svasdssvasds

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย ผลสุดท้ายแล้วผู้ที่มีเงินมีอำนาจเป็นผู้กุมชะตาชีวิตแรงงาน

SHORT CUT

  • ประวัติศาสตร์โลกไม่ได้มีเรื่องการต่อสู้ระหว่างรัฐกับรัฐ หรือชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นต่อสู้กันเท่านั้น แต่หากมองลึกลงไปจะปรากฏเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายจ้างผู้กดขี่และแรงงานผู้ถูกกดขี่
  • Work Hard to Survieve วาทกรรมหรูเพื่อกระตุ้นให้ลูกจ้างตั้งใจทำงานอย่างหนักเพื่อสนองเงินในกระเป๋าของตนเอง
  • การยกคำสวยหรูโดยอ้างภาวะเศรษฐกิจมาพูดจึงเป็นการปรุงแต่งจิตให้กับคนที่เห็นตรงกันชูประเด็นนี้ขึ้นมาเท่านั้นเอง

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย ผลสุดท้ายแล้วผู้ที่มีเงินมีอำนาจเป็นผู้กุมชะตาชีวิตแรงงาน

ประวัติศาสตร์โลกไม่ได้มีเรื่องการต่อสู้ระหว่างรัฐกับรัฐ หรือชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นต่อสู้กันเท่านั้น แต่หากมองลึกลงไปจะปรากฏเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายจ้างผู้กดขี่และแรงงานผู้ถูกกดขี่อีกด้วย

เช่นเดียวกับประเทศไทยที่สวัสดิการยังไม่เอื้อต่อแรงงานและยังถูกนายจ้างกดขี่อยู่เรื่อยไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

จนเกิดวลีเด็ดจากคนบางกลุ่ม ซึ่งก็คือกลุ่มนายจ้างนั่นแหละ ที่พูดถึง Work Hard to Survieve มุ่งปั้นแต่งคำสวยหรูเพื่อกระตุ้นให้ลูกจ้างตั้งใจทำงานอย่างหนักเพื่อสนองเงินในกระเป๋าของตนเอง

จนมีเสียงจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยพูดถึงแรงงานที่ทำงานหนักอยู่แล้ว จำเป็นต้องแสวงหา Work Life Balance เพื่อไม่ให้ชีวิตตนเองและครอบครัวพังจากการทำงาน

SPRiNG พาไปย้อนอดีตนายจ้างสาย Work Hard to Survieve สนองความมั่งคั่งของตัวเองพร้อมกับฉายภาพการทำงานหนักของลูกจ้างที่ผลสุดท้ายทำงานจนตายเพียงเพื่อต่อสนองความต้องการของเจ้านายเท่านั้นเอง

 

การสร้างพีระมิดที่ Work Hard เพื่อฟาโรห์

ภาพที่เด่นชัดที่สุดไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต้องรู้จัก คือการสร้างพีระมิดมีฉากการใช้แรงงานคนเพื่อแบกก้อนหินไปสร้างพีระมิดทั้งในภาพยนตร์และการ์ตูน

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าคนที่ถูกใช้แรงงาน มีร่องรอยของการทำงานหนัก เช่น กระดูกหัก รอยโรคข้ออักเสบ กระดูกสันหลังงอ ที่เกิดจากการยกของหนักเป็นเวลานาน

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

ถึงแม้พวกเขาจะไม่ใช่ทาส แต่แรงงานส่วนใหญ่เป็นคนธรรมดาที่มีฐานะยากจน พวกเขามาทำงานแลกกับอาหารและเงินอันน้อยนิด มีหลักฐานที่ค้นพบ โรงครัว แสดงให้เห็นว่ามีการจัดการอาหาร เบียร์ ปลา เนื้อสัตว์

และการสร้างพีระมิดเป็นการถูกสร้างสุสานเพื่อฟาโรห์ ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า ฟาโรห์จะกลับมาจากโลกแห่งความตาย จึงมีการทำมัมมี่ของฟาโรห์ขึ้นและนำไปเก็บไว้ที่พีระมิด เพื่อรอวิญญาณฟาโรห์หวนคืน

เป็นภาพสะท้อนว่าแรงงานในยุคอียิปต์โบราณเป้าหมายของการ Work Hard ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองอย่างฟาโรห์ และเอาเข้าจริงประวัติศาสตร์ก็จดจำแต่คนที่สร้างแต่แรงงานที่เป็นผู้ที่สร้างพีระมิดกลับไม่ถูกจดเลย

 

สุสานจิ๋นซี Work Hard ฉบับเอเชีย

ลองนึกภาพหากคุณมีเจ้านายแบบจิ๋นซีฮ่องเต้วันๆ หมกมุ่นแต่เรื่องหลังความตายหรือการเป็นอมตะ ระแวงลูกน้อยว่าจะฆ่าตัวเองตอนไหน

แถมยังเป็นคนที่รวบรวมแผ่นดินจีนได้ เรียกได้ว่าเป็นเจ้านายที่มีอำนาจมีความเป็นเผด็จการและขี้ระแวงสุดๆ

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

สุสานของเขาต้องใหญ่โตและปลอดภัย เพราะหากเขาตายจะได้ไม่มีใครมาฆ่าเขาได้อีก เรียกได้ว่าตายแล้วยังระแวง ดังนั้นจำเป็นต้องสร้างสุสานที่ใหญ่โตและปลอดภัยให้สมเกียรติจักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจัน

ดังนั้นการสุสานจำเป้นต้องใช้งานแรงงานเป็นจำนวนมากเพราะมีระยะเวลาการก่อสร้างยาวนาน ตั้งแต่ปี 246 ก่อนคริสตกาล จนถึงปี 208 ก่อนคริสตกาล รวมระยะเวลาถึง 38 ปี

พื้นที่กว้างใหญ่ถึง 98 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่ากรุงเทพมหานครเสียอีกและมีโครงสร้างซับซ้อนภายในสุสานมีสิ่งก่อสร้างต่างๆ มากมาย เช่น หลุมศพ กองทัพทหารดินเผา คูน้ำ พระราชวังใต้ดิน และกับดักต่างๆ

มีหลักฐานที่ใช้แรงงานจำนวนหลักแสนคนเลยทีเดียว เช่นบันทึกโบราณของซือหม่าเฉียน นักประวัติศาสตร์จีน ระบุว่า มีแรงงาน มากกว่า 700,000 คน ถูกเกณฑ์มาทำงานก่อสร้างสุสาน นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มประมาณการว่า น่าจะมีแรงงาน ประมาณ 500,000 คน

อาจพูดได้ว่าเป็นเจ้านายจอมโหดที่เอาแต่ใจสนองความต้องการของตนเอง สุสานของตน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าลูกจ้างหรือแรงงานจะถูกกดขี่ขนาดไหนระหว่างทำงาน ผลสุดท้ายลงเอยด้วยการที่โลกจารึกแต่ชื่อ “จิ๋นซีฮ่องเต้” ที่เปรียบเสมือนนายจ้าง แต่ลูกจ้างกลับไม่ถูกจารึกชื่อเลย

ปฏิวัติอุตสาหกรรม Work Hard จนใช้แรงงานเด็ก

ถึงแม้ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่การนำเครื่องจักรมาใช้ผ่อนแรงมนุษย์ ที่ค่อนไปทางผ่อนแรงนายทุนและนายจ้างมากกว่า

เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว แน่นอนว่าเกิดกระจุกตัวด้านการความเจริญ รวมถึงงานที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ อย่างลอนดอน ทำให้คนในต่างจังหวัดต้องเข้ามาหางานในเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

ที่ส่งผลตามมาคือมีจำนวนแรงงานที่เยอะแต่อัตราตำแหน่งงานที่น้อย ส่งผลให้นายจ้างสามารถกดเรื่องค่าแรง หรือเลือกที่จะจ้างงานกลุ่มคนที่ค่าจ้างถูก อย่างเด็กและผู้หญิง

ที่ตามมาคือพวกเด็กและผู้หญิงถูกใช้แรงงานหนักและไม่ได้รับสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เพียงพอโดยเด็กถูกจ้างให้ทำงานในโรงงาน เหมือง ท่าเรือ ทำงานที่อันตราย เช่น ทำความสะอาดเครื่องจักร ทำงานกับสารเคมี ทำงานหลายชั่วโมงต่อวัน ในสภาพแวดล้อมที่แออัด สกปรก และอันตราย

จนในที่สุดรัฐต้องออกกฎหมายคุ้มครองเด็ก กำหนดอายุขั้นต่ำในการทำงาน ชั่วโมงการทำงาน สภาพการทำงาน

เรียกได้ว่าเมื่อเข้ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เจ้านายได้แปรเปลี่ยนจากชนชั้นนำ เจ้าผู้ปกครอง สู่นายทุนที่มีเงินเต็มกระเป๋า พวกเขาก็ยังกดขี่ลูกจ้างเช่นเดิม โดยจุดมุ่งหมายคือเหมือนเช่นในอดีตตอบสนองความต้องการของนายจ้างหรือเจ้านาย โดยไม่สนชีวิตความเป็นอยู่ของลูกจ้างเท่าไหร่นัก

ปัจจุบันประดิษฐ์คำสวยหรู 

ในสังคมที่กดขี่แรงงานวิธีการที่ดีที่สุดทำให้พวกเขาจนและไม่ต่อต้านคือการประดิษฐ์วาทกรรมสวยหรูเพื่อประโลมจิตใจและทำให้พวกเขาไม่คิดต่อต้าน

จนเพราะขี้เกียจกล่อมประสาทแรงงาน

หนึ่งในวาทกรรมที่พูดกันมากที่สุดและถูกผลิตซ้ำมากที่สุดคือเรื่องการที่คนเกิดมาจนเพราะขี้เกียจ หรือมองว่าคนจนไม่ขวนขวายถึงไม่สามารถขยับสถานะตนเองได้

