svasdssvasds

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

บังคลาเทศปั่นป่วน! หลังทุจริตซ้ำซาก ด้านศาลตัดลดโควาตำแหน่งงานราชกาให้ลูกหลานทหารผ่านศึกจาก 1 ใน 3 เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ สยบม็อบนักศึกษา

SHORT CUT

  • เกิดประท้วงหนักในบังคลาเทศเพราะเพราะ 1 ใน 3 ของตำแหน่งงานในหน่วยงานภาครัฐ ถูกสงวนไว้สำหรับญาติของทหารผ่านศึกจากสงครามประกาศอิสรภาพของประเทศจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1971
  • บวกกับรัฐบาลของ นางฮาสินา เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใกล้ชิดเกิดการทุจริตไปทั่วประเทศ 
  • ศาลบังคลาเทศจึงสั่งลดโควตาตำแหน่งงานลูกหลานทหารผ่านศึกเหลือ 5% สยบประท้วง

บังคลาเทศปั่นป่วน! หลังทุจริตซ้ำซาก ด้านศาลตัดลดโควาตำแหน่งงานราชกาให้ลูกหลานทหารผ่านศึกจาก 1 ใน 3 เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ สยบม็อบนักศึกษา

ความไม่เท่าเทียมเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พอใจทั่วโลก บัลคลาเทศเองเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังเผชิญสภาวะเช่นนี้

อันเนื่องมาจากการเปิดโอกาสมีกฎเกณฑ์ที่ให้สิทธิพิเศษในการได้งานราชการแก่ลูกหลานของทหารผ่านศึกสงครามอิสรภาพถึง 1 ใน 3 ของตำแหน่งงานทั้งหมด

นั่นย่อมนำมาซึ่งความไม่พอใจของคนทั้งหมดในประเทศเพราะพวกเขามองว่าทุกคนควรมีสิทธิเท่าเทียมในการแข่งขันเข้ารับราชการ

SPRiNG พาไปรู้จักเหตุการณ์นี้ ว่าเป็นอย่างไร

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

การประท้วงสภาวะปกติของเอเชียใต้ ?

การประท้วงบนท้องถนนไม่ใช่เรื่องใหม่ในบังคลาเทศ แต่ความรุนแรงของการประท้วงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับการกล่าวว่าเป็นครั้งที่เลวร้ายที่สุดในความทรงจำของคนที่ยังมีชีวิตอยู่

มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คนจากความรุนแรง โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคมเพียงวันเดียวมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 คน

การตอบโต้ของรัฐบาลคือมีมาตรการปิดกั้นการสื่อสารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยปิดทั้งอินเทอร์เน็ตและจำกัดการใช้โทรศัพท์

สะท้อนให้เห็นว่าการประท้วงครั้งนี้ส่อแววรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 

 

ชนวนการประท้วง

การประท้วงที่เริ่มต้นอย่างสงบในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่งประเทศก่อนที่จะลามออกไปทั่วประเทศนักศึกษามหาวิทยาลัยหลายพันคนประท้วงติดต่อกันมาหลายสัปดาห์แล้วต่อระบบโควตาสำหรับตำแหน่งงานภาครัฐ

เพราะ 1 ใน 3 ของตำแหน่งงานในหน่วยงานภาครัฐ ถูกสงวนไว้สำหรับญาติของทหารผ่านศึกจากสงครามประกาศอิสรภาพของประเทศจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1971

สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมอย่างยาวนานที่สะสมความไม่เสมอภาครอวันที่ประทุในเรื่องของตำแหน่งงาน

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

โดยนักศึกษาโต้แย้งว่าระบบนี้เป็นการเลือกปฏิบัติ และขอให้มีการรับสมัครงานตามความสามารถ

ผู้ประสานงานการชุมนุมกล่าวว่า ตำรวจและปีกนักศึกษาของพรรคสันนิบาตอวามี (Awami League) ที่รู้จักกันในนามสันนิบาตนักศึกษาแห่งบังคลาเทศ (Bangladesh Chhatra League) ได้ใช้กำลังรุนแรงต่อผู้ประท้วงอย่างสงบ ก่อให้เกิดความโกรธแค้นอย่างแพร่หลายไปทั่วประเทศ

รัฐบาลปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้

“ไม่ใช่แค่นักศึกษาอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ดูเหมือนว่าผู้คนจากทุกวงการได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวประท้วง” นี่คือการแสดงความคิดเห็นของ ดร.ซามินา ลูธฟา รองศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยธากา กล่าวกับบีบีซี

การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานแล้ว แม้ว่าบังคลาเทศจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในโลก แต่ชี้ว่าการเติบโตนั้นไม่ได้แปลว่าเกิดการจ้างงานสำหรับบัณฑิตที่เรียนจบมหาวิทยาลัย

มีการประมาณการว่ามีหนุ่มสาวบังคลาเทศประมาณ 18 ล้านคน ที่กำลังหางานทำ บัณฑิตมหาวิทยาลัยเผชิญกับอัตราการว่างงานที่สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า อันเนื่องมาจากตำแหน่งงานไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาและสงวนไว้ให้สำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น

เมื่อเราย้นอมองบังคลาเทศ ณ ขณะะนี้ กำลังกลายเป็นศูนย์กลางการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปเห็นได้จากเสื้อผผ้าส่วนใหญ่เริ่มการผลิตที่บังคลาเทศ โดยบังคลาเทศส่งออกเสื้อผ้ามูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1.45 ล้านล้านบาทสู่ตลาดโลก

อุตสาหกรรมนี้มีการจ้างงานคนมากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง แต่งานในโรงงานไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ เพราะไม่มีสวัสดิการที่เพียงพอ

นายกรัฐมนตรีที่เลือกปฏิบัติ

เมื่อมองไปในมิตการเมืองภายใต้การปกครองเป็นเวลา 15 ปี ของนายกรัฐมนตรี นางชีค ฮาสินา บังคลาเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งการสร้างถนน สะพาน โรงงาน และแม้กระทั่งระบบรถไฟใต้ดินในเมืองหลวงอย่างเมืองธากา

รายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นสามเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และธนาคารโลกประมาณการว่ามีคนมากกว่า 25 ล้านคนพ้นจากความยากจนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

แต่กระนั้นหลายคนกล่าวว่าการเติบโตบางส่วนนั้นเป็นการช่วยเหลือเพียงผู้ที่ใกล้ชิดกับพรรคสันนิบาตอาวามี ของนางฮาสินาเท่านั้น

ขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ในบังคลาเทศ ได้วิจารณ์เกี่ยวกับข้อกล่าวหาการทุจริตต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนางฮาสินาบางคนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีอดีตผู้บัญชาการทหาร อดีตผู้บัญชาการตำรวจ เจ้าหน้าที่ภาษีอากรอาวุโส และเจ้าหน้าที่รับสมัครงานของรัฐ 

นางฮาสินา เคยให้สัมภาษร์ว่า เธอกำลังดำเนินการปราบการทุจริตและยอมรับว่านี่เป็นปัญหาที่มีมานาน ในงานแถลงข่าวเดียวกันในธากา เธอกล่าวว่าเธอได้จัดการกับคนรับใช้ ผู้ช่วยงานที่บ้านคนหนึ่ง หลังจากที่เขาถูกกล่าวหาว่ามีเงินถึง 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.23 พันล้านบาท “เขาจะไม่ไปไหนมาไหนโดยไม่ใช้เฮลิคอปเตอร์ เขาได้เงินมากมายขนาดนี้มาได้อย่างไร ฉันได้ดำเนินการทันทีหลังจากทราบเรื่องนี้” เธอกล่าวแต่เธอไม่ได้ระบุชื่อบุคคลนั้น

สื่อมวลชนในบังคลาเทศต่างมองว่า เงินจำนวนมากขนาดนี้อาจสะสมได้จากการล็อบบี้สัญญารัฐบาล การทุจริต หรือการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ

คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตในบังกลาเทศได้เริ่มการสอบสวนอดีตผู้บัญชาการตำรวจ เบนาซีร์ อาเหม็ด ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของนางฮาสินา ในข้อหาสะสมเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐโดยผิดกฎหมาย โดยเขาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเครือข่ายของนายกรัฐมนตรีหญิงคนนี้เข้าไปพัวพันกับเรื่องการทุจริตหลายคน

แน่นอนว่าประชาชนทั่วไปในประเทศ ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ต่างให้ความสนใจกับข่าวเหล่านี้

หลักมนุษยชนและประชาธิปไตยกำลังถูกทำลาย

นอกจากข้อกล่าวหาการทุจริตแล้ว นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนหลายคนกล่าวว่าว่า พื้นที่สำหรับกิจกรรมประชาธิปไตยได้หดตัวลงในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

“สำหรับการเลือกตั้ง 3 ครั้งติดต่อกัน ไม่มีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม” มีนาคชิ กังกูลี ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียใต้ของ Human Rights Watch ได้กล่าวยืนยันกับบีบีซีในเรื่องนี้

“นางฮาสินา อาจประเมินระดับความไม่พอใจของประชาชนที่ถูกปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกผู้นำของตนเองต่ำเกินไป” กังกูลีกล่าว

พรรคฝ่ายค้านหลักของบังกลาเทศคือ พรรคชาตินิยมบังคลาเทศ (Bangladesh Nationalist Party) หรือ BNP คว่ำบาตรการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2014 และ ค.ศ.2024 โดยอ้างว่าการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้การปกครองของนางชีค ฮาสินา พวกเขาต้องการให้การเลือกตั้งจัดขึ้นภายใต้การดูแลของคณะผู้บริหารที่เป็นกลาง

แน่นอนว่านายกรัฐมนตรี นางฮาสินาได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้มาโดยตลอด

กลุ่มสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่ามีคนหายไปมากกว่า 80 คนในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยหลายคนเป็นผู้วิจารณ์รัฐบาลและครอบครัวของผู้สูญหายก็ไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวที่หายไป

รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าปราบปรามการวิจารณ์และสื่อมวลชน ท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวางว่า นางชีค ฮาสินาได้กลายเป็นผู้นำที่เผด็จการมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เหล่ารัฐมนตรีก็ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้

ดร.ลูธฟา กล่าวว่า “ความโกรธแค้นต่อรัฐบาลและพรรครัฐบาลได้สะสมมาเป็นเวลานาน ผู้คนกำลังแสดงความโกรธแค้นของพวกเขาตอนนี้ พวกเขาหันไปประท้วงเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่”

เหล่ารัฐมนตรีของนางฮาสินากล่าวว่า รัฐบาลได้แสดงความอดทนอย่างมากแม้จะมีการยั่วยุจากผู้ประท้วง พวกเขายังกล่าวว่าการประท้วงได้ถูกแทรกซึมโดยฝ่ายค้านทางการเมืองและพรรคอิสลามิสต์ (Islamist) ซึ่งพวกเขากล่าวว่าเป็นผู้เริ่มการใช้ความรุนแรง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมาย อานิสูล ฮัก กล่าวว่ารัฐบาลเปิดกว้างที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ “รัฐบาลได้พยายามเข้าถึงผู้ประท้วงนักศึกษา เมื่อมีเหตุผลที่เหมาะสม เราพร้อมที่จะรับฟัง” ฮักกล่าวกับบีบีซีเมื่อต้นสัปดาห์นี้

การประท้วงของนักศึกษาอาจเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ นางฮาสินาเผชิญตั้งแต่เดือนมกราคมปี ค.ศ. 2009 และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบและความโกรธแค้นที่เพิ่มขึ้นของประชาชนในบังกลาเทศจะขึ้นอยู่กับวิธีการที่นายกรัฐมนตรีชีค ฮาสินา จัดการกับสถานการณ์นี้

ศาลสั่งลดโควตาตำแหน่งงานลูกหลานทหารผ่านศึกเหลือ 5% สยบประท้วง

หลังจากเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงทั่วประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคมศาลสูงสุดของบังคลาเทศ มีคำวินิจฉัยให้ลดโควตาสำหรับตำแหน่งงานภาครัฐสำหรับญาติของทหารผ่านศึกลงเหลือ 5% จากเดิมที่กำหนดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของตำแหน่งงานภาครัฐทั้งหมด

รายละเอียดของคำพิพากษาศาล ระบุให้ 93% ของตำแหน่งในภาครัฐควรมาจากการสรรหาคัดเลือกด้วยระบบคุณธรรม 5% เป็นโควตาสำหรับญาติของทหารผ่านศึกจากสงครามประกาศอิสรภาพของประเทศจากปากีสถาน

บังคลาเทศเดือดจากความไม่พอใจเรื่องการทุริตและการให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่ม

ส่วนอีก 2% สงวนไว้ให้กับชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ หรือคนพิการ

อานิสูล ฮัก รัฐมนตรีกระทรวงกฎหมาย กล่าวภายหลังศาลสูงสุดมีคำวินิจฉัยว่าน้อมรับคำตัดสินของศาล แต่ไม่แน่ชัดว่ากลุ่มผู้ประท้วงจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เนื่องจากมีหนึ่งในผู้นำนักศึกษาเรียกร้องให้การประท้วงยังดำเนินต่อไป

ด้านโฆษกของหนึ่งในกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาชุมนุมประท้วง กล่าวกับเอเอฟพีว่า การชุมนุมจะยังคงดำเนินต่อไป

“เรายินดีกับคำตัดสินของศาลสูงสุด” โฆษกเครือข่ายนักศึกษาต่อต้านการแบ่งแยก (Students Against Discrimination) ระบุกับเอเอฟพี “แต่เราจะไม่ยกเลิกการประท้วงจนกว่ารัฐบาลจะมีคำสั่งที่สะท้อนข้อเรียกร้องของเรา”

มีรายงานผู้นำการชุมนุมบางรายถูกจับกุม ขณะที่ผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมแก่ผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะ

เรียกได้ว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลบังคลาเทศที่กำลังแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่หากมองลึกลงไปเรื่องการทุจริต รวมถึงการทำลายหลักมนุษยชนตามที่บีบีซี ได้ไปสัมภาษณ์มา นั่นย่อมหมายความว่ามีปัญหามากมายที่รัฐบาลบังคลาทศต้องรีบแก้ไข

เพราะหากแก้ไขช้าเกินไปปัญหาเหล่านี้จะสะสมและบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือ อาจทำให้ประเทศเผชิญสภาวะไร้เสถียรภาพก็เป็นได้

อ้างอิง

BBC

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related