SHORT CUT
จากกระแสทุนจีนที่เริ่มระบาดในไทย และผัก-ผลไม้จีนบุกตลาดสด ส่งผลให้กระทบเกษตรไทยหนัก แต่ในขณะเดียวกันสินค้าเกษตรไทยก็ยังพึ่งตลาดจีนมากเป็นอันดับ 1
ปัจจุบันกระแสทุนจีนเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากกิจการที่เริ่มผุดขึ้นมากเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า SME อุตสากรหรรม ร้านอาหารจีน ร้านไอศกรีม สินค้าเกษตร สินค้านำเข้าจากจีน นอกจากการกิจการตามจุดต่างๆในไทยแล้ว ก็ยังมีสินค้าในโลกออนไลน์ที่มาจากจีนที่กำลังเข้าตีตลาดไทยโดยมาในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น Temu ที่มีการนำเข้าสินค้าแบบไม่ผ่านคนกลาง มีความเสี่ยงที่ทุนจีนจะระบาดหนักในไทยมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยลดน้อยลง
อีกทั้งยังมีการพบว่ามีสินค้าเกษตรจีนที่เข้ามาบุกตลาดสดไทย โดยมีการนำเข้าผ่านลาว ผ่านรถไฟลาว-จีน มีราคาถูกกว่าไทยเท่าตัว มีทั้ง พริกหยวก บรอกโคลี กะหล่ำปลี เห็ดชนิดต่างๆ องุ่น และส้ม ซึ่งผลผลิตเหล่านี้มีต้นทุนจากแหล่งผลิตน้อย ส่งผลให้กระทบเกษตรไทยเพราะต้นทุนการเพาะปลูกมีการปรับสูงขึ้นทุกปี
แต่ในขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าเกษตรไทยทั้งหมดยังคงพึ่งพาตลาดจีนสูงสุดมากเป็นอันดับ 1 ถึง 42% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 การค้าสินค้าเกษตรของไทยกับโลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.80% โดยไทยมีมูลค่าการค้ากับจีนมากเป็นอันดับ 1 (23.49%) รองลงมาคืออาเซียน สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นตามลำดับ
โดยตลาดส่งออกที่ไทยพึ่งพาสูงสุด คือ
1.จีน - (มูลค่า 11,262.3 ล้านเหรียญสหรัฐ)
2.ญี่ปุ่น - (มูลค่า 3,206.0 ล้านเหรียญสหรัฐ)
3.สหรัฐอเมริกา - (มูลค่า 1,506.5 ล้านเหรียญสหรัฐ)
4.มาเลเซีย - (มูลค่า 1,189.0 ล้านเหรียญสหรัฐ)
5.อินโดนีเซีย - (มูลค่า 940.1 ล้านเหรียญสหรัฐ)
โดยตลาดทั้ง 5 แห่งนี้รวมกันคิดเป็น 67.5% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด แต่ในทางกลับกันก็ยังพึ่งพาการส่งออกสินค้าและตลาดหลักเพียงไม่กี่รายการ โดยสินค้าเกษตรที่ส่งออกมากที่สุดในปี 2566 คือ
1. ผลไม้ - (มูลค่า 6,941.6 ล้านเหรียญสหรัฐ)
2.ข้าว - (มูลค่า 5,144.4 ล้านเหรียญสหรัฐ)
3.ไก่ - (มูลค่า 4,082.3 ล้านเหรียญสหรัฐ)
4. มันสำปะหลัง - (มูลค่า 3,704.4 ล้านเหรียญสหรัฐ)
5.ยางพารา - (มูลค่า 3,648.6 ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้าทั้ง 5 รายการรวมกันมีสัดส่วน 87.7% ในการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าไทยยังพึ่งพาสินค้าหลักเพียงไม่กี่รายการ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แนะนำให้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าและขยายตลาดใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดหลักเพียงไม่กี่ตลาด และยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการการแก้ไขเพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – เมษายน)การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยก็เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนและสหรัฐอมเมริกา ในขณะที่การค้ากับจีนลดลง พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้ารวม 822,559 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.43% จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าการส่งออก 584,561 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% ขณะที่มูลค่านำเข้าอยู่ที่ 237,998 ล้านบาท ลดลง 2.2% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 346,563 ล้านบาท
การค้ากับกลุ่มประเทศต่างๆ
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า การค้าสินค้าเกษตรในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 เป็นไปทิศทางที่ดี ทั้งอัตราการเติบโตของการส่งออกไปตลาดโลก และการเกินดุลการค้าสินค้าเกษตรกับตลาดโลก ประกอบกับไทยยังได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยทุกประเทศ และยังพบว่าสินค้าการเกษตรที่มีการส่งออกสูงสุดคือ
1.ข้าว (มูลค่า 70,158 ล้านบาท)
2.ทุเรียน (มูลค่า 40,578 ล้านบาท)
3.ยางธรรมชาติ (มูลค่า 35,377 ล้านบาท)
4.ไก่ปรุงแต่ง (มูลค่า 32,809 ล้านบาท)
5.อาหารสุนัขหรือแมว (มูลค่า 29,516 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะเศรษฐกิจของโลก ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยทาง สศก. ได้ติดตามสถานการณ์การค้าอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งหาโอกาสในการขยายการค้าสินค้าเกษตรกรของไทยผ่านกลไกต่างๆ เช่น การผลักดันให้ประเทศคู่เจรจา FTA เปิดตลาดสินค้าเกษตรกรสำคัญของไทย และการผลักดันให้ประเทศสมาชิกปรับปรุงระดับการเปิดตลาดภายใต้ FTA เดิมที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง