นายวิษณุ เครืองาม รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมบอกว่า ได้รับหนังสือ "ขอพระราชทานอภัยโทษ" ของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่สามารถเปิดรายละเอียดได้ อย่างไรก็ตาม การขอพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ เป็นการ "ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย" ไม่เกี่ยวกับการโอกาสวันสำคัญ ไม่ต้องดูว่ารับโทษมาแล้วกี่วันกี่ปี อยู่ที่พระมหากรุณาธิคุณ
หลายคนเลยเกิดคำถาม สรุปแล้วการขอพระราชทานอภัยโทษ สามารถทำได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
เริ่มจากทำความเข้าใจความหมายของ การพระราชทานอภัยโทษ กันก่อน
เป็นการพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แก่ผู้ต้องโทษทีคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ได้รับการปล่อยตัวหรือลดโทษแล้วแต่กรณี ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอำนาจที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 23 ) พ.ศ.2548 ภาค 7 อภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ มาตรา 259 ถึง มาตรา 267
ส่วนประเภทของการพระราชทานอภัยโทษ
1. การพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป
2. การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
การขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย คือ
การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้าฯ ถวายฏีกา ขอพระราชทานอภัยโทษ ตามการถวายคำแนะนำของ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม" ส่วนจะได้หรือไม่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์
แล้วใครมีสิทธิขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะรายบ้าง ?
- ผู้ต้องโทษคดีถึงที่สุด
- ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ง่ายๆ ก็คือ พ่อ แม่ ลูก หรือ สามี ภรรยา
- สถานทูต (กรณีนักโทษต่างชาติ)
ระยะเวลาการยื่นฏีกาทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
1.ผู้ต้องโทษทั่วไป ยื่นได้ทันทีที่คดีถึงที่สุดแล้ว
2.ผู้ต้องโทษประหารชีวิต ต้องยื่นภายใน 60 วัน นับตั้งแต่คดีถึงที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว หรือคนที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องทูลเกล้า ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่าน เรือนจำ หรือ กระทรวงยุติธรรม หรือ สำนักราชเลขาธิการ หรือ กระทรวงการต่างประเทศ หรือ สถานทูต
หลังจากมีการรับเรื่องแล้ว กรมราชทัณฑ์ จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวที่ เรือนจำที่ควบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะมีการเสนอความคิดเห็นให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ
จากนั้นถ้ามีพระบรมราชวินิจฉัยออกเป็นยังไง จะมีการส่งฎีกาให้กรมราชทัณฑ์ทราบ แล้วแจ้งเรื่องต่อให้กับผู้ที่ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