โควิด-19 ทำคนทรัพย์จางจริง ๆ หลายคนกำลังหาวิธีแก้ไขปัญหาการเงินของตัวเอง และครอบครัว ทำยังไงก็ได้ให้หมุนทัน บางรายหารายได้เสริม บางรายงัดบุญเก่าเงินฝากมาใช้ วันนี้จะพามาติดตามเรื่องนี้กัน
คนชักหน้าไม่ถึงหลัง งัดเงินฝากมาใช้
นาทีนี้ทุกคนกำลังหาทางรอดให้ตัวเอง และครอบครัว คนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นการหาทางรอดว่าทำยังไง? ไม่ให้ติดโควิด-19 ทำยังไงให้มีเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และหนี้สิน เพราะเงินทองในยุคโควิด-19 หายากมาก ๆ ทำให้ทุกคนล้วนแต่ได้รับผลกระทบ ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้น คือ การงัดบุญเก่าเอาเงินฝากมาประทังชีวิตในภาวะวิกฤตเช่นนี้
คนไทยถอนประทังชีวิต เดือนเดียวแสนล้าน
โดยสัญญาณการนำเงินฝากออกมาใช้ในปัจจุบันเริ่มเห็นมากขึ้น ซึ่งล่าสุด ‘น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์’ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยว่า เงินฝากสิ้นเดือน มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมาลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1.09 แสนล้านบาท นับเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยเป็นการปรับตัวลงในเกือบทุกธนาคาร
ทั้งนี้คาดว่าอาจเป็นผลของการนำเงินฝากไปลงทุนในตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และได้ทยอยเบิกใช้สภาพคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจและผู้ฝากเงินรายย่อย ทำให้ภาพรวมเงินฝากสิ้นไตรมาส 2 ชะลอขยายตัวเหลือ 4% จากไตรมาสก่อนหน้า 5%
คนไทยหมุนเงินไม่ทัน เริ่มงัดบุญเก่ามาใช้แล้ว
นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเงินฝากกลุ่มรายย่อยยังเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับภาพรวมเงินฝากทั้งระบบ แบ่ง 2 กลุ่ม ได้แก่ เงินฝากรายย่อยในกลุ่มที่วงเงินต่อบัญชีสูงกว่า 1 ล้านบาท สัดส่วน 65% ของเงินฝากรายย่อยรวม ซึ่งประคองการเติบโตได้สูงกว่าเงินฝากรายย่อยในภาพรวม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• จับตา! แบงก์รับมือเงินฝากล้นทะลัก โควิดทำคนไม่กล้าใช้เงิน ไม่กล้าลงทุน
• Breaking New: ชงครม. ช่วยผู้ประกันตนม.33 ใช้เกณฑ์เงินฝากไม่เกิน 5 แสน
• ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ฎ. คุ้มครองเงินฝาก 5 ล้านนับตั้งแต่ 11 ส.ค. 63 ถึง 10 ส.ค. 64
ส่วนเงินฝากกลุ่มรายย่อยยังเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับภาพรวมเงินฝาก ทั้งระบบ แบ่ง 2 กลุ่ม ได้แก่ เงินฝากรายย่อยในกลุ่มที่วงเงินต่อบัญชีสูงกว่า 1 ล้านบาท สัดส่วน 65% ของเงินฝากรายย่อยรวม ซึ่งประคองการเติบโตได้สูงกว่าเงินฝากรายย่อยในภาพรวม และเงินฝากรายย่อยในกลุ่มที่วงเงินต่อบัญชีไม่เกิน 1 ล้านบาท สัดส่วน 35% ของเงินฝากรายย่อยรวม ที่มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มวงเงินต่อบัญชีไม่เกิน 50,000 บาท และกลุ่มวงเงินต่อบัญชีเกินกว่า 50,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท
ชี้สินเชื่อใหม่ อาจชะลอตัวครึ่งปีหลัง
อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังประเมินว่ายอดคงค้างสินเชื่อของระบบธ.พ.ไทยในครึ่งหลังของปี 2564มีโอกาสขยายตัวได้ต่อเนื่องเพียงแต่แรงหนุนสำคัญยังมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ส่วนการปล่อยสินเชื่อใหม่อื่น ๆ คาดว่าน่าจะเริ่มชะลอลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19ในประเทศยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งทำให้ลูกค้าชะลอความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนออกไป ส่วนสถาบันการเงินก็ยังคงต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตจากการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง