svasdssvasds

คำว่า ‘ผู้ดี’ หมายถึงใคร ใช่คนสันดานรวย จากเรื่อง 'สืบสันดาน' หรือเปล่า?

คำว่า ‘ผู้ดี’ หมายถึงใคร ใช่คนสันดานรวย จากเรื่อง 'สืบสันดาน' หรือเปล่า?

คำว่า ‘ผู้ดี’ หมายถึงใคร ใช่คนรวย-แต่งตัวดี หรือเปล่า? หรือหมายถึงคนธรรมดา ที่ประพฤติดี มีจรรยามารยาทที่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่เกี่ยวกับว่าต้องเป็นชนชั้นสูง

SHORT CUT

  • ‘ผู้ดี’ ที่คนทั่วไปมักนึกถึงคือ คนรวย ชนชั้นสูง คนมีการศึกษาดี หรือคนที่มียศถาบรรดาศักดิ์ ซึ่งความเข้าใจแบบนี้ ทำให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมขยายใหญ่ขึ้น
  • อิทธิพลจากตะวันตก เป็นปัจจัยหนึ่ง โดยเฉพาะจากอังกฤษ ที่สื่อไทยและคนไทยมักเรียกติดปากกันว่า 'เมืองผู้ดี'
  • ความหมายที่แท้จริงของ ‘ผู้ดี’ คือ บุคคลผู้มีความประพฤติดี มีจรรยามารยาทที่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่เกี่ยวกับวงศ์ตระกูล แต่อย่างใด 

คำว่า ‘ผู้ดี’ หมายถึงใคร ใช่คนรวย-แต่งตัวดี หรือเปล่า? หรือหมายถึงคนธรรมดา ที่ประพฤติดี มีจรรยามารยาทที่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่เกี่ยวกับว่าต้องเป็นชนชั้นสูง

ช่วงนี้ ซีรีส์ไทย ‘สืบสันดาน (Master of the House) ’ ที่ปล่อยออกมาให้ชม Netflix กำลังมาแรงสุด ๆ ซึ่งติดท็อป 10 ในหลายประเทศ และขึ้นไปยืนอยู่บนอันดับ 2 ที่มีผู้ชมสูงสุดของโลกไปแล้ว

โดยเนื้อเรื่องเล่าถึง ศึกชิงมรดกระหว่างสองทายาทตระกูลเทวสถิตย์ไพศาล บุตรชายของ"เจ้าสัวรุ่งโรจน์" เจ้าของ Theva Gems อาณาจักรเพชรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งความน่าสนใจอยู่ตรงที่ การตีแผ่เรื่องของผู้ดี กับ คนใช้ในคฤหาสน์หลังโต ที่ดูแล้วอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า นี่หรือคุณสมบัติผู้ดีของชนชั้นสูง เพราะแต่ละเรื่องที่เห็นนี่มันช่างตรงกันข้าม หรือนี่คือเรื่องปกติ ของ ‘ผู้ดีสันดานรวย’

ทั้งนี้ คำว่า ‘ผู้ดี’ มาจากไหน หมายถึงใคร มีแต่คนรวยหรือเปล่าที่ใช้คำว่าผู้ดีได้ มาย้อนดูที่มาของคำนี้กัน

ที่มาของคำว่าผู้ดี 

ที่มาของคำว่าผู้ดี 

ตามปกติ เมื่อพูดว่า ‘ผู้ดี’ คนทั่วไปมักนึกถึง คนรวย ชนชั้นสูง คนมีการศึกษาดี หรือคนที่มียศถาบรรดาศักดิ์ ซึ่งความเข้าใจแบบนี้ ทำให้ช่องว่างระหว่าง ชนชั้นในสังคมขยายใหญ่ขึ้น ทั้งที่ความจริง ผู้ดี หมายถึงคนดีเฉยๆ ไม่ได้เกี่ยวกับความรวย หรือวงศ์ตระกูลแต่อย่างใด ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระราชทานความหมายของ ผู้ดี ไว้ว่า “ผู้ที่ประพฤติดีจึงจะเป็นผู้ดี เพราะฉะนั้นชาติกำเนิดไม่เป็นของสำคัญเท่าความประพฤติตั้งอยู่ในศีลในธรรม รักษาความสัตย์สุจริตเสมอ”

เจ้าพระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล)

นอกจากนี้ หนังสือ สมบัติผู้ดี โดย เจ้าพระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ซึ่งเรียบเรียงไว้ตั้งแต่พ.ศ.2455 พบคุณสมบัติผู้ดีไว้ 10 บท

1. ผู้ดีย่อมรักษาความเรียบร้อย

2. ผู้ดีย่อมไม่ทำอุจาดลามก

3. ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ

3. ผู้ดีย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก

5. ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีสง่า

6. ผู้ดีย่อมปฏิบัติการงานดี

7. ผู้ดีย่อมเป็นผู้ใจดี

8. ผู้ดีย่อมไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว

9. ผู้ดีย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง

10. ผู้ดีย่อมไม่ประพฤติชั่ว”

ส่วนเหตุผลที่คนไทย มักมองว่า ‘ผู้ดี’ หมายถึงคนชนชั้นสูงนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเรื่องที่ผิดอะไร เพราะสังคมไทยดั้งเดิมมีระบบชนชั้นที่แบ่งแยกผู้คนตามฐานะและกำเนิด ดังนั้นภาพของ "ผู้ดี" จึงเป็น บุคคลที่เกิดในชนชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่

ส่วนอิทธิพลจากตะวันตก ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง โดยเฉพาะจากอังกฤษ ที่สื่อไทยและคนไทยมักเรียกติดปากกันว่า เมืองผู้ดี เพราะประเทศแห่งนี้ เต็มไปด้วย บรรดาขุนนาง (Aristocrat) ที่ธรรมเนียมปฏิบัติ และแฟชั่นของพวกเขาก็มีความหรูหราแตกต่างจากคนชนชั้นปกติอยู่พอสมควร ทำให้การเรียกชนชั้นสูงว่าผู้ดีบ่อยๆ กลายเป็นภาพจำที่สืบทอดกันมา ส่งผลให้ปัจจุบัน คำว่าผู้ดีจึงมักผูกกับวงศ์ตระกูล และความร่ำรวย มากกว่าเรื่องการประพฤติตัว

สรุป ‘ผู้ดี’ คือ บุคคลผู้มีความประพฤติดี มีจรรยามารยาทที่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ต่อให้มีฐานะร่ำรวย แต่งตัวดี เกิดในตระกูลสำคัญ แต่ปฏิบัติตัวเหมาะสม ก็ไม่ใช่ผู้ดีแต่อย่างใด ดั่งที่เราเห็นจากซีรีส์ไทย ‘สืบสันดาน’ ที่มีแต่ ‘ผู้ดีสันดานรวย’

ที่มา MGR ONLINE,VOGUE ,หม่อมหลง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related