svasdssvasds

เอ้ สุชัชวีร์ บนเก้าอี้อธิการบดี : การพลิกโฉม สจล. สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ

เอ้ สุชัชวีร์ บนเก้าอี้อธิการบดี : การพลิกโฉม สจล. สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ

กว่า 6 ปีบนเก้าอี้อธิการบดีของสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ได้พลิกโฉม สจล. ก้าวขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ แก้ไขปัญหาสารพัดในรั้วแคแสด เปลี่ยนแปลงและพัฒนา สจล. อย่างก้าวกระโดด จนถูกเรียกว่า “The Disruptor” หรือ “นักเปลี่ยนแปลง”

“เคยมีคนตั้งคำถามผม ว่าทำไมผมถึงมีความกล้าหาญ มุ่งมั่น ผมตอบกับทุกท่านเลยครับ ว่าเป็นเพราะบ้านแห่งนี้ (สจล.) ที่นี่สร้างผมมาอย่างนี้”

ส่วนหนึ่งจากคำกล่าวในวันอำลาตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ของ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กับที่แห่งนี้ "พี่เอ้" เคยเป็นทั้งนักศึกษา อาจารย์ และผู้บริหาร สจล. จึงเป็นทั้งบ้าน มหาวิทยาลัย ไปจนถึงเวทีที่ให้ได้เฉิดฉายความสามารถ แล้วในช่วงที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี พี่เอ้สร้างผลงานอะไรให้กับ สจล. บ้าง...?

ดร.สุชัชวีร์ ก้าวสู่ตำแหน่งอธิการบดีในวันที่พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบังเต็มไปด้วยปัญหาจากกรณียักยอกเงิน สจล. 1,600 ล้านบาท ทำให้มหาวิทยาลัยเผชิญกับวิกฤตรอบด้าน โดยเฉพาะวิกฤตศรัทธา ด้านธรรมาภิบาล และความโปร่งใสที่ตกต่ำย่ำแย่ ภารกิจสำคัญของอธิการบดีผู้นี้คือการกอบกู้ศรัทธาและพา สจล. เดินไปข้างหน้า

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4

สจล. ยุคพี่เอ้มีการยกเครื่องโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยใช้โครงสร้างแบบ “3 อธิการบดี” เพิ่มตำแหน่งรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ (Provost) และรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารทรัพยากรและบริการ (Senior Executive Vice President) ซึ่งเป็นโครงสร้างการบริหารแบบเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง MIT ระบบใหม่นี้ช่วยยกระดับความโปร่งใส ความชัดเจนในหน้าที่ และรวดเร็วฉับไวมากขึ้น

นอกจากนี้ ดร.สุชัชวีร์ ยังยกระดับคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมของ สจล. สู่ระดับโลกด้วยการส่งเสริมการทำวิจัยเชิงรุก บูรณาการสหวิทยาการ ทลายกำแพงระหว่างคณะและหน่วยงานต่างๆ จนที่สุดแล้ว สจล. ขึ้นแท่นเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศด้านงานวิจัย จากการจัดอันดับของ Time Higher Education 2019

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4

ความเข้มแข็งทางวิชาการของพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง เติบโตอย่างก้าวกระโดด ดร.พี่เอ้ บุกเบิกพรมแดน สจล. ให้กว้างออกไปด้วยการสร้างพันธมิตรทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยระดับโลก ทั้งการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ก่อตั้งมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) แห่งแรกในเอเชีย เพื่อสร้างนักวิจัยที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และยังร่วมมือกับสถาบันศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีโคเซ็น (KOSEN) ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN-KMITL) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม

เมื่อโลกหันเข้าสู่เทคโนโลยีและความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ระบบเครือข่ายสำหรับสถานศึกษาอย่าง SDN & Cloud Computing ก็ปรากฏขึ้นบนแผ่นดินลาดกระบังในยุคของอธิการบดีพี่เอ้ โดยประสานพลังกับหัวเว่ยและจีเอเบิล ทำให้พื้นที่ทั่ว สจล. มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตและ Wi-Fi 3,000 จุด ยกระดับประสิทธิภาพการเรียนการสอน และมีการนำนวัตกรรมอื่นเข้ามาใช้เพื่อนำพาสถาบันไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และทำให้ สจล. เป็นศูนย์กลางการผลิตบุคลากรแห่งอนาคตด้วย

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4

ขณะเดียวกัน วิศวกร MIT ผู้นี้ไม่ยอมให้ สจล. จำกัดตัวเองอยู่แต่ในกรอบ “มหาวิทยาลัยวิศวกรรม” จึงพัฒนาหลักสูตรให้เป็นสหวิทยาการ ผสมผสานองค์ความรู้และเจือนวัตกรรมเข้าไปในแก่นการเรียนการสอนในศาสตร์ทุกแขนง ให้บัณฑิตมีความรู้ในหลากหลายมิติ เช่น การมุ่งเน้นให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทำงานร่วมกัน ทั้งยังจัดตั้งคณะและหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัย อาทิ การก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์เพื่อผลิต “แพทย์นวัตกร” ที่มีความรู้ทางการแพทย์ควบคู่ไปกับความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีการแพทย์ด้วย รวมทั้งก่อตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีตเพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้ทั้งด้านวิศวกรรมและศิลปศาสตร์ดนตรี ไปจนถึงวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพด้านวิศวกรรมการบิน

ด้วยเห็นความสำคัญของการศึกษาในทุกระดับ ดร.สุชัชวีร์ จึงก่อตั้งโรงเรียนสาธิตนานาชาติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMIDS) โดยวางหลักสูตรเป็นโรงเรียนสาธิตนานาชาติแห่งแรกของไทยที่เน้นการสอนด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมไปกับการบูรณาการวิชาภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปะและกีฬา

คณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

อีกผลงานชิ้นโบว์แดงของพี่เอ้กับ สจล. คือการเป็นผู้จัดตั้งและผู้บุกเบิกโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงโรงพยาบาลสำหรับการรักษาเท่านั้น หากแต่ยังเป็นศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์ครบวงจรแห่งแรกในไทยและอาเซียนด้วย เพื่อผลิตและพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง

กว่า 6 ปีบนเก้าอี้อธิการบดีของพี่เอ้ พลิก สจล. สู่วันที่ก้าวขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ แก้ไขปัญหาสารพัดในรั้วแคแสด เปลี่ยนแปลงและพัฒนา สจล. อย่างก้าวกระโดด จนถูกเรียกว่า “The Disruptor” หรือ “นักเปลี่ยนแปลง”

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4

ทุกการเปลี่ยนแปลงมีแรงเสียดทานเสมอ ภารกิจการเปลี่ยนแปลง สจล. ไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องเผชิญแรงต้านอย่างหนัก แต่สุดท้ายผลงานก็พิสูจน์ให้เห็นว่า พี่เอ้สามารถพา “ร่มมาลีแคแสด” ฝ่าวิกฤติและเบ่งบานอีกครั้ง จนเป็นองค์กรที่มีความเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย

ถึงวันนี้ที่คนในเมืองหลวงจะเลือกพ่อเมือง เอ้-สุชัชวีร์ ตบเท้าอาสาทำภารกิจ “เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้” แต่จะ “ได้ทำ” หรือไม่นั้น คำตอบอยู่ในวันที่ 22 พฤษภาคมศกนี้  

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

related