นักกิจกรรมแคมเปญเดินหน้าล่ารายชื่อ รณรงค์สร้างเขตถนนปลอดภัยโดยปราศจากรถยนต์ แบนการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพิ่มการใช้เส้นทางคมนาคมสาธารณะมากขึ้น เพื่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้คนให้ปลอดภัยไร้ความกังวล
ประชาชนชาวเบอร์ลินเริ่มออกมาเรียกร้องให้แบนการใช้รถยนต์ส่วนตัวบนใจกลางกรุงเบอร์ลินโดยมุ่งเป้าหมายที่จะสร้างเขตปลอดรถยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
กลุ่มแคมเปญรณรงค์งดการใช้ลดส่วนตัวเริ่มก้าวแรกในกระบวนการทำประชามติของประชาชน โดยได้รายชื่อในการยื่นคำร้องได้กว่า 50,000 รายชื่อ ที่จะขยายเทียบเป็นพื้นที่ประมาณ 88 ตารางกิโลเมตร โดยออกแบบให้อยู่ในบริเวณที่ล้อมรอบด้วยรถไฟหรือเรียกว่า วงแหวนเอส-บาห์น (S-Bahn ring trainline) โดยพื้นที่มีขนาดเท่ากับเมื่อทั้งหมดในเขต 1 และเขต 2 ของลอนดอน
แต่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถยนต์จริงๆเช่น เพื่อการค้า เป็นผู้พิการ หรือมีเหตุอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่สะดวก จะได้รับการยกเว้น หรือแม้แต่กระทั่งในกรณีฉุกเฉิน ทุกคนจะได้รับอนุญาตให้เช่ารถได้มากถึง 12 ครั้งต่อปี ในกรณีที่จำเป็นต้องย้ายบ้าน เป็นต้น
แต่ก็ได้มีการตั้งคำถามอีกว่าการห้ามนี้จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน และรถยนต์ไฟฟ้าสามารถมาทดแทนได้หรือเปล่า
“เราต้องการรถยนต์ไฟฟ้าประมาณครึ่งหนึ่งในปีหน้า เพื่อบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลกลางในการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง” Nik Kaestner หนึ่งในสมาชิกของแคมเปญกล่าว “เห็นได้ชัดว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ลดจำนวน เพราะปัจจุบันมีเพียง 1.3% ของยานพาหนะในเยอรมนีที่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นทางออกเดียวคือการลดปริมาณการขับขี่ ไม่ใช่แค่เปลี่ยนวิธีขับหรืออุปกรณ์”
สมาชิกอีกคนกล่าวว่า“ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่ส่วนกลางมากเกินไปจนทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์โดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือดีเซลก็ตาม”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หลุดเอกสารลับ ชี้วิกฤต โลกร้อน อาจเป็นหายนะต่อมนุษย์เร็วขึ้น แก้ไขไม่ทัน
บราซิลสูญเสียพื้นที่ป่าอเมซอนเทียบเท่ารัฐเท็กซัสและนิวเม็กซิโกรวมกัน
รายงานของปี 2014 ของรัฐสภาส่วนท้องถิ่นเบอร์ลิน พบว่า 58% ของพื้นที่การจราจรเต็มไปด้วยรถยนต์ แม้ว่าจะมีเพียงหนึ่งในสามของการเดินทางบนถนนในเบอร์ลิน และมีเพียง 17% ภายในบริเวณวงแหวน S-Bahn เท่านั้น มี 3% ที่จัดสรรไว้สำหรับจักรยาน ซึ่งคิดเป็น 15% ของการเดินทาง
ลานจอดรถยนต์ใช้พื้นที่ทั้งหมด 17 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่สำหรับรถยนต์มากกว่าจักรยานถึง 20 เท่า ในเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้จักรยานมากที่สุดในยุโรป ทราบได้จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตบนท้องถนนมาจากการเดินเท้าและนักปั่นจักรยานเป็นส่วนใหญ่
นีน่า โนเบล หนึ่งในผู้ก่อตั้งและริเริ่มแคมเปญกล่าวว่า “ภาวะโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมมันส่งผลกระทบต่อเราโดยตรง มันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการ นั่นคือการมีชีวิตอยู่ การมีลมหายใจ การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกัน เราต้องการให้ผู้คนสามารถหลับใหลได้อย่างสบายๆแม้จะเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ เด็กๆจะสามารถกลับมาเล่นบนถนนได้อีกครั้งอย่างอิสระ และคุณปู่คุณย่าทั้งหลายจะสามารถปั่นจักรยานได้ปลอดภัย รวมไปถึงมีพุ่มไม้เล็กๆไว้เพิ่มอากาศหายใจของเรา”
อัตราการประสบความสำเร็จในแคมเปญต่อต้านการใช้รถยนต์ในยุโรปนั้นเป็นเรื่องยากจะประสบความสำเร็จ เบอร์ลินอาจจะต้องพิสูจน์ความแตกต่าง แต่การรณรงค์ครั้งนี้เป็นไปตามรูปแบบของประชาธิปไตยโดยตรงตามรัฐธรรมนูญเยอรมัน การลงประชามติจะนำไปสู่การลงคะแนนครั้งสำคัญในเร็วๆนี้ เพื่อเวนคืนบ้านหลายพันหลังจากเจ้าของที่ดินรายใหญ่ที่สุดของเบอร์ลิน
ในช่วงแรกที่ขอรายชื่อพวกเขาต้องล่ารายชื่อให้ได้ 20,000 รายชื่อ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการนำเสนอทางกฎหมาย ในครั้งที่ 2 พวกเขาต้องล่ารายชื่อให้ได้ 170,000 รายชื่อ ถ้าหากรัฐบาลปฏิเสธที่จะบังคับใช้กฎหมายหลังขั้นตอนที่ 2 นี้ คำถามดังกล่าวจะถูกเสนอสู่สาธารณะทันที ซึ่งในขณะนี้ล่ารายชื่อได้ 50,333 รายชื่อตั้งแต่ก้าวแรก ทำให้ผู้เข้าร่วมแคมเปญมีความมั่นใจขึ้นในการเดินทางไปสู่ความสำเร็จในจุดหมายที่วางไว้
กระทรวงสิ่งแวดล้อมของสภากลางได้ทำการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้และพบว่า 91% ของผู้คนกล่าวว่าพวกเขาจะมีความสุขมากๆถ้าหากไม่มีรถยนต์ มากไปกว่านั้น มีเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่ยังเห็นด้วยกับการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คนจะเห็นชอบโดยทันที หากได้รับผลโหวตครั้งสุดท้าย แต่มันคือการสร้างแรงจูงใจให้ฐานเสียงแน่นขึ้นเหมือนการเลือกตั้งแค่นั้นเอง
ในตอนนี้เส้นทางของแคมเปญยังอีกยาวไกล แต่จากจำนวนการแสดงความคิดเห็นของผู้คนในเมืองแล้ว มีความเป็นไปได้อย่างมากที่แคมเปญนี้จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีคนเห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นตอนนี้ก็เหลือแค่การล่ารายชื่อให้ได้ตามจำนวนเพื่อเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป
เบอร์ลิน คือเมืองหนึ่งในเยอรมนีที่มีดัชนีคุณภาพชีวิตของประชาชนว่ามีความสุขเมืองหนึ่ง และผู้คนก็พยายามผลักดันกิจกรรมที่จะช่วยลดโลกร้อนอยู่เสมอ เพราะเล็งเห็นถึงปัญหาสำคัญของโลกที่ต้องร่วมมือกันช่วยเหลือเพื่อคุณภาพชีวิตต่อจากนี้ รวมไปถึงให้ความสำคัญกับทุกชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ มารอดูกันต่อไปว่า แคมเปญนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ หากสำเร็จหน้าตาของมันจะออกมาสวยร่มรื่นขนาดไหน
สำหรับประเทศไทยเองยังไม่ทราบเส้นทางแน่ชัดในการจัดการปัญหาการจราจรที่ติดขัดและอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ เชื้อเพลิงดีเซล แต่จากแผนการเข้าร่วมการประชุม COP26 ไทยวางแผนไว้ว่าจะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น และเพิ่มสเตชั่นจุดเติมพลังงานไฟฟ้า 100 จุดทั่วประเทศ ต้องรอดูต่อไปว่าแผนต่างๆจะออกมาเป็นอย่างไร และไทยพร้อมแค่ไหนกับการเข้าร่วมประชุม COP26 ที่จะถึงเร็วๆนี้
ที่มาข้อมูล The Guardian