ชีวิตคนทำงานที่ไร้สมดุล องค์กรย่อมได้รับผลกระทบอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งคนทำงานมีสภาวะ Burn Out จำนวนมากเท่าไหร่ ย่อมส่งผลต่อเสียต่อองค์กรมากขึ้นเท่านั้น
เป็นที่รู้กันดีว่าทุกวันนี้คนทำงานทุกคนใช้ชีวิตในที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้าน เห็นหน้าเพื่อนร่วมงานบ่อยกว่าเห็นหน้าพ่อ แม่และคนในครอบครัว หลายคนมีใจอยู่กับงาน คิดถึงเรื่องงาน แม้ว่าตัวจะอยู่นอกออฟฟิศแล้วก็ตาม ดูเหมือนชีวิตแบบนี้จะไม่สามารถแยกเรื่องงานกับชีวิตส่วนตัวขาดออกจากกันได้
ยิ่งเทคโนโลยีตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบ Work from Anywhere มากเท่าไหร่ ทุกคนสามารถทำงานที่ไหน เวลาใดก็ได้ ก็ยิ่งทำให้เส้นแบ่งบางๆ ระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวจางลงทุกที่ หลายคนอยู่ในสภาวะ Burn Out ไม่สามารถจัดการชีวิตได้อย่างลงตัว ทุกอย่างพัวพันนัวเนียกันไปหมดกลายเป็นเทรนด์ของวิถีชีวิตในยุคนี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ได้ยินเสียงบ่นว่า “เดี๋ยวนี้ใช้ชีวิตยากขึ้นทุกวัน”
ชีวิตคนทำงานที่ไร้สมดุล องค์กรย่อมได้รับผลกระทบอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งคนทำงานมีสภาวะ Burn Out จำนวนมากเท่าไหร่ ย่อมส่งผลต่อเสียต่อองค์กรมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่ว่าจะคุณภาพงาน ส่งงานช้า ทำงานผิดพลาด บริการลูกค้าได้ไม่ดี หรือถ้าเป็นมากก็เจ็บป่วย มาทำงานสาย รวมถึงอัตราการลาออกสูงขึ้นซึ่งเป็นต้นเหตุของค่าใช้จ่ายการรับสมัครและคัดเลือกคนทำงานใหม่ และค่าฝึกอบรมพนักงานตามมา
สภาพการทำงานหนักที่เข้าสู่สภาวะ Burn Out ที่ว่ามาเป็นเรื่องที่องค์กรและผู้บริหารควรให้ความใส่ใจ ควรหมั่นสังเกตวัฒนธรรมการทำงาน สไตล์ผู้บริหารแต่ละแผนก แต่ละทีม ว่าส่งผลต่อการคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรอย่างไรบ้าง
วิธีสังเกตง่ายๆ ที่ช่วยให้เห็นความไม่ปกตินี้ ซึ่งหลายครั้งเราเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะอยู่ในสภาพการทำงานแบบนี้มาอย่างยาวนานจนคุ้นเคย คือ
การเอาใจใส่คุณภาพชีวิตพนักงาน ทำให้พนักงานทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ งานย่อมมีประสิทธิภาพ บริษัทได้รับการยอมรับและดึงดูดให้มีผู้สนใจอยากร่วมงานด้วย เป็นโอกาสให้สามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถเข้าร่วมงาน ทำให้บริษัทเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
เรามาลองดูแนวทางที่ช่วยให้พนักงานสามารถบริหารชีวิตงานและชีวิตส่วนตัวได้ลงตัวมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกันดีกว่า
นอกจากนี้บ้านของพนักงานทุกคนใช่ว่าจะพร้อมสำหรับการเป็นที่ทำงาน และไม่ใช่ทุกงานที่จะอนุญาตให้ทำงานแบบ Remote Working หรือ Hybrid Working ได้ แนวคิดนี้จึงเป็นเรื่องของความเหมาะสมของลักษณะงานและความพร้อมของพนักงานซึ่งบริษัทที่ใช้นโนบายนี้อาจจะต้องสนับสนุนค่าใช้จ่าย Co-working Space หรือค่าไฟฟ้าในกรณีที่ไม่ได้แจ้งเรื่องสภาพการทำงานลักษณะนี้ให้พนักงานรู้ตั้งแต่ตอนจ้างงาน
ที่ยกตัวอย่างมาเป็นเพียงแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในหลายบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศ แต่ละองค์กรมีข้อจำกัดและลักษณะงานที่แตกต่างกัน การกำนหนดนโยบายจึงแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ “ความใส่ใจต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานและเพื่อนร่วมงาน” ต่อให้เราเป็นผู้บริหารระดับสูงก็ต้องไม่ลืมว่าเราก็เป็นพนักงานและคนทำงานด้วยเช่นกัน การสนับสนุน ผลักดันให้องค์กรมีวัฒนธรรมการทำงานแบบ Work Life Integration สามารถหลอมรวมชีวิตงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างลงตัวจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและคุ้มค่า
เพชร ทิพย์สุวรรณ
อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ
ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant
บทความอื่นที่น่าสนใจ