และสังคมยังปราบปลื้มกับสิ่งดังกล่าว นำเสนอผ่านหน้าจอทีวีเช่น โฆษณา รายการเรียลลลิตี้โชว์หรือรายการประกวดร้องเพลงบางที่ยังฉายภาพของคนจนที่แม้จะเกิดมาไม่พร้อม แต่สู้จนรวยและประสบความสำเร็จ หรือผลิตซ้ำความโรแมนติกแนวนี้ออกมาเรื่อยๆ โดยไม่เตะเรื่องโครงสร้างที่เหลื่อมล้ำในสังคม

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

ขณะที่นักวิชาการอย่าง รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ให้เห็นผ่านงานวิจัยว่าหากลองเปรียบเทียบง่ายๆ ระหว่างประเทศนอร์เวย์ที่มีระบบสวัสดิการที่ดี ความจนความรวยส่วนมากจะจบที่รุ่นพ่อรุ่นแม่คือ คุณสามารถเริ่มใหม่ในชีวิตของคุณได้ คือ คุณได้รับการศึกษาที่ดีที่ฟรี คุณได้รับการรักษาพยาบาลที่ฟรีและดี พ่อแม่ของคุณได้รับเงินบำนาญ คุณก็สามารถเริ่มต้นชีวิตของคุณได้

ถ้าคุณไปดูในสหรัฐอเมริกาหรือไทย ความรวยความจนของรุ่นพ่อรุ่นแม่ มีโอกาสส่งต่อมาถึงรุ่นลูกได้ เพราะฉะนั้นพอเรามาดูในรุ่นของพวกเราที่เกิดขึ้นมา มันไม่ใช่เป็นเรื่องของความจนของเราอย่างเดียว มันเป็นสิ่งที่ถูกส่งต่อมาเพราะฉะนั้นมันไม่สำคัญหรอกว่า คุณขยัน หรือว่า คุณฉลาด มันสำคัญเพียงว่า พ่อแม่ของคุณรวยมากแค่ไหนในประเทศที่ระบบสวัสดิการไม่ดี

Work Hard to Survive ลูกจ้างตายนายจ้างรอด

ในโลกปัจจุบันที่เราบอกว่าเป็นยุคแห่งเสรีประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และมีการจำกัดความคำว่า Work-life balance หรือ สมดุลชีวิตการทำงาน ขึ้นมา ให้การทำงานและการใช้ชีวิตมีความสุขและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ความเป็นจริงน้อยครั้งหรือน้อยคนที่จะปฏิบัติเช่นนี้ได้จริงๆ เพราะประเทศไทยภาวะทุนนิยมค่อนข้างรุนแรง จนนายจ้างจำกัดสิทธิต่างๆ ของลูกจ้างมากมาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนลูกจ้างยากที่จะรวมตัวต่อรองกับนายจ้างในบริษัท

หรือ ณ ปัจจุบันได้มีการนิยามคำว่า Work Hard to Survive ออกมาชนกับคำว่า Work-Life Balance โดยยกตัวอย่างว่าเศรษฐกิจหนักหนาสาหัสจนไม่สามารถทำงานแบบ Work-Life Balance ได้

Work Hard to Survive ? ประวัติศาสตร์ชี้ชัด “ลูกจ้าง” ตาย “เจ้านาย” รวย

แต่หากมองจากประวัติศาสตร์แล้วนั้นจะพบว่าลูกจ้างไม่สามารถทำงานแบบ Work-Life Balance ได้เลย ปัจจัยไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่มีประสิทธิภาพจัดการเวลาไม่เป็น แต่เพราะผู้ที่เป็นนายจ้าง มีทั้งเงินและอำนาจ ซึ่งอดีตก็ชี้ชัดให้เห็นว่าพวกเขาสามารถกุมชะตาชีวิตลูกจ้างผ่านอำนาจและเงินได้

การยกคำสวยหรูโดยอ้างภาวะเศรษฐกิจมาพูดจึงเป็นการปรุงแต่งจิตให้กับคนที่เห็นตรงกันชูประเด็นนี้ขึ้นมาเท่านั้นเอง

สุดท้ายขอยกคำของคุณโตมร ศุขปรีชา มาพูดว่า

“Work Hard หรือทำงานหนักนั้น เม็ดเงินส่วนใหญ่ที่ถูกผลิตขึ้นมา ไม่ได้ตกอยู่กับคนที่ Work Hard แบบลงมือทำจริงๆ แต่ยิ่งทำงานหนักเท่าไหร่ ก็ยิ่งเทียบเท่ากับการสร้างความร่ำรวยให้คนที่ถูกมองว่าอยู่ในลำดับชั้นทางสังคมแบบ Elite แทบทั้งนั้น”

และประวัติศาสตร์ได้ตอบสิ่งนี้แล้ว

อ้างอิง

DEEN VLOG / The 101 World / The Matter / MGR / BrandThink / RCIMS / 

TomornSookprecha  /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related