GCNT Forum การประชุมระหว่างรัฐและภาคธุรกิจในการร่วมกันหาทางออกแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยออกนโยบายสนับสนุนเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกัน ทางภาครัฐและเอกชนยังมีความเห็นตรงกันอีกว่า ควรเริ่มลงมือทำเดี๋ยวนี้ และเปลี่ยนทัศนคติหรือวิธีคิดให้ถูกต้อง
“ผมของเรียกร้องให้ทุกท่านสร้างโลกที่ดีกว่า เพื่อแก้ปัญหา Climate Change อย่างยั่งยืน”
ประยุทธ์มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ในปี 2065 แม้ต่างชาติตั้งไว้ปี 2050
สรุปการประชุม GCNT Forum 2021 รวมนโยบายของภาคเอกชนและภาครัฐต่อการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาออนไลน์ระหว่างรัฐบาล ผู้ประกอบการเอกชนและสหประชาชาติ เพื่อหาทางออกในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน นำไปสู่ทางออกที่ยั่งยืนและมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ภายในปีค.ศ. 2065 ผ่านการประชุม Video Conference (Global Compact Network Thailand) – GCNT Forum 2021 ภายใต้แนวคิด “A New Era of Accelerated Actions” โดยมีนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในพิธี
โดยมีการจั่วหัวของปัญหาและวิกฤตภาวะโลกร้อน ถ้าหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส จะทำให้น้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีก 170% โดยเฉพาะพื้นที่ในอาเซียนจะเปราะบางที่สุด น้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้น 1.1 เมตรภายในปีค.ศ. 2100 และไทยจะเข้าร่วม COP26 (การประชุมสุดยอดผู้นำเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์โลกร้อน จัดขึ้นที่กรุงกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ วันที่ 31 ตุลาคม 2564)อย่างแน่นอน เพื่อนำไปสู่ Net Zero Carbon ให้ได้ภายในปีค.ศ. 2050 โดยก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเองได้เดินทางไปเข้าร่วมมอบสัตยาบันสารนำประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีข้อตกลงปารีสที่นิวยอร์ก เมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีค.ศ.2016 แล้วด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย-UN ประกาศลั่น สู้วิกฤตโลกร้อน เล็งผลใน ค.ศ. 2050
วิกฤตสหราชอาณาจักร ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงกว่าครึ่งในรอบศตวรรษ
บราซิลสูญเสียพื้นที่ป่าอเมซอนเทียบเท่ารัฐเท็กซัสและนิวเม็กซิโกรวมกัน
จากการร่วมมือกันของภาครัฐและภาคเอกชน โดยรัฐมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคเอกชนในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลดโลกร้อนทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี การเข้าถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจระหว่างประเทศ ส่วนทางภาคเอกชนหลายองค์กรเน้นย้ำว่า “ทุกองค์กรต้องเร่งลงมือทำเลยตอนนี้ เดี๋ยวจะสายเกินแก้”
เราลองไปดูกันว่าจากการหารือนี้ ได้ข้อสรุปนโยบายออกมาว่าอย่างไรบ้าง
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงนโยบายคร่าวๆหากสนใจรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมแบบเชิงลึกสามารถไปติดตามได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Global Compact Network Thailand
ผลการศึกษาจาก Climate Central จัดให้กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจากน้ำท่วมตามแนวชายฝั่งและการทรุดตัวของดิน รวมไปถึงการคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบในระยะยาวติดอันดับ 9 ของโลก จึงอยากขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมช่วยกันแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เพราะไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) 10% จากทั้งโลก ผลจากการประชุมครั้งนี้คือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเห็นตรงกันในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่ต้องมุ่งเป้าไปที่การลดคาร์บอนให้เป็น 0
ผศ.ชล บุนนาค หัวหน้าโครงการ SDG move กล่าวว่า “โลกจะรอดได้ต้องเอาจริง เอกชนทำคนเดียวไม่ได้และรัฐต้องเอื้อเอกชน รวมถึงการทำงานต้องเป็นธรรม ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
นาย ปิยชาติ อิสรภักดี ผู้วิจัยแบรนด์และกลยุทธ์ ให้ความเห็นว่า “การทำธุรกิจต่อจากนี้จะบรรลุเพียงผลกำไรอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องบรรลุผล 3 ประการด้วยกันคือ ผลกำไร ประชาชน และโลก สิ่งสำคัญที่ต้องปรับมากกว่ากลยุทธ์ทางเศรษฐกิจคือ Mindset หรือวิธีคิดที่ถูกต้อง”
ในปัจจุบันประเทศไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศกว่า 263 ล้านตันต่อปี จากภาคพลังงาน การเกษตร และภาคอุตสาหกรรมหนักเป็นหลัก จึงขอความร่วมมือจากทั้งกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงพลังงาน กรมป่าไม้ กรมชายฝั่งทะเล ต้องร่วมมือกันกับภาคเอกชน ซึ่งตอนนี้ไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 2% จากที่วางไว้ 70% เท่านั้น
ในก้าวแรกตั้งเป้าไว้ว่าปี 2030 จะลดก๊าซคาร์บอนให้ได้ 20%-30% และต้องอยู่ในมาตรฐานอียู (EU) และจะทำ Net Zero เป็น 0 ให้ได้แน่ๆภายในปี 2090 ในภาคธุรกิจรัฐจะช่วยยกระดับเป้าหมายในองค์กรของภาคเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรให้ลดก๊าซกรีนเฮาส์ (Greenhouse)ได้ เพิ่มและให้ความสำคัญในการเข้าถึงการวิจัยและพัฒนา Climate Tech เทคโนโลยีพลังงานสะอาดและพัฒนาเทคโนโลยีเตือนภัยพิบัติ รวมไปถึงภาคเอกชนสามารถร่วมงานวิจัยต่างๆในการลงทุนนำเข้าเทคโนโลยีและสินค้าที่จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Climate Tech
นอกจากนี้ยังอนุมัติให้เดินตามแผนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) หรือ BCG โมเดล ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ด้าน คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจหมนุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียว ต่อยอดจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีกล่าวว่านี่เป็นโอกาสที่ดีที่ไทยจะ “พลิกโฉมประเทศ” สู่การสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ เติบโตอย่างสมดุล ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยกันผลักดันวิธีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม และเชื่อว่าคนไทยจะสามารถผ่านไปได้เพราะเป็นประเทศที่มีองค์ความรู้ในทุกด้าน ภายใต้กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยมีหมายหมุดสำคัญคือหมายหมุดที่ 10 การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และหมายหมุดที่ 11 การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการยกร่างพระราชบัญญัติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกมิติ
สุดท้ายยังคงต้องจับตาดูกันต่อไปถึงการนำเสนอนโยบายเหล่านี้ในที่ประชุมระดับนานาชาติ COP26 ที่จะจัดขึ้นเร็วๆนี้ รวมไปถึงจับตามองนโยบายของประเทศต่างๆว่ามีแนวโน้มการแก้ไขปัญหาเข้มข้นมากแค่ไหน ถึงแม้ว่ามาตรการหลายอย่างจะดูเป็นรูปธรรมที่ดูจะเป็นจริงได้ แต่ต้องมองลงไปให้ลึกขึ้นในเชิงผู้ได้รับผลกระทบระดับล่าง นั่นก็คือชาวบ้านหรือประชาชนที่กำลังรอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้อยู่ รวมไปถึงต้องไม่ไปกระทบหรือเบียดเบียนวิถีชีวิตของวิถีชุมชนเดิมด้วยเช่นกัน รัฐและเอกชนต้องเตรียมหาทางออกพร้อมช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านั้นไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังและยุติธรรม