svasdssvasds

พบหลอดเก่าแก่ที่สุดในโลก 5,500 ปี ยาว 1 เมตร ทำจากทองคำและเงิน ใช้ดื่มเบียร์

พบหลอดเก่าแก่ที่สุดในโลก 5,500 ปี ยาว 1 เมตร ทำจากทองคำและเงิน ใช้ดื่มเบียร์

ผลการศึกษาพบหลอดเก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 5,500 ปีในอิรัก ถูกสร้างในยุคสำริด ทำจากทองและเงิน ยาวประมาณ 1 เมตร ใช้ดื่มเบียร์กับเพื่อนฝูง ในสมัยสุเมเรียน

หากนึกภาพการนั่งสังสรรค์ดื่มเบียร์กับเพื่อนฝูง ด้วยหลอดยาว 1 เมตร ต้องใช้พลังในการดูดขึ้นมาขนาดไหนกันนะ และมันดูดขึ้นจริงๆใช่ไหม แต่มันอาจเป็นไปได้ในวัฒนาธรรมยุคสำริดของชาวสุเมเรียนเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว

ผลการศึกษาพบหลอดสีทองและสีเงินเรียว ถูกสร้างขึ้นในยุคสำริด เป็นหลอดดื่มที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 5,500 ปี

นักโบราณคดีพบท่อโลหะยาว 3 ฟุต ประมาณ 1 เมตร ในปี 1897 ขณะขุดหลุมฝังศพที่รู้จักกันในชื่อ kurgan จากวัฒนธรรมโบราณ Maikop (ไมคอป) ในเทือกเขาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ (northwestern Caucasus) อยู่ใกล้เคียงกับอาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และบางส่วนของรัสเซียตอนใต้ จนถึงขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถถอดรหัสวัตถุประสงค์ของหลอดดังกล่าวได้แบบชัดเจน งานวิจัยชิ้นใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนน่าจะเคยใช้หลอดนี้ ซึ่งบางหลอดมีหุ่นรูปปั้นวัวตัวเล็กๆติดประดับอยู่ คาดว่าใช้เพื่อดื่มเบียร์กับเพื่อนฝูงจากภาชนะส่วนหลาง

ภาพจำลองการใช้งานของหลอด Cr.V.Trifonov; Antiquity Publications Ltd.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Viktor Trifonov นักโบราณคดีจากสถาบันประวัติศาสตร์วัฒนธรรมวัสดุแห่ง Russian Academy of Sciences ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กกล่าวว่า

“ท่อที่เห็นนี้ไม่ง่ายอย่างคิด รูปแกะสลักรูปกระทิงอันวิจิตรงดงามที่ติดอยู่กับหลอด มันสามารถเป็นได้ทั้งของตกแต่งและเป็นองค์ประกอบทางเทคนิคสำหรับการปรับสมดุลของอุปกรณ์”

หลอดไมคอปมีอายุประมาณ 1,000 ปี ซึ่งมากกว่าหลอดที่เก่าแก่ที่สุดที่รอดมาได้เป็นประวัติการณ์ พบได้ที่สุสานหลวงเมืองเออร์ และมีอายุย้อนหลังไปอีก 4,500 ปีในช่วงที่มันถูกใช้งาน หลอดนี้ถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ State Hermitage ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก การศึกษานี้ได้ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันพุธที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมาในวารสาร Antiquity

นักโบราณคดีพบหลอดอายุประมาณ 5,500 ปีในคุร์แกน (Kurgan) ขนาดใหญ่ (หลุมฝังศพ) ที่มีช่องใหญ่ 3 ช่องสำหรับเก็บศพและสิ่งของที่ฝังไปพร้อมกับศพในวัฒนาธรรมไมคอป เมื่อประมาณ 3700 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 2900 ปีก่อนคริสตกาล  ห้องที่ใหญ่ที่สุดจะบรรจุสิ่งของหรือสมบัติของผู้ตายไว้ เช่น ลูกปัดหลายร้อยเม็ดที่ทำจากหินสังเคราะห์และทองคำ ภาชนะเซรามิก ถ้วยโลหะ อาวุธและเครื่องมือทำมาหากินต่างๆ โดยของต่างๆมักจะเรียงรายอยู่ตามผนังห้อง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้พบท่อโลหะยาว 8 ท่อ ที่มีรูปปั้นวัวกระทิงทองคำหรือเงิน 4 ชิ้นอยู่ทางขวาของโครงกระดูก ซึ่งคาดว่าคือหลอดดื่มน้ำ จึงถูกเรียกว่า ไมคอป (Maikop)

บางหลอดก็มีรูปปั้นวัวกระทิง บางหลอดก็ไม่มี แต่ยังหาข้อเท็จจริงไม่ได้ว่ามีทำไม Cr.V. Trifonov; Antiquity Publications Ltd. ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักโบราณคดีหลายคนสงสัยว่าท่อเหล่านี้เป็นไม้คทา เสาอะไรสักอย่าง หรือแม้แต่ที่มัดแท่งไม้สำหรับหัวลูกศรหรือเปล่า แต่การตีความเหล่านี้ยังไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ ดังนั้น Trifonov และเพื่อนร่วมงานจึงไม่มีความคิดอื่นใดนอกจากคาดการณ์ว่าสิ่งนี้คือหลอด ไม่ใช่เสาเหล็กทื่อๆ จึงนำไปสู่การติดสินใจวิเคราะห์มันในฐานะหลอดอีกครั้ง จากการพิจารณาว่ามันคืออะไรมานานหลายปี

จากการค้นหาคำตอบไปมา ทำให้พวกเขาสรุปได้ว่า มันน่าจะเป็นหลอดสำหรับดื่ม ซึ่งออกแบบมาเพื่อจิบเครื่องดื่ม และคาดว่าเครื่องดื่มนั้นคือเบียร์

แนวคิดนี้สอดคล้องกับการค้นพบทางโบราณคดีอื่นๆในตะวันออกใกล้ๆกัน คนโบราณยุคนั้นชอบหมักข้าวบาร์เลย์เป็นเบียร์ เมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อน นักวิจัยกล่าวว่า การผลิตเบียร์ขนาดใหญ่เริ่มขึ้นในเอเชียตะวันตกในช่วงห้าถึงสี่พันปีก่อนคริสตกาล และมีตราประทับจากเวลานั้น ซึ่งปัจจุบัน สถานที่แห่งนั้นอยู่ในประเทศอิรักและอิหร่าน

โดยการคาดการณ์และการทาบกันในด้านระยะเวลาที่สอดคล้อง ทำให้นักวิจัยเข้าใจสถานการณ์ได้ว่า สิ่งนี้น่าจะเป็นหลอด ผนวกกับผลวิจัยอื่นๆที่เสริมขึ้นมา เช่น ชาวสุเมเรียนโบราณดื่มเบียร์ผ่านกกไม้ยาว รวมทั้งสมเด็จพระราชินี Puabi เป็นผู้ที่ถูกฝั่งไปพร้อมหลอดยาวนี้ด้วยเช่นกัน ในสุสานหลวงที่เมืองเออร์ (Ur) หรืออิรักในปัจจุบัน นั่นแสดงให้เห็นว่าการจิบเบียร์ร่วมกันผ่านท่อยาวเป็นที่ชื่นชอบของคนในยุคนั้นและเป็นงานอดิเรกเวลาพบปะกัน

ภาพวาดจำลองของการค้นพบตำแหน่งของหลอด Cr.V. Trifonov; Antiquity Publications Ltd. ในการตรวจสอบ ทีมงานได้สุ่มตัวอย่างสารตกค้างที่อยู่ภายในสิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งและพบหลักฐานคือเม็ดแป้งข้าวบาร์เลย์ อนุภาคธัญพืช และละอองเรณูจากต้นมะนาว อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไม่แน่ใจว่าข้าวบาร์เลย์ถูกหมักเป็นเบียร์หรือไม่ ดังนั้น “ผลลัพธ์เหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาอย่างระมัดระวัง เนื่องจากจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์หาหลักฐานเพิ่มเติม” นี่คือข้อสังเกตที่พวกเขาใช้ในการศึกษาครั้งนี้

ถึงกระนั้น “การออกแบบ จำนวนหลอด การวิเคราะห์สารตกค้างและความคล้ายคลึงสำคัญหลายประการกับหลอดสุเมเรียน ทำให้เราสรุปได้ว่าหลอด Maikop เป็นหลอดเครื่องดื่ม” มันเป็นไปได้มากที่ Maikop ของแต่ละคนจะใช้ไว้ดื่มสังสรรค์กับเพื่อนๆ เนื่องจากศิลปะตะวันออกใกล้โบราณสถานตั้งแต่สหัสวรรษที่ 3 เป็นต้นไป พบหลอดยาวหลายอันวางเรียนอยู่ในภาชนะส่วนกลางเพื่อให้ผู้คนยืนหรือนั่งใกล้ๆเพื่อดื่มด้วยกัน

หลอด Maikop มีตะแกรงโลหะที่จะ “ช่วยกรองสิ่งสกปรกทั่วไปในเบียร์โบราณ” ผลการวิจัยนี้ ฟังดูน่าเชื่อถือทีเดียวหากเทียบกับการคาดการณ์ต่างๆนาๆก่อนหน้านี้ เมื่อเราพิจารณาจากความคล้ายคลึงกันในส่วนอื่นๆ และการวิเคราะห์สารตกค้าง รวมไปถึงความสำคัญของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมโบราณและสมัยใหม่ส่วนใหญ่ที่กลายเป็นประเพณี ทำให้ทั้งหมดนี้สอดคล้องกันมากกว่าจะเป็นอื่นใด

ที่มาขอมูล

https://www.livescience.com/oldest-drinking-straws-on-record

related